Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5544
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุภาวดี มิตรสมหวัง | - |
dc.contributor.author | ไชยรัตน์ บุตรพรหม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-01-18T10:36:33Z | - |
dc.date.available | 2008-01-18T10:36:33Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.isbn | 9741719345 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5544 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต และระดับการติดอินเตอร์เน็ตของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านบุคลิกภาพกับพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ วัยรุ่นที่ใช้บริการอินเตอร์เน็ต ในร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่และห้องคอมพิวเตอร์ ในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนทั่วเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 300 คน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตเวชศาสตร์และนิเทศศาสตร์จำนวน 5 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย, ค่าร้อยละ สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation) และค่าไคสแควร์ ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย และใช้ค่าสหสัมพันธ์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต การวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุ (Multiple Regression Analysis) เพื่อดูว่าตัวแปรใดบ้างที่สามารถทำนาย พฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ตได้มากที่สุด ผลการศึกษาพบว่า วัยรุ่นส่วนใหญ่มีพฤติกรรมติดอินเตอร์เน็ตอยู่ในระดับต่ำ จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดพบว่าจำนวนวัยรุ่นที่ถูกวินิจฉัยว่า มีพฤติกรรมติดอินเตอร์เน็ตภายใต้หลักการของ DSM-IV มีจำนวน 79 คน คิดเป็น 26.3% การทดสอบค่าไคสแควร์พบว่า เพศ รายได้ต่อเดือน รายได้รวมของครอบครัว และบุคลิกภาพด้านพฤติกรรมไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต แต่ระดับการศึกษา สถานภาพสมรสของบิดามารดา ความสัมพันธ์ในครอบครัวและบุคลิกภาพด้านอารมณ์ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สันพบว่า บุคลิกภาพด้านอารมณ์ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ระดับการศึกษาและสถานภาพสมรสของบิดามารดา เป็นปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ตมากที่สุดคือ บุคลิกภาพด้านอารมณ์ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ตน้อยที่สุดคือ รายได้ต่อเดือน และตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ตได้ชัดเจนมากที่สุด ได้แก่ บุคลิกภาพด้านอารมณ์ ระดับการศึกษา และเพศ | en |
dc.description.abstractalternative | To study factors affecting internet addiction behavior of adolescences in Bangkok Metropolis. This study focuses on the relationship between demographic factors, family factors, personality factors and internet addiction behavior. Questionnaires are used to interview 300 adolescences who used internet in internet caf{226}e and computer room in government and private schools in Bangkok Metropolis, and 5 experts in psychiatrist and communication. Mean, percentage, pearson correlation and Chi-squares tests are used to test the relationship between all the factors and internet addiction behavior. Multiple regression analysis is also used to detect factors that have strong relationship with internet addiction behavior. The results reveal that the internet addiction behavior which is diagnosed by using the principle of DSM-IV is low (26.3%). Chi-square test shows that sex, income, income of family and personality of behavior (Scale E) do not significantly affect the adolescence internet addiction behaviors. whileeducational level, marital status of parent, family relation and personality of emotion (Scale N) are found to have significantly impact on adolescence's internet addiction behavior. Correlation analysis reveals that personality of emotion (Scale N), family relation, educational level and marital status of parent factors have strong relation to the internet addiction behavior of the adolescences while the rests are not. Factor which show the strongest effect upon the internet addiction behavior is personality of emotion (Scale N) while income factor shows the least impact. Personality of emotion (Scale N), educational level and sex of samples are also found to have strong impact on the internet addiction behaviors of the samples. | en |
dc.format.extent | 1983025 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อินเตอร์เน็ตกับเด็ก | en |
dc.subject | อินเตอร์เน็ต | en |
dc.subject | วัยรุ่น | en |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ตของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | Factors affecting Internet addiction behavior of adolescence in Bangkok Metropolis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สังคมวิทยามหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สังคมวิทยา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chairat.pdf | 1.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.