Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55474
Title: ผลของกรดเอทิลีนไดเอมินเททระอะซีติก (อีดีทีเอ) และกรดไนตริโลไทรอะซีติก (เอนทีเอ) ต่อการกำจัดแคดเมียมในน้ำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระ
Other Titles: EFFECT OF ETHYLENEDIAMINETETRAACETIC ACID (EDTA) AND NITRILOTRIACETIC ACID (NTA) ON CADMIUM REMOVAL BY HYDROPONICS WITH MOFF DWARF NAPIER GRASS (Pennisetum purpureum cv. Mott)
Authors: มนทิรา สุขเจริญ
Advisors: พันธวัศ สัมพันธ์พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pantawat.S@Chula.ac.th,spantawa@hotmail.com,pantawat.s@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาผลของกรดเอทิลีนไดเอมินเททระอะซีติกเอซิด (EDTA) และกรดไนตริโลไทรอะซีติกเอซิด (NTA) ต่อการกำจัดแคดเมียมในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยหญ้าเนเปียร์แคระ ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 5 ชุดการทดลอง ได้แก่ 1) ชุดควบคุม ไม่มีการเติมสารละลายแคดเมียม และสารคีเลต 2) ชุดควบคุม มีการเติมสารละลายแคดเมียมแต่ไม่มีการเติมสารคีเลต 3) ชุดทดลองที่เติมสารละลายแคดเมียมและสารอีดีทีเอ (Cd:EDTA) ในอัตราส่วน 1:0.5 และ 1:1 โมล 4) ชุดทดลองที่เติมสารละลายแคดเมียมและสารเอนทีเอ (Cd:NTA) ในอัตราส่วน 1:0.5 และ 1:1 โมล และ 5) ชุดทดลองที่เติมสารละลายแคดเมียมและสารอีดีทีเอร่วมกับสารเอนทีเอ (Cd:EDTA+NTA) ในอัตราส่วน 1:0.5 และ 1:1 โมล และทำการเก็บตัวอย่างน้ำและพืชที่ 1, 15, 30, 45, 60, 75, 90 และ 105 วัน เพื่อหาปริมาณการดูดดึงและสะสมแคดเมียมในส่วนใต้น้ำ (ราก) และส่วนเหนือน้ำ (ลำต้นและใบ) ของหญ้าเนเปียร์แคระ ผลการทดลองของทุกชุดการทดลอง พบว่า หญ้าเนเปียร์แคระมีความสามารถในการดูดดึงและสะสมแคดเมียมเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 30 วัน โดยความสามารถในการสะสมแคดเมียมของหญ้าเนเปียร์แคระทั้ง 5 ชุดการทดลองในส่วนใต้น้ำ (ราก) มีค่าสูงกว่าส่วนเหนือน้ำ (ลำต้นและใบ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสะสมของแคดเมียมของหญ้าเนเปียร์แคระทั้งในส่วนใต้น้ำ (ราก) และส่วนเหนือน้ำ (ลำต้นและใบ) ในทุกชุดการทดลองกับชุดควบคุมทั้ง 2 ชุด แล้วพบว่า ในชุดทดลองที่เติมสารอีดีทีเอ เอนทีเอ และอีดีทีเอร่วมกับเอนทีเอ ทั้ง 2 อัตราส่วนมีปริมาณการสะสมแคดเมียมมากกว่าในชุดควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า สารคีเลตทั้ง 2 ชนิด มีส่วนช่วยในการดูดดึงแคดเมียมในหญ้าเนเปียร์แคระ โดยชุดทดลองที่เติมสารอีดีทีเอ เอนทีเอ และอีดีทีเอร่วมกับเอนทีเอ ที่อัตราส่วนโดยโมล 1:1 มีปริมาณการสะสมแคดเมียมสูงที่สุดในส่วนเหนือน้ำ (ลำต้นและใบ) เท่ากับ 256.97, 255.25 และ 263.25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ ส่วนการสะสมแคดเมียมสูงสุดในส่วนใต้น้ำ (ราก) มีค่า 889.31, 638.98 และ 596.59 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบว่า เมื่ออัตราส่วนของการเติมอีดีทีเอ เอนทีเอ และอีดีทีเอร่วมกับเอนทีเอที่สูงขึ้นจะส่งผลให้การดูดดึงแคดเมียมทั้งในส่วนใต้น้ำ (ราก) และส่วนเหนือน้ำ (ลำต้นและใบ) สูงขึ้น โดยพบการดูดดึงในส่วนใต้น้ำ (ราก) มากกว่าส่วนเหนือน้ำ (ลำต้นและใบ) คิดเป็น 3.46, 2.50 และ 2.27 เท่า ตามลำดับ จึงสามารถสรุปได้ว่า การเติมสารอีดีทีเอนั้นมีผลต่อการดูดดึงแคดเมียมของหญ้าเนเปียร์แคระมากกว่าการเติมสารเอนทีเอ และการเติมสารอีดีทีเอร่วมกับสารเอนทีเอในการกำจัดแคดเมียมในน้ำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระ
Other Abstract: The effects of ethylenediaminetetraacetic acid (EDTA) and nitrilotriacetic acid (NTA) on cadmium removal from the synthetic contaminated water by hydroponics with Moff dwarf napier grass (Pennisetum purpureum cv. Mott) were studied. The experimental sets can be divided into 5 groups including 1) uncontaminated water (deionized water without chelating agents), 2) contaminated water without addition of chelating agents, 3) contaminated water with EDTA addition with the Cd:EDTA ratio of 1:0.5 and 1:1 mole, 4) contaminated water with NTA addition with the Cd:NTA ratio of 1:0.5 and 1:1 mole, and 5) contaminated water with both EDTA and NTA addition with the ratio of 1:0.5 and 1:1 mole. Experimental sets 1 and 2 were considered as the control sets in this study. Plant and water samples were collected and analyzed for total Cd concentrations at 1, 15, 30, 45, 60, 75, 90 and 105 days. The accumulation of Cd in plant was determined in two parts of the plant which are shoot (stem and leaves) and root. The analytical results of all experimental sets showed highest Cd accumulation after 30 days of the experiment significant higher Cd accumulation in root than shoot were found. In addition, the accumulations of Cd in both shoots and roots of napier grass in all experimental sets with chelating agent were significant higher than those Cd accumulations in shoots and roots of napier grass in the control sets. When focusing at the molecular ratio of 1:1 of chelating addition, it was found that highest Cd concentrations of 256.97, 255.25 and 263.25 mg/kg dry weight were found in the shoots of napier grass collected from the experimental sets of EDTA, NTA and EDTA+NTA addition, respectively. While highest Cd accumulations in the roots of napier grass from these 3 experimental sets were 889.31, 638.98 and 596.59 mg/kg dry weight, respectively. In addition, it was found that higher amount of chelating agent addition could resulted in the higher Cd accumulation in both shoots and roots. About 3.46, 2.50 and 2.27 times of the ratio of Cd accumulation in roots and shoots were determined from the experimental sets with EDTA, NTA and EDTA+NTA addition, respectively. Therefore, it could be concluded that EDTA can enhance the translocation and accumulation of Cd in napier grass than the use of NTA and EDTA+NTA as the chelating agents.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55474
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.836
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.836
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5687143420.pdf8.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.