Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55489
Title: | การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก |
Other Titles: | Assessment of Greenhouse Gas Emission from Chulalongkorn University and Greenhouse Gas Reduction Measure |
Authors: | ณฐพล รำพึงกิจ |
Advisors: | อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Orathai.C@Chula.ac.th,orathai.c@chula.ac.th |
Subjects: | ก๊าซเรือนกระจก -- การลดปริมาณ ก๊าซเรือนกระจก Greenhouse gas mitigation Greenhouse gases |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขอบเขตที่ 1 และ 2 ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง กันยายน พ.ศ. 2559 ซึ่งข้อมูลทั้งหมดถูกเก็บจากหน่วยงานและคณะทั้งหมดภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จุฬาลงกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบ จากผลการประเมินพบว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 54,955 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยมาจากขอบเขตที่ 1 ประมาณร้อยละ 3 ซึ่งมาจากการใช้ก๊าซหุงต้ม การเดินทางของบุคลากรของมหาวิทยาลัยโดยมีมหาวิทยาลัยเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องเชื้อเพลิง สารทำความเย็น และปุ๋ย โดยแบ่งเป็นสัดส่วนร้อยละ 45, 24, 18, 11 ตามลำดับ ส่วนในขอบเขตที่ 2 มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับร้อยละ 97 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด เมื่อคิดเป็นปริมาณปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อบุคคลแล้วจะมีค่าเท่ากับ 1.21 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อคน จากการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว พบว่ามหาวิทยาลัยได้มีมาตรการที่ดำเนินการอยู่แล้วเพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว ได้แก่ การปรับภูมิทัศน์ การพัฒนาระบบโครงสร้างและพลังงาน เช่นจัดนโยบายเพื่อลดการใช้พลังงาน และการคมนาคม ได้แก่ การจัดเดินรถ ปอพ. ให้พอกับความต้องการของนิสิต/บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย รวมถึงจัดตั้ง CU-BIKE เพื่อให้นิสิตในมหาวิทยาลัยได้ใช้ แต่จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการศึกษานี้สามารถนำมาจัดทำนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อใช้เป็นแนวทางให้หน่วยงานและคณะต่างๆภายในมหาวิทยาลัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ซึ่งประกอบด้วยมาตรการที่ไม่ต้องลงทุนและมาตรการที่ต้องมีการลงทุน ได้แก่ การจัดหลักสูตร/วิชาเรียนเกี่ยวกับด้าน Climate Change จัดกิจกรรมเรื่องการลดใช้พลังงาน สภาวะโลกร้อนเพื่อให้นิสิต/บุคลากรได้เข้าร่วมและมีส่วนร่วม การส่งเสริมนโยบาย 3R จัดทำแผนการลดใช้ไฟฟ้าต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลง/พัฒนาเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งนโยบายต่างๆเหล่านี้จะช่วยผลักดันทำให้จุฬาลงกรณ์กลายเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืน |
Other Abstract: | In this research shows the Green house gases of Chulalongkorn University. This includes scope 1 and 2 emissions from October 2015 to September 2016. Data was collected from all departments and faculty. It is the University’s responsibility to estimate and identify the carbon footprint of the institution. From this point of time it was found the approximate calculation which was roughly around 54,955 tons of C02 with scope 1 around 3% of the overall estimated Liquefied Petroleum Gas (LPG), transportation, refrigerant and fertilization which contributes 45%, 24%, 18%, 11% respectively while scope 2 emissions comprise 97% of the overall estimated footprints. As the largest emission sector, it is indeed to be the highlight and needs to implement the policies. Chulalongkorn University’s per-capita emissions with a total of about 45,245 students for 2015/2016 session amount to about 1.21 tons CO2 equivalent emissions per student. From the result of Green house gases emission of Chulalongkorn University. The university already plan green policies in short term and long term strategies such as changing the infrastructure and energy’s management's plan , improve green policies in last few years such CU-BIKE , CU Transportation system but from the calculation some of the plans must improve such maneuver climate change course from student, establish the activity about climate change and green university and also change the technologies to reduce the mitigation of greenhouse gases. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55489 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1054 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1054 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5770406721.pdf | 4.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.