Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55494
Title: การบำบัดน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันโดยกระบวนการรวมตะกอนและทำให้ลอยด้วยไฟฟ้าในถังปฏิกิริยาแบบฟองอากาศและแบบอากาศยก
Other Titles: Treatment of oily wastewater by electrocoagulation-flotation process in bubble column reactor and airlift reactor
Authors: นวดล ทองตาล่วง
Advisors: พิสุทธิ์ เพียรมนกุล
ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pisut.P@Chula.ac.th,pisut.p@chula.ac.th
nattawin_ch@hotmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบำบัดน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันด้วยกระบวนการรวมตะกอนและทำให้ลอยด้วยไฟฟ้า โดยมีปัจจัยที่ทำการศึกษา ได้แก่ รูปแบบของขั้วไฟฟ้า (แผ่น แผ่นเจาะรู แท่ง และเกลียว) ชนิดของขั้วไฟฟ้า (อะลูมิเนียม แกรไฟต์ และไทเทเนียม) ระยะห่างระหว่างขั้วไฟฟ้า (1, 2 และ 3 เซนติเมตร) ค่ากระแสไฟฟ้า (0.75, 1.00 และ 1.25 แอมแปร์) และรูปแบบถังปฏิกิริยาที่เหมาะสมระหว่างถังปฏิกิริยาแบบฟองอากาศ (Bubble Column Reactor, BCR) และถังปฏิกิริยาแบบอากาศยก (Air-Lift Reactor, ALR) ต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ปนเปื้อนน้ำมันที่ความเข้มข้น 0.5, 1.0 และ 1.5 กรัมต่อลิตร โดยการเดินระบบแบบทีละเท และนำสภาวะการเดินระบบที่เหมาะสมไปทดสอบในการเดินระบบแบบต่อเนื่อง จากการทดลองพบว่า สภาวะการทดลองที่เหมาะสมคือ ใช้ขั้วไฟฟ้าที่ทำจากอะลูมิเนียมรูปแบบแผ่นเจาะรูที่ขนาดรู 0.5 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างรู 1 เซนติเมตร จำนวน 2 แผ่น วางขั้วไฟฟ้าห่างกัน 2 เซนติเมตร เดินระบบที่ค่ากระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ เนื่องจากให้อัตราการไหลของฟองอากาศสูงที่สุด 0.82 มิลลิลิตรต่อวินาที เมื่อทำการทดลองเป็นระยะเวลา 120 นาที จากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบำบัดในถังปฏิกิริยาแบบ BCR และ ALR พบว่ามีประสิทธิภาพการบำบัดความขุ่นและซีโอดีที่ใกล้เคียงกัน (ประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์) ในทุกความเข้มข้นของน้ำมัน โดยถังปฏิกิริยาแบบ ALR ใช้เวลาในการบำบัดมากกว่าถังปฏิกิริยาแบบ BCR เนื่องจากในถังปฏิกิริยาแบบ ALR มีปริมาตรน้ำเสียมากกว่า โดยมีปริมาตร 28 ลิตร ขณะที่ถังปฏิกิริยาแบบ BCR มีปริมาตร 25 ลิตร จึงต้องใช้ระยะเวลาในการบำบัดเพิ่มขึ้น จากการศึกษาการเดินระบบแบบต่อเนื่องและรูปแบบการไหลในถังปฏิกิริยา พบว่าประสิทธิภาพการบำบัด เวลากัก และรูปแบบการไหลของถังปฏิกิริยาทั้ง 2 รูปแบบ ไม่แตกต่างกัน โดยมีรูปแบบการไหลตามแนวท่อต่ออนุกรมกับการไหลแบบที่มีการกวนสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามถังปฏิกิริยาแบบ ALR มีข้อได้เปรียบจากตะกอนที่เกิดขึ้นมีปริมาตรน้อยกว่า จึงมีแนวโน้มในการประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับกำจัดตะกอนหากนำไปประยุกต์ใข้งานจริง
Other Abstract: This work aims to investigate the treatment of oily wastewater by electrocoagulation-flotation process (ECF). The effects of electrode configurations (plate, perforated plate, spiral and rod), electrode types (aluminium, graphite and titanium), distance between electrodes (1, 2 and 3 cm) supplied current (0.75, 1.00 and 1.50 A) and reactor types such as bubble column reactor (BCR) and air-lift reactor (ALR) on the treatment effiency with different oil concentrations of 0.5, 1.0 and 1.5 g/l were evaluated in batch operation to define the optimal condition. The results showed that the highest gas flow rate of 0.82 ml/s was achieve at the optimal condition, which was the usage of 2 perforated plate with 0.5 cm pore diameters and 1 cm of spacing between pores and 120 minutes of operating time. From the comparison of treatment efficiency in the BCR and ALR found that the similar turbidity and COD removal efficiency about 95% were obtained from both reactor but ALR required longer reacton times to achieve the highest treatment efficiency due to the ALR contain a large volume of wastewater with 28 liters, while the BCR contain a volume of 25 liters. Finally, from the results of continuous operation and flow pattern in the ractors revealed that the treatment efficiency, hydraulic retention time and flow pattern of both reactors were not significantly different, with the series of plug flow zone and completely mixed zone. However, the ALR has less sludge production. Therefore, It tends to save costs for sludge disposal if applied to the actual application.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55494
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1016
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1016
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770435921.pdf6.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.