Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55521
Title: การออกแบบแสงสว่างสำหรับสถาปัตยกรรมในเขตเมืองเก่าน่าน
Other Titles: ARCHITECTURAL LIGHTING DESIGN FOR NAN HISTORICAL DISTRICT
Authors: พงศ์พิพัฒน์ ศรีวราลักษณ์
Advisors: วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vorapat.I@Chula.ac.th,ivorapat@hotmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เมืองน่านเป็นเมืองที่มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่อดีตและยังคงมีการอยู่อาศัยสืบมาจนถึงปัจจุบัน สถาปัตยกรรมในเขตเมืองเก่าน่านมีเอกลักษณ์โดดเด่นอันแสดงออกถึงการมีรูปแบบศิลปะวัฒนธรรมเป็นของตนเอง เป็นที่มาของคำขวัญที่ว่า “น่าน เมืองเก่ามีชีวิต” จึงทำให้น่านได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว ส่งผลให้บรรยากาศของเมืองในช่วงเวลากลางวันนั้นมีความคึกคักและมีชีวิตชีวา แต่ในช่วงเวลากลางคืน บรรยากาศโดยรวมของเมืองน่านค่อนข้างเงียบเหงา และอาจก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย การออกแบบแสงสว่างให้แก่อาคารสำคัญในเขตเมืองเก่าน่านจะช่วยลดข้อด้อยในด้านนี้ได้ งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบแสงสว่างให้แก่สถาปัตยกรรมสำคัญในเขตเมืองเก่าน่าน โดยเน้นที่กระบวนการออกแบบแสงสว่างและรูปแบบการติดตั้งดวงโคมที่เหมาะสมกับบริบทเมืองเก่าน่าน กรอบแนวคิดเรื่องรูปแบบการให้แสงสว่างเกิดจากการวิเคราะห์บริบททางกายภาพและบริบททางวัฒนธรรมของเมืองน่าน ข้อสรุปด้านการออกแบบคือการส่งเสริมคุณค่าและให้ความสำคัญกับความหมายและสัญลักษณ์ คติทางพุทธศาสนาที่ซ่อนอยู่ในสถาปัตยกรรมโดยใช้แสงเป็นสื่อกลาง การพัฒนาแบบร่างจัดทำโดยการสร้างภาพจำลองการให้แสงสว่างด้วยคอมพิวเตอร์ นำเสนอต่อชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจนได้ข้อสรุปรูปแบบการให้แสงที่ชุมชนยอมรับ จากนั้นจึงได้ทำการศึกษารูปแบบการติดตั้งดวงโคมสำหรับอาคารในเขตเมืองเก่า 2 ประเภท ได้แก่ เมืองเก่าประเภทเมืองโบราณที่มีภูมิทัศน์แบบพิพิธภัณฑ์และเมืองเก่าที่มีการอยู่อาศัยสืบเนื่องมาจากในอดีต สามารถสรุปรูปแบบการติดตั้งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ รูปแบบที่ 1 การติดตั้งโดยมีระยะห่างจากตัวอาคาร มีการติดตั้ง 4 วิธี ได้แก่ 1) การติดตั้งแบบฝังพื้น 2) การติดตั้งบนพื้น 3) การติดตั้งบนเสา และ 4) การติดตั้งบนอาคารข้างเคียง รูปแบบที่ 2 การติดตั้งบนตัวอาคาร ได้ทำการศึกษาโดยแยกตามองค์ประกอบสถาปัตยกรรม ซึ่งผลการศึกษารูปแบบการติดตั้งที่ได้ จะถูกนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของสถาปัตยกรรมเมืองน่าน
Other Abstract: Nan is a city that has been inhabited since the past and continues to live up to the present. The architecture in the old town of Nan has a unique character, expressing its own artistic style of culture. The slogan "Nan living heritage" attracts tourists which result in lively and vibrant atmosphere in the daytime. At night, the atmosphere of Nan is relatively quiet and inducing the unsecure feeling which is not suitable for tourist activities. Lighting design for the buildings in Nan old town is required to reduce the weaknesses in this area. This research aims to provide information and guidance on lighting design for the key architectures in Nan historical district, especially, lighting design process and the suggestion on lighting fixtures installation that fit the context of Nan historical district. The conceptual framework of the lighting model is based on an analysis of the physical context and cultural context of Nan City. The final design focused on portrayal meaning and symbols of Buddhist motto that were hidden in architecture by using light as medium. Design development was prepared by computer simulation, and was presented to the community and its stakeholders. The patterns of lamp installation were investigated for the two main old type areas including the old town of the ancient city with a landscape Museum and the living old city. In summary, the pattern of lighting fixtures installation was classified into two patterns. First is an installation at a distance from the building by which composed of four methods including, 1) installation on the ground, 2) installation on the floor, 3) mounted on a pole, and 4) installation on the building side model. The second pattern is to an installation on the building. Consequently, the results of the installation model study will be adapted to the context of Nan historical district
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55521
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1129
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1129
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773324425.pdf12.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.