Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55522
Title: แนวทางการออกแบบช่องเปิดเกล็ดระบายอากาศ สำหรับอาคารพักอาศัยรวมแบบผังทางเดินร่วม
Other Titles: VENTILATION LOUVER DESIGN GUIDELINES FOR DOUBLE LOADED CORRIDOR IN RESIDENTIAL BUILDING
Authors: มณีนาถ ลินวัฒนา
Advisors: อรรจน์ เศรษฐบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Atch.S@Chula.ac.th,Atch.S@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการออกแบบช่องเปิดเกล็ดระบายอากาศ ที่สามารถลดการใช้พลังงานในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศในอาคารพักอาศัยรวมแบบผังทางเดินร่วมในเขตกรุงเทพมหานครด้วยวิธีทางธรรมชาติ มีการแบ่งกระบวนการวิจัยออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก คือ การทดสอบสมมุติฐานที่ว่า การเพิ่มอัตราการระบายอากาศก่อนการเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศ ส่งผลให้ระยะเวลาในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศลดลง ส่วนที่สอง คือ การศึกษาประสิทธิภาพการระบายอากาศของช่องเปิดเกล็ดระบายอากาศ โดยมีการกำหนดตัวแปรหลักออกเป็น 5 ตัวแปร ประกอบด้วย องศาบานเกล็ด (-45o, 90o และ 45o), ทิศทางลม (ตั้งฉากกับกับทำมุม 45o), ตำแหน่งความสูงของห้องพัก, การเพิ่มองค์ประกอบครีบผนังแนวตั้ง และการเพิ่มช่องเปิดระบายอากาศสู่โถงทางเดินกลางอาคาร ส่วนที่สาม คือ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มอัตราการระบายอากาศก่อนการเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศ กับค่าการใช้พลังงานในการทำความเย็นของระบบปรับอากาศ ซึ่งในงานวิจัยนี้จะใช้วิธีการจำลองผลด้วยโปรแกรมคำนวณพลศาสตร์ของไหล เพื่อหาค่าอัตราการระบายอากาศ และโปรแกรม Visual DOE 4.1 เพื่อหาค่าการใช้พลังงานในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศกับอุณหภูมิภายใน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การเพิ่มอัตราการระบายอากาศในเวลากลางวันส่งผลให้ระยะที่ห้องเข้าสู่สภาวะน่าสบายหลังจากเปิดเครื่องปรับอากาศลดลงจาก 4 ชั่วโมง เป็น 1 ชั่วโมง และสามารถประหยัดพลังงานในการทำความเย็นได้สูงสุด 612 kWh/year/ห้อง (ร้อยละ 16) โดยทิศทางลมภายนอกที่ทำมุม 45o กับผนังอาคารจะส่งผลให้อัตราการระบายอากาศเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 52 ACH และองศาบานเกล็ดที่ทำมุม 90o เป็นรูปแบบที่ส่งผลให้เกิดอัตราการระบายอากาศสูงสุด ความสูงที่แตกต่างกันส่งผลต่อการระบายอากาศในทิศลมตั้งฉากมากกว่าทิศลม 45o อัตราการระบายอากาศจะลดลงเมื่อติดตั้งครีบผนังแนวตั้ง และการเพิ่มช่องเปิดสู่ทางเดินกลางจะช่วยเพิ่มการระบายอากาศเฉลี่ย 12 เท่าในทิศลมตั้งฉากและ 2 เท่าในทิศลม 45o
Other Abstract: The purpose of this research is to develop design guidelines of louvers that help natural ventilation and reduce cooling energy consumption in double loaded corridor residential building in Bangkok. This research has 3 sections, the first section is the hypothesis testing regarding the ventilation rates to validate that increasing ventilation rates prior to activate the air conditioner can reduce the cooling duration. The second section is to investigate the louver performance under 5 variables, louver angles (-45o, 90o and 45o), wind directions (perpendicular and oblique), height of the room, additional vertical fin and openings at the building corridor cross ventilation. The last section is to examine the correlation between the increments of ventilation rate prior to activate the air conditioner and cooling energy consumption. In this study, the ventilation rates are simulated by the computational fluid dynamics software (Autodesk CFD Simulation 2015) and Visual DOE 4.1 software was used to calculate energy consumption and indoor temperatures. The results show that increasing ventilation rates before switching on the air conditioner can reduce the period for the indoor condition to enter comfort zone completely 4 hours to 1 hour and save 16% of cooling energy or 612 kWh/year/unit. The proposed louver design guidelines can be summarized as follows: the oblique wind can increase ventilation rates up to 52 ACH, the 90o louver blade angles is the most efficient type compared to others, the height affect the ventilation rates for perpendicular wind more than oblique wind, Additional vertical fin gives negative effect to ventilation rates and additional openings to building corridor create cross ventilation and improve ventilation up to 12 times for perpendicular wind and 2 times foe oblique wind.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55522
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1157
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1157
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773331825.pdf17.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.