Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55524
Title: ประสิทธิภาพการระบายอากาศในห้องน้ำของอาคารที่พักอาศัยโดยการใช้พัดลมระบายอากาศพลังงานแสงอาทิตย์
Other Titles: VENTILATION EFFECTIVENESS IN BATHROOM OF RESIDENTIAL BUILDINGS BY USING SOLAR PHOTOVOLTAIC POWERED FANS
Authors: เกษญา รัตโนภาส
Advisors: อรรจน์ เศรษฐบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Atch.S@Chula.ac.th,atch.s@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการลดความชื้น การประหยัดพลังงานและหาค่าความคุ้มทุนของการใช้พัดลมระบายอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ในห้องน้ำของอาคารที่พักอาศัย วิจัยเปรียบเทียบระหว่างห้องน้ำที่ใช้ระบบพัดลมระบายอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบพัดลมระบายอากาศแบบใช้ไฟบ้าน และไม่มีระบบพัดลมระบายอากาศ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก ทำการหาค่าแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างค่ารังสีอาทิตย์ และอัตราการระบายอากาศ (CFM) ของระบบพัดลมระบายอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อนำมาคำนวณหาค่าอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศต่อชั่วโมง (Air changes per hour : ACH) ที่ได้ในการวิจัย โดยการวิจัยนี้ใช้พัดลมระบายอากาศขนาด 41 CFM ทำให้เกิดการระบายอากาศเท่ากับ 8.76 ACH และใช้เซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 10 W ผลที่ได้คือ รังสีดวงอาทิตย์ยิ่งมากอัตราการระบายอากาศของพัดลมจะยิ่งมากตาม ส่วนที่สองทำการหาค่าแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างค่า ACH และค่าผลต่างของอัตราส่วนความชื้น (Humidity ratio) ภายใน-ภายนอกห้องน้ำ จากการวิจัย ระบบที่มีค่าเฉลี่ยผลต่าง Humidity ratio น้อยที่สุดคือ ระบบพัดลมระบายอากาศแบบใช้ไฟบ้าน รองลงมาคือ ระบบพัดลมระบายอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ ส่วนระบบที่มีค่าเฉลี่ยผลต่าง Humidity ratio มากที่สุดคือ ห้องน้ำที่ไม่มีระบบพัดลมระบายอากาศ ซึ่งหมายความว่ามีความชื้นสะสมในห้องน้ำสูงสุด โดยค่าผลต่าง Humidity ratio ภายใน-ภายนอกห้องน้ำ จะแปรผกผันกับค่า ACH และจะมีค่าเท่ากับ 0 เมื่อค่า ACH อยู่ที่ 18.70 ACH ซึ่งหมายถึงอัตราการระบายที่สามารถเอาความชื้นสะสมออกจากห้องได้ทั้งหมด ในส่วนที่สาม ใช้โปรแกรม Visual DOE คำนวณหาค่าความชื้น และค่าการประหยัดพลังงานตลอดทั้งปีของระบบพัดลมระบายอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีการติดตั้งร่วมกับพัดลมระบายอากาศแบบใช้ไฟบ้านเพื่อใช้งานได้ตลอดทั้งวัน คำนวณโดยใช้พัดลม 2 ตัว ทำให้มีค่า ACH เท่ากับ 17.53 ACH พบว่า สามารถลดค่าเฉลี่ยความชื้นสัมพัทธ์ใน 1 ปี ลงได้ 10.92% เมื่อเทียบกับห้องน้ำที่ไม่มีระบบพัดลมระบายอากาศ และสามารถลดค่าการใช้ไฟฟ้าได้มากกว่าระบบพัดลมระบายอากาศแบบใช้ไฟบ้าน 40.29% และจะถึงจุดคุ้มทุนได้ภายใน 9 ปี หากมีจำนวนยูนิตของอาคารชุดพักอาศัยเพียงพอที่ระบบจะใช้กำลังไฟฟ้ามากกว่า 6,000 W ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า การใช้ระบบพัดลมระบายอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับพัดลมระบายอากาศแบบใช้ไฟบ้าน มีประสิทธิภาพเพียงพอในการลดความชื้นในห้องน้ำของอาคารที่พักอาศัย และยังส่งเสริมการประหยัดพลังงานให้กับอาคารได้อีกทางหนึ่ง
Other Abstract: The research aims to evaluate the efficiency of dehumidification and energy saving in a bathroom of residential buildings by using solar photovoltaic powered fan. A comparison is made between bathroom of 3 different ventilation systems; solar fan system, electric fan system and no ventilation system. The experiment was divided into 3 parts. The first, research on the relationship between solar radiation and ventilation rate (CFM) for calculating the air changes per hour (ACH), obtained in the experiment. This experiment used a ventilation fan which has a ventilation rate is 41 CFM equal to 8.76 ACH and used a 10 W solar panel. It was found that the more the solar radiation, the greater the fan's ventilation rate. The second, research on the relationship between ACH and the difference in humidity ratio, between the inside and outside of the bathroom. The results show that the lowest average of the difference in humidity ratio is an electric fan system. Secondary is a solar fan system and the highest average of the difference in humidity ratio is a bathroom without a ventilation system. It means this system has the highest humidity. The difference in humidity ratio is inverse with ACH. The moisture content will leave the bathroom at all when ACH is 18.70 ACH. The last, using Visual DOE for calculating the lower relative humidity and the annual energy savings of solar fans system which is equipped with electric fans system for available throughout the day and add 2 fans in the system to increase ACH to 17.53 ACH. This system can reduce the average relative humidity in a year by 10.92% compared to a bathroom without a ventilation system. And it can reduce the electricity consumption by 40.29%. Payback period is 9 years if there are enough units that the system will use more than 6,000 W. In conclusion, solar fans system which is equipped with electric fans system is effective for dehumidifying in the bathrooms of residential buildings and can save energy.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55524
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1153
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1153
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5973333225.pdf6.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.