Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55531
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินตนา ยูนิพันธุ์-
dc.contributor.authorศิริพรรณ ธนันชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:38:46Z-
dc.date.available2017-10-30T04:38:46Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55531-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะและระดับพฤติกรรมรุนแรงในชุมชนของผู้ป่วยจิตเภท 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ อายุ บุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม ประวัติการเกิดพฤติกรรมรุนแรง ประวัติการใช้สารเสพติด อาการทางบวก อาการทางลบ พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา กับพฤติกรรมรุนแรงในชุมชนของผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทที่มารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลจิตเวชสังกัดกรมสุขภาพจิต 3 แห่ง ได้แก่ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ โรงพยาบาลสวนปรุง และโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จำนวน 105 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างง่ายตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 6 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) เครื่องมือวินิจฉัยโรคทางจิตเวช MINI International Neuropsychiatric Interview (M.I.N.I.) ฉบับภาษาไทย 3) แบบวัดกลุ่มอาการทางบวกของโรคจิตเภทฉบับภาษาไทย 4) แบบวัดกลุ่มอาการทางลบของโรคจิตเภทฉบับภาษาไทย 5) แบบประเมินพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา 6) แบบประเมินความรุนแรงในชุมชน (MacArthur Community Violence Instrument : MCVI) เครื่องมือทุกชุดผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และตรวจสอบค่าความเที่ยงด้วยสูตร Cronbach’s alpha ได้ค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ .094, 0.88 , 0.94 ,0.93 และ 0.91 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ตารางการณ์จร และค่าสหสัมพันธ์พอยไบซีเรียล ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ พฤติกรรมรุนแรงในชุมชนของผู้ป่วยจิตเภทมีลักษณะเป็นการกระทำต่อผู้อื่นและสิ่งของ เป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.8 ส่วนลักษณะของพฤติกรรมรุนแรงที่ผู้ป่วยถูกกระทำ พบเพียงร้อย 1 และระดับของพฤติกรรมรุนแรงในชุมชนของผู้ป่วยจิตเภทมีระดับการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ร้อยละ 42.9 รองลงมา คือ พฤติกรรมขู่บังคับทางกายร้อยละ 28.6 และพฤติกรรมรุนแรงระดับร้ายแรง ร้อยละ 11.4 ตามลำดับ บุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม ประวัติการใช้สารเสพติด ประวัติการเกิดพฤติกรรมรุนแรง อาการทางบวก และพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน(C=.344, .544, .655 และ rpb = .181, .046 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุ มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมรุนแรงในชุมชนของผู้ป่วยจิตเภท(rpb = -232) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ เพศ และอาการทางลบ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมรุนแรงในชุมชนของผู้ป่วยจิตเภท-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this descriptive correlational research were: 1) to study the characteristics and violent behavior level in community of schizophrenic patients and 2) to study the relationships between selected factors including gender, age, antisocial personality , history of violent behavior, history of substance abuse, positive and negative symptoms, medication adherence behavior with violent behavior in community. A total sample of 105 schizophrenic patients in community, who met the inclusion criteria, was drawn from out – patient departments of Galya Rajanangarindra Institute, Suanprung Hospital, and Suansaranrom Hospital. Research instruments consist of six parts namely:1) Demographic data sheet, 2) The Thai version of the MINI International Neuropsychiatric Interview, 3) The Thai version of the Positive Syndrome Scale, 4) The Thai version of the Negative Syndrome Scale 5) The Medication Adherence Behavior Scale, and 6) MacArthur Community Violence Instrument (MCVI). All instruments were validated for content validity by 5 experts and tested for reliability with cronbach’s alpha .094, 0.88, 0.94 ,0.93 and 0.91, respectively. Statistic techniques utilized in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Contingency Coeffcient and Point Biserial Correlation. Findings were summarized as followed: The violent behavior in community of schizophrenic patients 84.8% mostly were violent behavior towards other people and objects. Those which schizophrenic patients were treated as victims counted only 1%. Violent behavior level in community of schizophrenic patients was aggressive acts at 42.9%, physically assaultive behaviors was 28.6%, and serious violence was 17.1% respectively. Antisocial personality, history of substance abuse, history of violent behavior, positive symptoms and medication adherence behavior were positively related to violent behavior of schizophrenic patients in community, at .05 level. (C = .344, .544, .655 and rpb = .181, .046 respectively.) Age was negatively related to violent behavior in community of schizophrenic patients , at .05 level. (rpb = -232). Gender and negative symptoms were not significantly related to violent behavior in community of schizophrenic patients.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.654-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectผู้ป่วยจิตเภท-
dc.subjectความก้าวร้าว-
dc.subjectSchizophrenics-
dc.subjectAggressiveness-
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมรุนแรงในชุมชนของผู้ป่วยจิตเภท-
dc.title.alternativeSELECTED FACTORS RELATED TO VIOLENT BEHAVIOR IN COMMUNITY OF SCHIZOPHRENIC PATIENTS-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.654-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777325836.pdf5.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.