Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55533
Title: | ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนการรับรู้ภาวะการเจ็บป่วยต่อความร่วมมือในการรับประทานยาและระดับความดันโลหิตในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อน |
Other Titles: | THE EFFECT OF ILLNESS PERCEPTION MODIFICATION PROGRAM ONMEDICATION ADHERENCE AND BLOOD PRESSURE LEVEL AMONG HYPERTENSIVE PATIENTS WITHOUT COMPLICATIONS |
Authors: | กุลธิดา ศรีปักษา |
Advisors: | นรลักขณ์ เอื้อกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Noraluk.U@Chula.ac.th,noralukuakit@yahoo.com |
Subjects: | ความดันเลือดสูง ผู้ป่วย -- ความร่วมมือในการรักษา การรักษาด้วยยา Hypertension Patient compliance |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนการรับรู้ภาวะการเจ็บป่วยต่อความร่วมมือในการรับประทานยาและระดับความดันโลหิตในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุ 30-59 ปี ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอกอายุรกรรมโรคหัวใจ โรงพยาบาลรามาธิบดี เลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการปรับเปลี่ยนการรับรู้ภาวะการเจ็บป่วย ระยะเวลาในการศึกษา 8 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกระดับความดันโลหิต แบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยา การรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยฉบับย่อ และความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานยา ตรวจสอบคุณภาพของของแบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยา การรับรู้เกี่ยวกับภาวะการเจ็บป่วยฉบับย่อ และความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานยา มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1, 1, และ 0.94 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.77, 0.77 และ 0.83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนภายหลังได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนการรับรู้ภาวะการเจ็บป่วยสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนการรับรู้ภาวะการเจ็บป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยของผลต่างคะแนนความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนการรับรู้ภาวะการเจ็บป่วยสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนภายหลังได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนการรับรู้ภาวะการเจ็บป่วยต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนการรับรู้ภาวะการเจ็บป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ค่าเฉลี่ยของผลต่างระดับความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนการรับรู้ภาวะการเจ็บป่วยสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of illness perception modification program on medication adherence and blood pressure level among hypertensive patients without complications. Patients both males and females aged 30-59 years were enrolled from the outpatient department of cardioligy clinic at Ramathibodi hospital. The participants were assigned to the experimental and control groups (22 for each group). The control group received a usual care while the experimental group received the illness perception modification program. The program was conducted for 8 weeks. Data were collected using demographic information sheet, medication adherence rating scale, the brief illness perception scale, and the beliefs about medicine questionnaires. The content validity index of these questionnaires were 1, 1, and 0.94, respectively. Their Cronbach’s alpha coefficients were 0.77, 0.77, and 0.83, respectively. Independent and dependent t-test were used to analyze data. The results revealed that: 1. The mean score of medication adherence of hypertensive patients without complication after receiving the illness perception modification program was significantly higher than that before receiving the program at the significant level of .05. 2. After receiving the illness perception modification program, the mean of difference score of medication adherence in experimental group was significantly higher than that in the control group at the significant level of .05. 3. The mean scores of systolic and diastolic blood pressure in hypertensive patients without complication receiving the illness perception modification program were significantly lower than those before receiving the program at the significant level of .05. 4. After receiving the illness perception modification program, the mean of different scores of systolic and diastolic blood pressure in experimental group were significantly higher than those in the control group at the significant level of .05. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55533 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.602 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.602 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5777333836.pdf | 13.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.