Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55548
Title: ผลของการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถามแบบสืบสอบที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: EFFECTS OF CASE-BASED LEARNING WITH INQUIRY QUESTIONS ON ABILITY IN SCIENTIFIC PROBLEM SOLVING AND ATTITUDE TOWARDS SCIENCE OF LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS
Authors: ชนัต อินทะกนก
Advisors: สลา สามิภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: sara.s@chula.ac.th,ss3wz@virginia.edu
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์ ระหว่างนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถามแบบสืบสอบ และกลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนการสอนทั่วไป 2) เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถามแบบสืบสอบก่อนและหลังเรียน 3) เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ระหว่างนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถามแบบสืบสอบ กับนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนการสอนทั่วไป กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง แบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถามแบบสืบสอบ และกลุ่มควบคุมจัดการเรียนด้วยการเรียนการสอนแบบทั่วไป มีการเก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ 2) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ และ 3) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถามแบบสืบสอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน ด้วยสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนด้วยการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถามแบบสืบสอบมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบทั่วไปอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนด้วยการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถามแบบสืบสอบมีค่าเฉลี่ยเจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนด้วยการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถามแบบสืบสอบมีค่าเฉลี่ยเจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียนไม่แตกต่างกับนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบทั่วไป
Other Abstract: This study was a quasi-experimental research. The aims of this research were to compare: 1) scientific problem solving ability of lower secondary school students between teaching science by case-based learning with inquiry questions and teaching science by using a traditional method. 2) attitude towards science of lower secondary school students before and after science learning by case-based learning with inquiry questions. 3) attitude towards science of lower secondary school students between teaching science by case-based learning with inquiry questions and teaching science by using a traditional method. The samples were Mathayomsuksa 3 students in academic year 2016. These samples were separated in two groups: the experimental group was learned science by case-based learning with inquiry questions and the control group was learned science by using traditional instruction. This research has two instruments for collecting data: 1) the scientific problem solving writing test and 2) the attitude towards science evaluation test. The collected data were analyzed by arithmetic mean, mean percentage score, standard deviation and t-test statistic. The research findings were summarized as follows; 1) Lower secondary school students in experimental group’s posttest mean scores of scientific problem solving score were higher than the comparative group at the significance level of .05. 2) Lower secondary school students in experimental group’s posttest mean scores of attitude towards science scores were higher than pretest mean scores at the significance level of .05. 3) Lower secondary school students in experimental group’s posttest mean scores of attitude towards science scores were not difference from the comparative group
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55548
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.266
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.266
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783313127.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.