Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5561
Title: | การรับรู้ด้านสุนทรียภาพเมือง : กรณีศึกษาพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่ |
Other Titles: | Perceptions on urban aesthetics : a case study of Chiang Mai old town |
Authors: | วิยดา ทรงกิตติภักดี |
Advisors: | วรรณศิลป์ พีรพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wannasilpa.P@chula.acth |
Subjects: | สุนทรียภาพ ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง -- ไทย -- เชียงใหม่ เมือง -- ไทย -- เชียงใหม่ เชียงใหม่ |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาการรับรู้ด้านสุนทรียภาพเมืองของประชาชนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยวภายในเขตพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่ เพื่อนำผลการศึกษามาใช้กำหนดแนวทางในการพัฒนา และแก้ปัญหาสุนทรียภาพของเมือง ในการศึกษาแบ่งการรับรู้สุนทรียภาพเมืองออกเป็น 3 ประเภทคือ สุนทรียภาพเชิงประสาทสัมผัส สุนทรียภาพเชิงรูปทรง และสุนทรียภาพเชิงสัญลักษณ์ วิธีวัดการรับรู้สุนทรียภาพ 2 ประเภทแรกใช้เทคนิคความต่างของคำ (Semantic Differential) โดยให้กลุ่มตัวอย่างประเมินค่าสุนทรียภาพพื้นที่ตัวแทน 6 บริเวณ ภายใต้คุณลักษณะที่กำหนดขึ้นในรูปของคู่คำคุณศัพท์ ส่วนการวัดการรับรู้สุนทรียภาพเชิงสัญลักษณ์ ใช้วิธีการให้กลุ่มตัวอย่างระบุสถานที่หมายตา บริเวณที่สวยงาม บริเวณที่น่าเกลียด อาคารที่สวยงาม และอาคารที่น่าเกลียด จากการศึกษาพบว่า การรับรู้สุนทรียภาพเมืองระหว่างประชาชนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยวมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรับรู้เชิงประสาทสัมผัส และเชิงรูปทรง เนื่องจากประชาชนในพื้นที่มีความคุ้นเคยกับพื้นที่ จึงแตกต่างจากนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจ และความรู้สึกแปลกใหม่มากกว่า ทำให้การรับรู้สุนทรียภาพของนักท่องเที่ยวเป็นไปในเชิงบวก มากกว่าประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ปัจจัยทางด้านเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ก็มีผลทำให้การรับรู้สุนทรียภาพเมืองแตกต่างเช่นกันพื้นที่ที่มีคุณค่าด้านสุนทรียภาพ คือ บริเวณที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และบริเวณที่มีมิติทางธรรมชาติ ได้แก่ วัดพระสิงห์ ประตูท่าแพ สวนสาธารณะหนองบวกหาด กำแพงเมืองและคูเมือง ส่วนพื้นที่ที่มีปัญหาด้านสุนทรียภาพ คือ บริเวณที่มีขยะมาก และกลุ่มอาคารสมัยใหม่ที่มีรูปแบบ หรือกิจกรรมไม่เข้ากับบรรยากาศของเมืองเก่า รวมทั้งบริเวณที่มีป้ายโฆษณามาก มาตรการแก้ปัญหาสุนทรียภาพของเมืองเก่าเชียงใหม่แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ มาตรการเร่งด่วน ได้แก่ การรักษาความสะอาด และการปลูกต้นไม้ใหญ่บริเวณถนนสายหลัก และมาตรการในระยะยาว ได้แก่ 1) มาตรการทางผังเมืองโดยควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน และอัตราส่วนพื้นที่เปิดโล่ง 2) มาตรการด้านภูมิทัศน์ถนนเกี่ยวกับการจัดระเบียบอุปกรณ์ประกอบถนน การเดินสายไฟใต้ดิน การควบคุมป้ายโฆษณา การปลูกต้นไม้เพิ่มเติม การควบคุมระยะถอยร่น และการควบคุมการก่อสร้างอาคาร 3) มาตรการทางด้านระบบขนส่งเกี่ยวกับการจัดระบบสัญจรทางเท้า และระบบสัญจรทางรถยนต์ |
Other Abstract: | To study the perception of local people and tourists on urban aesthetics in Chiang Mai old town in order to propose guidelines for solving aesthetical problems in the study area. The aesthetics are classified into three categories: sensory aesthetics, formal aesthetics, and symbolic aesthetics the methodology used to measure the perception on the first two categories is Semantic Differential Technique. Local people and tourists are asked to select the wordsfrom the lists that best describe their feeling about the sample areas. The perception on the third category is measured by asking local people and tourists to identify landmarks, beautiful sites, ugly sites, beautiful building, and ugly buildings in the study area. The study reveals that local people and tourists perceive urban aesthetics differently, especially on sensory and formal ones. This is dued largely to the difference in familiarity to the area. As a result, Tourists perception is more positive than that of local people. Sex, age, educational background, occupation, and income also aesthetical perception. It is also found that historic sites and green areas are identified as aesthetical places. They include: Wat Phra Singha, Tha Phae Gate, Nhong Buak Had Park, the city wall and the moat etc. Dirty sites, groups of strange modern buildings, building with in appropriate activities, and the areas with many signs and billboards are identified as problematic areas. The author propose two types of measures to solve aesthetical problems in Chiangmai old town. The urgently measures include cleaning messy areas and growing new trees. The long term measures include: (i) land use and open space controls; (ii) streetscape control and development focusing on street furniture, power lines, signs and billboards, trees, set back and building controls; and (iii) transportation management focusing on pedestrian and vehicle circulations. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางผังเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5561 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.144 |
ISBN: | 9741303122 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.144 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wiyada.pdf | 16.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.