Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55617
Title: | รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบสถานีแอร์พอร์ตลิงค์และสถานีรถไฟสายตะวันออก |
Other Titles: | LAND USE PATTERN AROUND ARL STATIONS AND EASTERN RAILWAY STATIONS. |
Authors: | จิรัชญา สุขสมานพาณิชย์ |
Advisors: | พนิต ภู่จินดา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Panit.P@Chula.ac.th,Panit.P@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์มีลักษณะการใช้งานเฉพาะที่แตกต่างจากรถไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ คือเป็นรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับศูนย์กลางเมืองและทำหน้าที่เป็นรถไฟฟ้ารองรับการใช้งานฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร โดยมีเส้นทางการเดินรถซ้อนทับกับรถไฟสายตะวันออกซึ่งอยู่ด้านล่าง การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1. อธิบายปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบสถานี 2. ศึกษาพฤติกรรมการเดินทางของผู้ใช้งานรถไฟทั้ง 2 ประเภท ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานี 3. เสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟและสถานีรถไฟชานเมืองจากบริบทของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์เพื่อเป็นพื้นฐานของแนวทางการพัฒนาต่อไปในอนาคต การวิจัยศึกษาเฉพาะสถานีระหว่างทางจำนวน 5 สถานี ซึ่งมุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยศึกษาปัจจัยเชิงกายภาพ ปัจจัยเชิงเศรษฐกิจและปัยจัยเชิงสังคม ได้มีการแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ส่วนหลักคือ 1.การวิเคราะห์เชิงสถิติเพื่อเปรียบเทียบกลุ่มผู้ใช้งานรถไฟฟ้าทั้งสองประเภท 2. การเปรียบเทียบข้อมูลเชิงกายภาพของพื้นที่โดยแผนที่ในปี พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2559 3.ศึกษาถึงวัตถุประสงค์การเดินทางของผู้ใช้งานสถานีโดยแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 400 ชุด ผลจากการวิจัยพบว่าผู้ใช้งานรถไฟทั้งสองประเภทเป็นคนละกลุ่มกันและทั้งสองกลุ่มนั้นไม่เกิดการปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่รอบสถานี ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าปัจจุบันสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์มีหน้าที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางเป็นหลักแต่ไม่ดึงดูดให้เกิดการเข้ามาทำกิจกรรมในพิ้นที่รอบสถานี ทำให้ไม่เกิดการปฏิสัมพันธ์ต่อการใช้งานพื้นที่และการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในรัศมี 800 เมตรในแง่ของผู้ใช้งานสถานี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปตามทฤษฎีการเติบโตและการใช้ที่ดินของเมือง โดยการเดินเท้าไปยังพื้นที่พาณิชยกรรมนั้นได้ก่อให้เกิดกิจกรรมของผู้เดินทางและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินตามมา จากการวิจัยได้มีข้อเสนอแนะในเชิงผังเมืองเพื่อการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟประเภทรถไฟชานเมืองและข้อเสนอแนะเพื่อก่อให้เกิดการใช้งานพื้นที่ที่เหมาะสมกับผังเมืองรวมต่อไป |
Other Abstract: | Airport rail link is the transferring system from Suvarnabhumi airport to the city center which distinguished it from other commuter rails. Airport rail link operates in the east of Bangkok and its route is overlapping with the Eastern Railway line. For this reason, the aims of the dissertation are to: Describe the phenomenon of land use change around the Airport Link. Study passengers’ behavior from both types of railway line which affect the change in land use around the stations. Suggest and guide the proper development of the area surrounding the railway stations in the future. this thesis provides data from five stations, specifically focusing on physical, economical, and social factors, that affect the change in land use. The research was divided into 3 sections. The first section used statistical analysis to compare two types of sky train user. The second section compared physical data of the land by using map from 2006 and 2016 to observe the change of the area after Airport link was constructed. The last part, four-hundred questionnaires were distributed to study user’s purpose. In conclusion, the study indicates that different of users, Airport rail link and commuter rail passengers, have no relation with the land use change surrounding the stations. For now it can be say that airport rail link just mainly uses as a mode of transportation out of the airport with lack of interactions between users and spaces within the walking distance area around the stations. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางแผนภาคและเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55617 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.210 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.210 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5873303325.pdf | 11.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.