Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55622
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างสายตาเฝ้าระวังในผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างกับการเกิดอาชญากรรมโดยรอบจุดให้บริการจักรยานยนต์รับจ้างในเขตจตุจักร |
Other Titles: | THE RELATIONSHIP BETWEEN "EYES ON STREET" PERFORMED BYMOTORCYCLE TAXI DRIVERS AND CRIME INCIDENCE AROUNDWIN LOCATION IN CHATUCHAK DISTRICT |
Authors: | วรเมธ ศิริจินตนา |
Advisors: | สิริรัตน์ เสรีรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | serirat@yahoo.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จักรยานยนต์รับจ้าง เป็นบริการขนส่งนอกระบบที่มีในกรุงเทพมหานครกว่า 4 ทศวรรษ และมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนหลักของกรุงเทพมหานครนั้นกระจายตัวไม่ทั่วถึง และไม่สามารถให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพได้ ส่งผลให้จักรยานยนต์รับจ้างเข้ามามีบทบาทในการเชื่อมต่อการเดินทาง ด้วยลักษณะกายภาพที่มีขนาดเล็ก คล่องตัว ทำให้สามารถให้บริการได้ทั่วถึง และรวดเร็วโดยเฉพาะในเวลาที่ต้องการความเร่งด่วน นอกจากนั้นจักรยานยนต์รับจ้างยังมีบทบาทในการเป็นผู้เฝ้าระวัง และให้ความช่วยเหลือผู้คนนับเป็นบทบาทที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดภาวะเมืองน่าอยู่ เกิดความรู้สึกปลอดภัยซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิด “สายตาเฝ้าระวัง” ให้กับเมือง จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่ายังไม่มีการศึกษาทำความเข้าใจถึงกลไกที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์การเฝ้าระวังความปลอดภัย ในเมืองของจักรยานยนต์รับจ้างงานวิจัยชิ้นนี้จึงจะทำการสืบสวนกลไกทางสังคมเชิงพื้นที่ของจักรยานยนต์รับจ้างที่ส่งผลให้เกิดบทบาทในการเฝ้าระวัง วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพในการเกิดบทบาทดังกล่าว สังเคราะห์ปัจจัยเชิงพื้นที่ที่มีผลต่อศักยภาพในการเฝ้าระวัง และให้ข้อเสนอแนะในการนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบชุมชนเมืองในบริบทกรุงเทพมหานคร โดยมีวิธีการวิจัยคือการลงสำรวจพื้นที่เก็บข้อมูล การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจพื้นที่ศึกษาในเชิงแผนที่ ผลของงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าจุดให้บริการจักรยานยนต์รับจ้าง หรือวิน นอกจากส่งผลในการผูกขาดทางเศรษฐกิจแล้วยังส่งผลถึงบทบาททางสังคมในการเฝ้าระวังด้วย โดยปัจจัยทางกายภาพของจุดให้บริการหรือ วินที่ทำให้เกิดสายตาเฝ้าระวังในผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างคือ มุมมองที่เกิดจากตำแหน่งในการตั้งวินในสิ่งแวดล้อม และการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบวินซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็ให้ผลในการเฝ้าระวังได้แตกต่างกันออกไป โดยพบว่าการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบวินที่มีการเฝ้าระวังมากคือ ที่ทำงานหรือสถานศึกษา และที่พักอาศัย และการตั้งวินในกลุ่มมองผ่านตรงหน้าเป็นกลุ่มที่มีการเฝ้าระวังที่ดีกว่ากลุ่มอื่นคือ กลุ่มมองเปิดกว้าง และกลุ่มมองเน้น งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ และแนวความคิดในการออกแบบโครงสร้างทางกายภาพของย่าน หรือชุมชนเมืองเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเฝ้าระวังในบริบทไทย |
Other Abstract: | Motorcycle taxi has been playing an important role as an informal transportation in Bangkok for decades. Despite limited distribution and efficiency of mass transit network, motorcycle taxi acts as a small "feeder" for the larger network with more flexibility due to its size, speed, and mobility. In addition, motorcycle taxi drivers also have their secondary function as ‘eyes on the street’, monitoring local activities and providing supports and emergency rescues for those in need. Even so, their roles in society have not been much explored. This research will investigate the socio-spatial mechanism of motorcycle taxi drivers in urban surveillance and analyzes the factors that Influence the potential of it. Then, synthetic spatial factors that affect the potential in urban surveillance and recommendations to applications in urban design for Bangkok. The research methodology is observations, in depth interview and analyze data from the survey in the study area map. The results of the research is 3 self-managements of motorcycle taxi service spot, quota in spot and scope of services not only resulted in the monopolization of the economy but also resulted in urban surveillance. WIN’s physical factors to Incident “Eyes on Street” in motorcycle taxi drivers are land use and local relationship. workplace education and residential are good for "Eyes on Street". Guard view is good to incident "Eyes on street". That is to say, this research is present the new knowledge and urban design concept of physical structure in city or community to surveillance in the context of Thailand. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การออกแบบชุมชนเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55622 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.279 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.279 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5873327425.pdf | 29.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.