Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55633
Title: คติพุทธในเรือนพื้นถิ่นเมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
Other Titles: BUDDHIST PRINCIPLES IN VERNACULAR HOUSES OF LAPLAE DISTRICT, UTTARADIT PROVINCE
Authors: ภัทรวดี ภัทรรังษี
Advisors: วันชัย มงคลประดิษฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wonchai.M@Chula.ac.th,w.monkol@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษามีเป้าหมายในการศึกษาแนวคิด หลักคติทางพุทธศาสนาที่สอดแทรกในกระบวนการสร้างสถาปัตยกรรมของเรือนพื้นถิ่นที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาสืบทอดกันมา รวมถึงความเชื่อในการก่อสร้างเรือนให้มีความเหมาะสมกับบริบทสภาพแวดล้อม จากกรณีศึกษาชุมชนลับแล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นพื้นที่มีหลักฐานการตั้งชุมชนมายาวนาน มีวัฒนธรรม ประเพณีและศาสนาที่เข้มแข็ง ชีวิตความอยู่ยังเป็นสังคมแบบชนบทสมัยก่อน ลับแลจึงเป็นชุมชนที่มีองค์ประกอบของสังคมพุทธที่น่าศึกษา วิธีการศึกษาเก็บข้อมูลโดยศึกษาจากเอกสารด้านประวัติศาสตร์ความเป็นมาและการตั้งถิ่นฐานของชุมชน หลักธรรมคติทางพุทธศาสนา ลงพื้นที่สำรวจเรือนไม้เก่าแก่และสัมภาษณ์ชาวบ้านและปราชญ์ชุมชนเพื่อหาข้อมูลในด้าน คติความเชื่อเกี่ยวกับชุมชน การก่อสร้างเรือน โดยเลือกตัวอย่างกรณีศึกษาเรือนจำนวน 3 หลัง เพื่อศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมชุมชน และศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมและพื้นที่การใช้สอยภายใน วิเคราะห์ในบริบทของคติพุทธ โดยศึกษารายละเอียดจากเรือนตัวแทนกรณีศึกษาจำนวน 1 หลัง ผลการศึกษาทำให้เข้าใจการพัฒนาของรูปแบบของเรือนที่สามารถปรัปเปลี่ยนไปตามยุคสมัยแต่หลักการของการมีวิถีชีวิตที่เกื้อกูล สมถะและมีจุดนิมิตหมายของชุมชนร่วมกันเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เรือนมีความสงบ เย็นอย่างที่ควรจะเป็นที่ต่อเนื่องมาจากอดีตได้อย่างยั่งยืน และยังพบว่าความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์ สถาปัตยกรรม กับธรรมชาติแวดล้อมสัมพันธ์กับคติทางพุทธศาสนา แสดงให้เห็นหลักคิดที่ออกมาในรูปแบบหลักการวิธีการ ที่เกิดเป็นสูตร คติความเชื่อ ที่ทำให้เกิดความพอดี เหมาะสมในการดำเนินชีวิต ได้แก่ การเลือกพื้นที่การตั้งถิ่นฐานที่เหมาะสมกับการสร้างเรือน สร้างศูนย์กลางนิมิตหมายของชุมชน เป็นคติทำให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล สถาปัตยกรรมที่เป็นสภาพแวดล้อมในการอยู่อาศัยยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยง ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติผ่านพื้นที่การใช้งานของเรือน เป็นวิธีการสร้างเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ สงบ เย็น
Other Abstract: This study aimed to investigate the Buddhism concepts underlying the architectural process of vernacular houses behind the creation of living environments in the past. The Laplae community in Laplae District, Uttaradit Province was the case study and this community as a result, the living environment of Laplae – a Buddhist community – should be studied based on the architectural indigenous knowledge. The data were collected through documents related to the history of this community, the community’s settlement, Buddhist principles, and the field survey of wooden houses, three of which were selected for this purpose to gather data from their traditions, beliefs, and indigenous knowledge. Also, some architectural aspects were studied in detail. The functional areas were studied according to the Buddhist principles. According to the result of study, We can understand the development of the residences that can be adepted as time changing but the basic of assisted living, unambitious life and light the way of harmonious community. This has been the important point for the peaceful and well-being community continually sofar. An interesting issue worth pointing out is the relationship between man, architecture and nature in the context of Buddhism and nature. These concepts formulate patterns and beliefs aiming to create balance in the way of life, so that they can live in harmony and in balance. In addition, the architecture that creates the living environment also indicates the bonding between man and nature through the house. This is a way to harness nature to create the tranquility if the living boundary.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55633
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1155
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1155
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873358925.pdf6.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.