Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55634
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดนัย ทายตะคุ-
dc.contributor.authorยุพเรศ สิทธิพงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:42:40Z-
dc.date.available2017-10-30T04:42:40Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55634-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดินในพื้นที่เมือง และผลกระทบทางอุทกวิทยาลุ่มน้ำจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดิน ด้วยวิธีการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดินในอดีต และปัจจุบันของพื้นที่ลุ่มน้ำกะตะ เพื่อหาแนวทางการบูรณาการทาง ภูมิสถาปัตยกรรมจากผลการศึกษาในบริบทปัจจุบัน การวิจัยนี้ใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมด้วยเทคนิคการสำรวจระยะไกลเพื่อวิเคราะห์จำแนกสิ่งปกคลุมผิวดิน และใช้แบบจำลองอุทกวิทยาลุ่มน้ำขนาดเล็กในพื้นที่เมือง (WinTR-55) เพื่อประมาณการผลกระทบเบื้องต้นทางอุทกวิทยาลุ่มน้ำโดยการสร้างแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดิน 2 ช่วงเวลา คือ แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดิน ปี พ.ศ.2530 และ ปี พ.ศ.2559 และสร้างแบบจำลองข้อเสนอการออกแบบเมืองเพื่อลดผลกระทบทางอุทกวิทยาลุ่มน้ำจากการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเปรียบเทียบ 2 รูปแบบ ได้แก่ การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ และการเพิ่มพื้นที่โล่ง เพื่อการบูรณาการทางภูมิสถาปัตยกรรมตามแนวคิดการออกแบบเมืองโดยคำนึงถึงการจัดการน้ำ ผลการศึกษาพบว่าในรอบ 30 ปี พื้นที่ลุ่มน้ำกะตะมีพื้นที่พืชพรรณลดลงจากร้อยละ 90.04 เป็น 68.65 ทำให้สัดส่วนพื้นที่ซึมน้ำได้ดีต่อพื้นที่ไม่ซึมน้ำลดลงจาก 9:1 เป็น 2:1 ส่งผลให้ปริมาณน้ำผิวดิน และอัตราการไหลสูงสุดของน้ำในลำน้ำสูงขึ้น ซึ่งจากแบบจำลองข้อเสนอการออกแบบพบว่าการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าไม้ส่งผลให้อัตราการไหลสูงสุดของน้ำในลำน้ำลดลงมากกว่าพื้นที่โล่ง และทำให้มีปริมาณน้ำท่าเกิดขึ้นน้อยกว่าเนื่องจากมีการกักเก็บน้ำฝนไว้ในชั้นดินมากกว่า ซึ่งการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ทำให้มีโอกาสน้อยกว่าที่น้ำจะเอ่อล้นจากลำน้ำ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประเมินภูมินิเวศเบื้องต้นสำหรับการวางแผนทาง ภูมิสถาปัตยกรรมได้ เช่น การควบคุมปริมาณน้ำท่าผิวดินจากการพัฒนาพื้นที่ และการประมาณการผลกระทบเบื้องต้นจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดิน เป็นต้น-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this thesis studies the land cover change in urban areas and their effects on watershed hydrological characteristics by comparing effects from the land cover change of the Kata watershed, in order to find a way to apply landscape architectural design and planning in the current context. The research uses satellite imagery analysis software with remote sensing image classification techniques to identify and classify land cover with a small watershed model (WinTR-55) to estimate watershed hydrological effects. Two comparison models of the land cover in 1987 and 2016 were devised, then compared with alternative landscape urban design models for the mitigation of watershed hydrological effects with the addition of two types of green area – woods and open space, to apply landscape architectural design and planning following the Water Sensitive Urban Design concept (WSUD). The results show that in the past 30 years, the wooded area of the Kata watershed has decreased from 90.04 percent to 68.65 percent, reducing the ratio of permeable surface to impermeable surface from 9:1 to 2:1. This led to an increase in runoff and peak flow. From the alternative landscape urban design models, it was found that increasing the amount of wooded area generated runoff and peak flow less than open space due to improved soil absorption. Thus, the increase of wooded area decreased the chance that discharge would overflow from the stream. This knowledge can be applied in basic ecological assessments for landscape architectural planning such as controlling runoff from land development areas and to estimate the effects of changes in land cover.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.734-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดินในพื้นที่เมืองและผลกระทบต่อลักษณะอุทกวิทยาลุ่มน้ำ:กรณีศึกษาลุ่มน้ำกะตะ ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต-
dc.title.alternativeLAND COVER CHANGE IN URBAN AREA AND ITS EFFECT ON WATERSHED HYDROLOGICAL CHARACTERISTIC: A CASE STUDY OF KATA WATERSHED, TAMBON KARON, AMPHOE MUEANG, CHANGWAT PHUKET-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineภูมิสถาปัตยกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorDanai.Th@Chula.ac.th,danathai@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.734-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873360025.pdf13.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.