Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55637
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ฉมาวงศ์ สุริยจันทร์ | - |
dc.contributor.advisor | นิลุบล คล่องเวสสะ | - |
dc.contributor.author | วนิดา หนุ่มสุข | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:42:48Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:42:48Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55637 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | สนามเด็กเล่นรูปแบบธรรมชาติเป็นสนามเด็กเล่นที่มีองค์ประกอบทางธรรมชาติทำหน้าที่เป็นเครื่องเล่นโดยตรง ได้แก่ บ่อน้ำ ทราย ต้นไม้ เนินดิน วัสดุธรรมชาติ สิ่งมีชีวิต มีการศึกษาพบว่าการเล่นในพื้นที่ธรรมชาติเป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กโดยเฉพาะเด็กก่อนวัยเรียน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และความคิด การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเล่นในองค์ประกอบธรรมชาติแต่ละชนิด และข้อพิจารณาการออกแบบองค์ประกอบธรรมชาติ เพื่อสร้างเป็นข้อพิจารณาในการออกแบบสนามเด็กเล่นรูปแบบธรรมชาติที่นำไปใช้ได้จริง และเป็นพื้นฐานข้อมูลสำหรับผู้ที่มีความสนใจ กระบวนการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกเป็นการศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเล่นในองค์ประกอบธรรมชาติด้วยการสัมภาษณ์ประสบการณ์นักวิชาการและบุคคลที่มีประสบการณ์เล่นกับพื้นที่ธรรมชาติในวัยเด็ก เพื่อให้ได้ความรู้พื้นฐานสำหรับใช้ออกแบบการเก็บข้อมูลจากกรณีศึกษาในประเทศไทย ช่วงที่ 2 เป็นการเก็บข้อมูลจากกรณีศึกษาในประเทศไทย ด้วยการสังเกตการณ์พฤติกรรมการเล่นของเด็กกับองค์ประกอบธรรมชาติ การวิเคราะห์ผังสนามเด็กเล่นรูปแบบธรรมชาติ และการสัมภาษณ์บุคคลที่บริหารจัดการสนามเด็กเล่นรูปแบบธรรมชาติ โดยใช้พื้นที่ศึกษาในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สนามเด็กเล่นโรงเรียนรุ่งอรุณ สนามเด็กเล่นโรงเรียนจิตตเมตต์ สวนสาธารณะวชิรเบญจทัศน์ และพื้นที่บางส่วนของสวนสาธารณะบึงหนองบอน ผลการศึกษาได้ข้อสรุปเพื่อนำไปใช้ออกแบบสนามเด็กเล่นรูปแบบธรรมชาติ 2 ประการ ได้แก่ ประการแรกคือข้อพิจารณาในการออกแบบสนามเด็กเล่นรูปแบบธรรมชาติในบริบทประเทศไทย ได้สรุปเป็น 4 ด้าน คือด้านความปลอดภัย ด้านความสะดวกสบาย ด้านความสนุกสนาน และด้านการคำนึงถึงการดูแลรักษา ซึ่งมีรายละเอียดในแต่ละองค์ประกอบธรรมชาติ ประการที่สองคือการเลือกใช้องค์ประกอบธรรมชาติให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ของสนามเด็กเล่น พบว่าแต่ละองค์ประกอบธรรมชาติให้ผลพฤติกรรมการเล่นแตกต่างกัน จำแนกเป็นชนิดของการเล่น ลักษณะเชิงสังคม และประโยชน์จากการเล่น ได้ผลการศึกษาว่าการเลือกใช้ต้นไม้ใหญ่ และเนินดินในการออกแบบให้ประโยชน์สูงที่สุด | - |
dc.description.abstractalternative | A natural playground refers to an area which relies on natural elements including water, sand, vegetation, mounds, natural materials and living creatures functioning as playing equipment. In previous literature, it has been discovered that playing in a natural playground facilitates the physical, mental and cognitive development of children, particularly preschoolers. In terms of objectives, this study explores the behavior exhibited during play within each type of natural element. Furthermore, it proposes considerations regarding the selection of natural elements appropriate to the practical design of a natural playground. Such a plan also serves as a foundation for those who are interested in this area. Research methodologies were divided into two phases. First, the author built a foundation regarding the play within the natural elements by interviewing specialists and individuals who had gained such an experience during their childhood. The data obtained from such analysis were applied to the research design in this study. In the second phase, the author collected data from case studies in Thailand by means of observing children’s behavior within natural elements, analysing natural playground plans and interviewing a headmaster in charge of managing a natural playground. Field data collection was conducted at Roong Aroon school’s playground, Jittamett school’s playground, Vachirabenjatas park and certain areas of Bueng Nong Bon park. Findings revealed two characteristics. First, the considerations concerning the natural playground design in Thailand comprised of four factors. They consisted of safety, ease of use for children and their parents, the pleasure and maintenance aspects. Second, each natural elements yielded different behaviours. They could be classified as types of the play and social factors of the play. Regarding the benefits of play, it was discovered that incorporating trees and mounds into the design produced the most desirable result. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.733 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | ข้อพิจารณาในการออกแบบสนามเด็กเล่นรูปแบบธรรมชาติ | - |
dc.title.alternative | DESIGN CONSIDERATIONS FOR NATURAL PLAYGROUND | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | ภูมิสถาปัตยกรรม | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Chamawong.S@Chula.ac.th,chamawong@yahoo.com,chamawong@gmail.com | - |
dc.email.advisor | nilubol.k@gmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.733 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5873372625.pdf | 10.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.