Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55644
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุวดี ศิริ-
dc.contributor.authorเบญจมาศ อินทรสุวรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:43:08Z-
dc.date.available2017-10-30T04:43:08Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55644-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตั้งอยู่ในอำเภอท่าศาลาจังหวัดนครศรีธรรมราชมีความจำเป็นที่จะต้องจัดเตรียมที่พักอาศัยให้แก่บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเนื่องจากที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมีระยะทางไกลจากอำเภอเมือง และพบว่าที่พักอาศัยมีการใช้งานมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541 ซึ่งมีสภาพเก่าและทรุดโทรมตามกาลเวลาและมีจำนวนที่ไม่เพียงพอต่อบุคลากรที่เพิ่มขึ้น มหาวิทยาลัยจึงได้มีนโยบายการจัดสวัสดิการที่พักอาศัยเพิ่มขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย จึงจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลของพฤติกรรมการใช้งานภายในห้องพักและพื้นที่ส่วนกลาง เพื่อที่มหาวิทยาลัยจะนำข้อมูลไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจ การจัดสรรที่พักอาศัยในอนาคตให้ใกล้เคียงกับพฤติกรรมการใช้สอยพื้นที่ของบุคลากรมากที่สุด จึงนำมาสู่วัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยคือ 1).ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง บุคลากรสายวิชาการ 2).พฤติกรรมการใช้งานภายในห้องพักและพื้นที่ส่วนกลาง 3).ปัญหาเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ของห้องพักและพื้นที่ส่วนกลาง จากการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิที่ได้รับจากทางมหาวิทยาลัย พบว่ามหาวิทยาลัยจัดเตรียมพื้นที่ไว้สำหรับห้องพักคนโสดและครอบครัว 6 พื้นที่คือ1).พื้นที่เตรียม2).พื้นที่ห้องน้ำ3).พื้นที่พักผ่อนและทำงาน4).พื้นที่ระเบียง5).พื้นที่แต่งตัว6).พื้นที่ห้องนอนส่วนพื้นที่ส่วนกลางภายนอกอาคาร ได้แก่1).ถนนทางเข้าหอพัก2).สนามฟุตบอลและสนามบาสเก็ตบอล3).สโมสรร้านอาหาร4).ที่จอดรถและพื้นที่ส่วนกลางภายในอาคาร ได้แก่1).คอร์ทกลางอาคารบริเวณชั้น12).ห้องน้ำ3).พื้นที่เอนกประสงค์บริเวณชั้น 1 จากผลการศึกษาพฤติกรรมการใช้งานภายในห้องพักพบว่า ห้องพักแบบโสดและห้องพักแบบครอบครัว ผู้พักอาศัยมีพฤติกรรมการใช้พื้นที่ไม่แตกต่างกัน แต่จากการสัมภาษณ์ พบว่า 1). พื้นที่เตรียมมีการใช้พื้นที่เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยจัดเตรียมให้และมีกิจกรรมอื่นๆเพิ่มขึ้นคือ การเตรียมและทำอาหาร 2). พื้นที่ห้องน้ำ มหาลัยจัดเตรียมพื้นที่อาบน้ำและขับถ่ายในห้องน้ำให้ ซึ่งผู้พักอาศัยมีพฤติกรรมการใช้งานตรงตามที่จัดเตรียม แต่มีกิจกรรมอื่นๆที่เกิดขึ้นเพิ่ม คือมีการวางเครื่องซักผ้าหน้าห้องน้ำและระบายน้ำลงสู่ห้องน้ำ 3).พื้นที่ระเบียงมหาวิทยาลัยจัดเตรียมพื้นที่ตากผ้าให้ ซึ่งผู้พักอาศัยมีพฤติกรรมการใช้งานตรงตามที่จัดเตรียม แต่มีกิจกรรมอื่นๆที่เกิดขึ้นเพิ่มที่ คือการทำอาหาร จากผลการศึกษาพฤติกรรมการใช้งานพื้นที่ส่วนกลางภายนอกอาคาร พบว่า 1).จำนวนที่จอดรถที่ทางมหาวิทยาลัยจัดเตรียมให้ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้งาน 2).สนามฟุตบอลและบาสเก็ตบอลที่ไม่ได้มีการใช้งานเนื่องจากมีสภาพที่ทรุดโทรมไม่ได้รับการดูแล 3).พื้นที่สโมสรร้านอาหารที่ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการเข้าไปใช้งาน และพื้นที่ส่วนกลางภายในอาคาร พบว่า 1) พื้นที่คอร์ทกลางและพื้นที่ห้องน้ำที่ไม่ได้มีการใช้งานเนื่องจากมีสภาพที่ทรุดโทรมไม่ได้รับการดูแล 2) พื้นที่ลานเอนกประสงค์ที่ส่วนใหญ่มีการใช้งาน แต่พบปัญหามีจำนวนที่นั่งพักคอยน้อย ไม่เพียงพอ จึงเสนอแนะว่า จากผลการศึกษา ไม่พบปัญหาเรื่องของขนาดพื้นที่แต่พบปัญหาเรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวกที่มหาวิทยาลัยควรคำนึงถึง คือ 1). ส่วนกลางในการอำนวยความสะดวก ทั้งร้านอาหารสโมสรหรือร้านสะดวกซื้อ หรือพื้นที่ประกอบอาหารส่วนกลาง 2) พื้นที่ส่วนกลางสำหรับการซักผ้า ไม่ว่าจะเป็นร้านซักอบรีด หรือพื้นที่วางเครื่องซักผ้า 3)และพื้นที่จอดรถที่ไม่เพียงพอและ ที่มีตำแหน่งของที่จอดรถกับตัวอาคารหอพักมีระยะทางที่ไกล ทำให้ผู้พักอาศัยไม่ใช้ทางเดินหลักที่มหาวิทยาลัยจัดเตรียมให้ และใช้ทางเดินลัดซึ่งมีระยะทางใกล้กว่าแทน ข้อเสนอแนะคือ มหาวิทยาลัยตัวจัดเตรียมตำแหน่งที่จอดรถให้ใกล้กับอาคารหอพักมากที่สุด-
dc.description.abstractalternativeWalailak University, which is situated in Thasala District, Nakhonsithammarat Province, Thailand, needs to arrange accommodations for its staff because its location is far from the central Muang District of the province. It was found that the current accommodations are in a decrepit state as they have been in use since 1998, and are insufficient for the increasing number of staff members. Therefore, the university formulated a policy to increase the number of accommodations as a benefit for the convenience of its academic staff. Information on behavior towards the utilization of rooms and common areas of the current dormitory would be of use to the university in order to decide on the best arrangement of future accommodations that correspond to the needs of actual utilization. Hence, this research aims 1) to collect general information on a sample of the university’s academic staff, 2) to investigate staff behavior towards utilizing the dormitory rooms and common areas, and 3) to identify problems with the utilization of the dormitory rooms and common areas. Based upon secondary data received from the university, it was found that the university had arranged dormitory rooms for unmarried staff and for staff with families with six areas: 1) preparation zones, 2) bathrooms, 3) areas for work and rest, 4) balconies, 5) dressing areas, and 6) bedrooms. Common areas outside of the dormitory include 1) streets leading to the dormitory, 2) soccer courts and basketball courts, 3) food stalls, and 4) parking areas and common areas inside of the building including a common court on the first floor at the center of the building, 2) bathrooms, and 3) multi-purpose areas on the first floor. The results from studying behavior towards utilizing the dormitory rooms showed that residents in rooms designed for unmarried university academic staff and those designated for families exhibited a similar utilization of the areas. Interviews revealed that, firstly, preparation areas were utilized as the university had intended them to be, which was to prepare and cook food. Secondly, the university had provided bathing and toilet areas and both these types of residents utilized the areas as intended. However, further behavior – the placement of some washing machines and the drainage of water through bathrooms – was also observed. Thirdly, the balconies served as clothes hanging areas as intended, as well as for cooking. Findings from investigating behavior towards utilizing the common areas outside of the building revealed that parking areas that the university had arranged were insufficient for the needs of its staff. Secondly, soccer courts and basketball courts were not used as they were in a decrepit state and had not been maintained. Thirdly, food court areas were mostly unused. As far as the common areas inside of the building were concerned, it was found that 1) common court areas and bathrooms were not utilized since they were dilapidated and had not been maintained and that 2) multi-purpose court areas were little used because of the small and inadequate number of waiting seats. The results suggest that there are no problems with the size of areas, yet there are concerns with amenities that the university should take into account. The problems cover 1) common areas for amenities such as food stalls, convenience stores, common cooking areas; 2) common areas for clothes washing, including those for drying laundry and placement of shared washing machines; and 3) insufficient and faraway parking areas, causing the residents to use a shortcut, rather than the main sidewalk that the university had provided, which the university should address by arranging parking areas as close as possible to the dormitory.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.165-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleพฤติกรรมการใช้งานภายในห้องพักและพื้นที่ส่วนกลางของบุคลากรสายวิชาการในหอพักวลัยนิวาส มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์-
dc.title.alternativeBEHAVIOR IN ACCOMMODATIONS AND CENTRAL AREA OF WALAINIWAS ,WALAILAK UNIVERSITY-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorYuwadee.S@Chula.ac.th,Yuwadee.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.165-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873574025.pdf14.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.