Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55659
Title: ผลของการบำบัดด้วยออกซิเจนที่มีอัตราการไหลสูงต่อดัชนีบ่งชี้ภาวะที่มีออกซิเจนในเลือดลดลงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน
Other Titles: Effects of High Flow Oxygen Therapy on Oxygen Desaturation Index in Patients with Acute Ischemic Stroke
Authors: ณัฐพงศ์ วิบูลย์ศิริชัย
Advisors: ฉันชาย สิทธิพันธุ์
ณับผลิกา กองพลพรหม
ทายาท ดีสุดจิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Chanchai.Si@Chula.ac.th,sittipunt@gmail.com,sittipunt@gmail.com
napplika@yahoo.com
Tayard.D@Chula.ac.th
Subjects: ภาวะเลือดขาดออกซิเจน
โรคหลอดเลือดสมอง
Anoxemia
Cerebrovascular disease
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: ภาวะพร่องออกซิเจนในเลือด (hypoxemia) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบเฉียบพลันและสัมพันธ์กับการเสื่อมถอยของระบบประสาท (neurological deterioration) และอัตราการตายที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ประโยชน์จากการให้การบำบัดด้วยออกซิเจนยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ระดับความรุนแรงของเส้นเลือดสมองตีบอาจส่งผลต่อประโยชน์จากการได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจน รูปแบบการหายใจที่ผิดปกติสามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบและอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพร่องออกซิเจนในเลือด High flow nasal cannula (HFNC) มีข้อดีในหลายด้าน เช่น FiO2 ที่สามารถควบคุมได้, ลดแรงต้านทานในช่องจมูก, มีแรงดันบวกในช่วงท้ายของการหายใจออก ในการศึกษานี้ เรามุ่งที่จะประเมินผลการรักษาด้วย HFNC ต่อดัชนีบ่งชี้ภาวะที่มีออกซิเจนในเลือดลดลง (oxygen desaturation index หรือ ODI) และการฟื้นตัวของระบบประสาทในผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่มีความรุนแรงระดับปานกลางขึ้นไป เทียบกับกับการไม่ให้ออกซิเจนและให้ออกซิเจนที่มีอัตราการไหลต่ำ วิธีการศึกษา: เราทำการศึกษาแบบ single-center, ไปข้างหน้า, แบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นเส้นเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาใน stroke unit ภายใน 72 ชั่วโมงหลังจาก onset โดยเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้าการศึกษา คือ 1) อายุมากกว่า 18 ปี 2) ระดับความรุนแรงปานกลางและรุนแรง กำหนดโดย National of Health Stroke Scale (NIHSS) ที่มีค่าตั้งแต่ 5 ขึ้นไปและมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนหรือขา 3) ไม่มีข้อบ่งชี้ต่อการให้การบำบัดด้วยออกซิเจนและ oxygen saturation มากกว่าร้อยละ 92 4) มีความเสี่ยงต่ำต่อการที่จะมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive sleep apnea) มาก่อน ผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้าศึกษาจะถูกแบ่งโดยการสุ่มเป็น 3 กลุ่ม คือ high flow oxygen, low flow oxygen และไม่ได้รับ oxygen ผลลัพธ์หลัก คือ ดัชนีบ่งชี้ภาวะที่มีออกซิเจนในเลือดลดลงในวันแรกของการรักษา ในขณะที่ผลลัพธ์รอง คือ 1) จำนวนของผู้ป่วยที่มี ความพร่องของความอิ่มตัวของออกซิเจน (oxygen desaturation) และ 2) การฟื้นตัวของระบบประสาท (neurological recovery) ประเมินโดยการเปลี่ยนแปลงของค่า NIHSS ที่วันที่ 7 ของการนอนโรงพยาบาล ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 30 คนถูกแบ่งเป็นกลุ่มละ 10 คนทั้งหมด 3 กลุ่ม ค่ามัธยฐานของดัชนีบ่งชี้ภาวะที่มีออกซิเจนในเลือดลดลงคือ 6.2 [2.3,7.7] ในกลุ่ม high flow oxygen, 1.1 [0.6,1.8] ในกลุ่ม low flow oxygen และ 5.0 [2.2,8.4] ในกลุ่มที่ไม่ได้ oxygen (p=0.002 ระหว่าง 3 กลุ่ม , p=0.005 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้ high flow และ low flow oxygen, p=0.910 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้ high flow oxygen และไม่ได้ oxygen และ p=0.001 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้ low flow oxygen และไม่ได้ oxygen) อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างของจำนวนผู้ป่วยที่มีความพร่องของความอิ่มตัวของออกซิเจน นอกจากนั้น พบว่าการฟื้นคืนของระบบประสาทแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่าง 3 กลุ่ม การเปลี่ยนแปลงของค่า NIHSS ทีวันที่ 7 ของการนอนโรงพยาบาลคือ 1.5 [0,2], 3 [0,6] และ -0.5 [-2,0] ในกลุ่ม high flow oxygen, low flow oxygen และไม่ได้รับ oxygen ตามลำดับ oxygen (p=0.011 ระหว่าง 3 กลุ่ม , p=0.247 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้ high flow และ low flow oxygen, p=0.039 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้ high flow oxygen และไม่ได้ oxygen และ p=0.005 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้ low flow oxygen และไม่ได้ oxygen) ยิ่งกว่านั้น กลุ่ม low flow oxygen มีสัดส่วนของผู้ป่วยที่มีการฟื้นคืนของระบบประสาทที่มีนัยสำคัญทางคลินิก (การเปลี่ยนแปลงของค่า NIHSS ตั้งแต่ 4 ขึ้นไป) สูงที่สุด สรุป: การบำบัดด้วยออกซิเจนที่มีอัตราการไหลต่ำลด ODI ได้อย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่มีระดับความรุนแรงปานกลางและรุนแรง เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยกลุ่มอื่น นอกจากนี้การบำบัดด้วยออกซิเจนที่มีอัตราการไหลต่ำและการบำบัดด้วยออกซิเจนที่มีอัตราการไหลสูงทำให้การฟื้นตัวของระบบประสาทดีขึ้น ประโยชน์จากการได้ออกซิเจนในผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบเฉียบพลันควรมีการศึกษายืนยันในการศึกษาต่อไป
Other Abstract: Study objectives: We aimed to assess the therapeutic effect of HFNC on oxygen desaturation index (ODI) and neurological outcomes in stroke patients with moderate and severe severities, compared with no and low flow oxygen supplementation. Methods: We conducted a single-center, prospective, randomized controlled trial. The patients with acute ischemic stroke admitted in a stroke unit within 72 hours after the onset were enrolled. Inclusion criteria were 1) age above 18, 2) patients with moderate and severe severities, defined as the National of Health Stroke Scale (NIHSS) of 5 or more with limb weakness, 3) no need of oxygen therapy and oxygen saturation at room air of 92% or more and 4) low risk of prior obstructive sleep apnea. The eligible patients were randomly assigned to high flow oxygen, low flow oxygen and no oxygen groups. The primary outcome was oxygen desaturation index during the first day of treatment, while secondary outcomes were 1) the number of patients with oxygen desaturation, and 2) neurological recovery assessed by NIHSS change at the seventh day of admission. Results: From a total of 30 patients, 10 patients were randomized into each group. The median oxygen desaturation indices were 6.2 [2.3,7.7] in the high flow oxygen group, 1.1 [0.6,1.8] in the low flow oxygen group, and 5.0 [2.2,8.4] in the no oxygen group (p=0.002 for all comparison, p=0.005 compared between the high and low flow oxygen groups, p=0.910 between the high flow and no oxygen groups and p=0.001 between the low flow and no oxygen groups), however there was no difference in numbers of patients with oxygen desaturation. Additionally, the neurological recovery was significantly different among 3 groups. NIHSS changes at the 7th day of admission were 1.5 [0,2], 3 [0,6] and -0.5 [-2,0] in the high flow oxygen, low flow oxygen and no oxygen group, respectively (p=0.011 for all comparison, p=0.247 compared between the high and low flow oxygen groups, p=0.039 between the high flow and no oxygen groups, and p=0.005 between the low flow and no oxygen groups). Furthermore, the low flow oxygen group had the highest proportion of the patients with clinically significant neurological recovery (NIHSS change of 4 or more). Conclusions: Low flow oxygen therapy significantly reduced ODI in acute ischemic stroke patients with moderate and severe severities, compared with the other groups. In addition, both low flow and high flow oxygen therapy improved neurological recovery. Beneficial effects of oxygen supplementation in acute stroke patients should be confirmed in further studies.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55659
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1263
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1263
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874029630.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.