Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55660
Title: | ภาพลักษณ์ทางกายและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคมะเร็งทางนรีเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
Other Titles: | Body Image and Depression among Gynecologic Cancer Patients at King Chulalongkorn Memorial Hospital |
Authors: | ณิญาพรรค์ภักดิ์ ภุมรินทร์ |
Advisors: | ชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์ ชินา โอฬารรัตนพันธ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chutima.Ro@Chula.ac.th,chutima.room@gmail.com dr_shina@hotmail.com |
Subjects: | ความซึมเศร้าในสตรี ภาพลักษณ์ร่างกายในสตรี Depression in women Body image in women |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง (Cross-sectional Descriptive Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงภาพลักษณ์ทางกายและความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคมะเร็งทางนรีเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 196 ราย ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกมะเร็งทางนรีเวช แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตึกภปร. ชั้น 7 มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป และได้รับการวินิจฉัยโดยสูติ-นรีแพทย์และแพทย์ประจำบ้านแผนกสูติ-นรีเวชว่าเป็นมะเร็งของอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์ของสตรี ใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลการเจ็บป่วย แบบสอบถาม Hospital Anxiety Depression Scale ฉบับภาษาไทย (Thai HADS) แบบสอบถาม Body Image Scale (BIS) แบบสอบถาม Jalowiec Coping Scale และแบบสอบถาม The Personal Resource Questionnaire ส่วนที่ 2 (PRQ Part-II) ผู้วิจัยใช้สถิติเชิงพรรณนาอธิบายระดับความพึงพอใจต่อภาพลักษณ์ทางกายและความชุกของภาวะซึมเศร้า และใช้สถิติเชิงอนุมานในการหาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และปัจจัยทำนายภาพลักษณ์ทางกายและภาวะซึมเศร้า ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจต่อภาพลักษณ์ทางกายสูง ร้อยละ 83.2 ปานกลาง ร้อยละ 16.3 และต่ำ ร้อยละ 0.5 และมีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 7.7 (Thai HADS ≥ 8 คะแนน) โดยปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับระดับความพึงพอใจต่อภาพลักษณ์ทางกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ส่วนตัว ประวัติการใช้สารเสพติด โรคประจำตัวทางจิตเวช (โรคซึมเศร้า) การมีโรคร่วมของมะเร็งทางนรีเวช การให้เคมีบำบัด ผลข้างเคียงที่ได้รับจากการรักษา วิธีการเผชิญความเครียดด้านการมุ่งแก้ปัญหา ด้านการจัดการกับอารมณ์ และด้านการบรรเทาความรู้สึกเครียด ส่วนปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ส่วนตัว ผลข้างเคียงที่ได้รับจากการรักษา วิธีการเผชิญความเครียดด้านการจัดการกับอารมณ์ และแรงสนับสนุนทางสังคม สำหรับปัจจัยทำนายความพึงพอใจต่อภาพลักษณ์ทางกาย ได้แก่ วิธีการเผชิญความเครียดด้านการจัดการอารมณ์ ระดับการศึกษา สีผิวคล้ำขึ้น และโรคประจำตัวทางจิตเวช (โรคซึมเศร้า) โดยทั้ง 4 ตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจต่อภาพลักษณ์ทางกายได้ร้อยละ 38.3 ส่วนปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ วิธีการเผชิญความเครียดด้านการจัดการอารมณ์ แรงสนับสนุนทางสังคม อายุ อาการนอนไม่หลับ และระดับการศึกษา โดยทั้ง 5 ตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายคะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าได้ร้อยละ 29.2 |
Other Abstract: | This study is a cross-sectional descriptive study. The purposes of this research were to study level of body image satisfaction and prevalence of depression as well as associated factors among gynecologic cancer patients at King Chulalongkorn Memorial Hospital. We recruited 196 out-patients age above 18 years with at least one diagnosis of gynecologic cancer by a gynecologist. The instruments included demographic, personal and gynecological information questionnaire, Hospital Anxiety Depression Scale (Thai HADS), Body Image Scale (BIS), Jalowiec Coping Scale, and The Personal Resource Questionnaire (PRQ Part-II). Descriptive statistics were used to describe the prevalence of depression and level of body image satisfaction. Univariate statistics were used to examine the associated factors of body image satisfaction and depression. The results show that most of the patients (n = 163) had high level of body image satisfaction (83.2%), whereas 32 (16.3%) had moderate satisfaction level and 1 (0.5%) had low satisfaction level of body image, respectively. The prevalence of depression according to Thai-HADS ≥ 8 was 7.7%. Factors associated with body image satisfaction are: age, level of education, occupation, personal income, history of substance abuse, history of depression, having more than 1 type of gynecologic cancers, having received chemotherapy, having disturbed physical symptoms, using problem-focused coping, emotional coping, and palliative coping. Factors associated with depression are age, marital status, level of education, occupation, personal income, having disturbed physical symptoms, using emotional coping and social support. Using emotional coping, level of education, hyperpigmentation skin and history of depression could predict the body image of gynecologic cancer patients. The predictive power was 38.3 percent of the variance. Using emotional coping, social support, age, insomnia and level of education could predict depression of gynecologic cancer patients. The predictive power was 29.2 percent of the variance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55660 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1208 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1208 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5874032430.pdf | 4.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.