Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55661
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปุญฑริก ศรีสวาท-
dc.contributor.authorดนุวัศ ศศิภิญโญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:43:59Z-
dc.date.available2017-10-30T04:43:59Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55661-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้า ความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคสมองเสื่อม แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 82 คน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 – มีนาคม 2560 โดยให้ผู้ดูแลของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมทุกคนตอบแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลและผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า (Beck Depression Inventory-II) แบบสอบถามความรู้สึกเป็นภาระ (Zarit Burden Interview) และแบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับ (The Pittsburgh Sleep Quality Index) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไค-สแควร์ ผลการศึกษา จากผู้ดูแลของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมจำนวน 82 คน พบว่า ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 82.9 มีอายุเฉลี่ย 54.15 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 51.2 กว่าครึ่งมีสถานะโสด ร้อยละ 51.2 พบความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 15.9 โดยแบ่งเป็นผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย ร้อยละ 11.0 ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง ร้อยละ 3.7 และผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง ร้อยละ 1.2 พบผู้ดูแลที่มีความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 41.5 และพบผู้ดูแลที่มีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 39.0 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ ระดับการศึกษา (OR = 9.692, 95% CI = 2.580 – 36.405 ; p < 0.001) การมีรายได้ของผู้ดูแล (OR = 4.071, 95% CI = 1.160 – 14.291 ; p < 0.05) ความพอเพียงของค่าใช้จ่าย (OR = 10.761, 95% CI = 2.198 - 52.673 ; p < 0.001) ปัญหาทางด้านสุขภาพ (OR = 8.772, 95% CI = 2.176 - 35.364 ; p < 0.001) ความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลผู้ป่วย (OR = 11.000, 95% CI = 2.249 - 53.812 ; p < 0.001) และคุณภาพการนอนหลับ (OR = 29.400, 95% CI = 3.581 - 241.348 ; p < 0.001) โดยแต่ละช่วงปัจจัยนั้นเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม จึงควรมีการประเมินหรือคัดกรองภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลร่วมด้วย เพื่อเพิ่มคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมให้ดียิ่งขึ้น-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this descriptive research were to study prevalence of depression, burden and associated factors of depression in caregivers of dementia patients at dementia clinic, King Chulalongkorn Memorial hospital. A total of 82 participants in study from November 2016 to March 2017. Data were collected by using self-report questionnaire of dementia patients and caregivers of dementia patients, Beck Depression Inventory-II Thai version, Zarit Burden Interview Thai version and The Pittsburgh Sleep Quality Index Thai version. Statistical analysis was done by using SPSS. The data were analyzed for percentage, mean, standard deviation and chi-square. In 82 caregivers of dementia patients reported female 82.9 percent. The average age of 54.15 years old with 51.2 percent completed bachelor’s degree. More than half 51.2 percent were single. The results were revealed that 15.9 percent in caregivers of dementia patients had depression. Divided to mild depression 11.0 percent, moderate depression 3.7 percent and severe depression 1.2 percent. 34 caregivers of dementia patients were found caregiver burden of patients with dementia, 41.5 percent. And 32 caregivers of dementia patients had poor quality of sleep, 39.0 percent. Caregivers’ factors related to depression in caregivers of dementia patients were level of education (OR = 9.692, 95% CI = 2.580 – 36.405 ; p < 0.001), income (OR = 4.071, 95% CI = 1.160 – 14.291 ; p < 0.05), adequate income (OR = 10.761, 95% CI = 2.198 - 52.673 ; p < 0.001), problems of health (OR = 8.772, 95% CI = 2.176 - 35.364 ; p < 0.001), caregiver burden of patients with dementia (OR = 11.000, 95% CI = 2.249 - 53.812 ; p < 0.001) and quality of sleep (OR = 29.400, 95% CI = 3.581 - 241.348 ; p < 0.001). These factors were increased risk of depression in caregivers of dementia patients. To decrease caregiver depression, physicians who provide medication should investigated or screen for caregivers of dementia patients for proper management to improve quality of care among patients with dementia.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1207-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโรคซึมเศร้า-
dc.subjectผู้ดูแล -- แง่จิตวิทยา-
dc.subjectภาวะสมองเสื่อม -- ผู้ป่วย -- การดูแล-
dc.subjectCaregivers -- Psychological aspects-
dc.subjectPsychotic depression-
dc.subjectDementia -- Patient -- Care-
dc.titleความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมที่รับการรักษาที่คลินิกโรคสมองเสื่อม ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์-
dc.title.alternativeThe prevalence of depression in caregivers of dementia patients at dementia clinic, King Chulalongkorn Memorial hospital-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสุขภาพจิต-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorps.taew@gmail.com,ps.taew@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1207-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874033030.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.