Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55666
Title: การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการแสดงออกของโปรตีนโปรแกรมเซลล์เดธ-1 ลิแกนด์ในเนื้อเยื่อมะเร็งปอดชนิดที่มีการกลายพันธุ์ของอีพิเดอร์มอลโกรทแฟกเตอร์รีเซปเตอร์สัมพันธ์กับการรักษาด้วยยายับยั้งอีพิเดอร์มอลโกรทแฟกเตอร์รีเซปเตอร์ ไทโรซีนไคเนส
Other Titles: CHANGE OF PROGRAMMED CELL DEATH 1 LIGAND (PD-L1) EXPRESSIONIN NON SMALL CELL LUNG CARCINOMA HARBORING SOMATICEPIDERMAL GROWTH FACTOR RECEPTOR (EGFR) MUTATIONSCORRELATED WITH EGFR TYROSINE KINASE INHIBITORS EXPOSURE
Authors: ศิวัช ศักดิ์เดชยนต์
Advisors: วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Virote.S@Chula.ac.th,vsmdcu40@gmail.com,virote.s@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: ยาภูมิคุ้มกันบำบัดกลุ่มยับยั้งโปรแกรมเซลล์เดธ-1 และโปรแกรมเซลล์เดธ-1 ลิแกนด์มีบทบาทสำคัญในการรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก อย่างไรก็ตามประโยชน์ของยากลุ่มนี้ยังไม่แน่ชัดในมะเร็งปอดชนิดที่มีการกลายพันธุ์ของอีพิเดอร์มอลโกรทแฟกเตอร์รีเซปเตอร์ มีหลายการศึกษาที่ตรวจการแสดงออกของโปรตีนโปรแกรมเซลล์เดธ-1 ลิแกนด์(พีดีแอล-1)ในเนื้องอกกลุ่มนี้ แต่กลุ่มประชากรและแอนติบอดีที่ใช้มีความหลากหลาย การศึกษานี้มุ่งที่จะตรวจการแสดงออกของพีดีแอล-1 ในเนื้อเยื่อมะเร็งปอด เปรียบเทียบก่อนและหลังการรักษาด้วยยายับยั้งอีพิเดอร์มอลโกรทแฟกเตอร์รีเซปเตอร์ ไทโรซีนไคเนส โดยใช้แอนติบอดีที่ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังจากกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งปอดที่มีการกลายพันธุ์อีพิเดอร์มอลโกรทแฟกเตอร์รีเซปเตอร์ที่ได้รับการรักษาด้วยยายับยั้งอีพิเดอร์มอลโกรทแฟกเตอร์รีเซปเตอร์ไทโรซีนไคเนส ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2550-2559 และเลือกผู้ป่วยที่มีการเก็บชิ้นเนื้อทั้งก่อนและหลังการดื้อยา มาตรวจพีดีแอล-1 ด้วยอิมมูโนฮิสโตเคมิสตรีใช้แอนติบอดีชนิด 22C3 และวัดระดับการแสดงออกโดย ทูเมอร์โพรพอร์ชันนัลสกอร์ และ เอชสกอร์ ผลการศึกษา: จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 38 คน พบเนื้องอกที่มีการกลายพันธุ์อีพิเดอร์มอลโกรทแฟกเตอร์รีเซปเตอร์ชนิดเอกซอน 19 del 20 คน (52.6%) , ชนิดเอกซอน 21 L858R 15 คน (39.5%) และอีก 2 คนเป็นชนิดที่พบน้อยได้แก่ G719X และ L861Q หลังจากดื้อยายับยั้งไทโรซีนไคเนส พบการกลายพันธุ์ชนิดเอกซอน 20 T790M 21 ใน 33 คน (61.5%) พบผู้ป่วยที่มีการแสดงออกของพีดีแอล-1 ทูเมอร์โพรพอร์ชันนัลสกอร์ ≥1% ก่อนการรักษาจำนวน 8 จาก 38 คน (21.1%) และมี 1 คนที่มีค่าทูเมอร์โพรพอร์ชันนัลสกอร์ ≥50% (2.63%) ค่าเฉลี่ยทูเมอร์โพรพอร์ชันนัลสกอร์ ก่อนการรักษาอยู่ที่ 4.57% และ เอชสกอร์ 7.9 ตามลำดับ ในชื้นเนื้อตัวอย่างที่เก็บหลังจากดื้อยาพบการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ค่าเฉลี่ยของทูเมอร์โพรพอร์ชันนัลสกอร์เพิ่มจาก 4.57% เป็น 14.91% (p=0.019) และ เอชสกอร์เพิ่มจาก 7.9 เป็น 33.22 (p=0.015) ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่พบการแสดงออกของพีดีแอล-1 ก่อนการรักษา 30 คน (ทูเมอร์โพรพอร์ชันนัลสกอร์ <1%) 27 คน (90%) ยังคงไม่พบการแสดงออกของพีดีแอล-1 นอกจากนี้ผู้วิจัยไม่พบความแตกต่างของระยะเวลาปราศจากการดำเนินโรคของการรักษาด้วยยายับยั้งอีพิเดอร์มอลโกรทแฟกเตอร์รีเซปเตอร์ไทโรซีนไคเนสระหว่างกลุ่มคนไข้ที่มีและไม่มีการการแสดงออกของพีดีแอล-1 สรุปผล: โดยการตรวจด้วยวิธีการตรวจด้วยแอนติบอดี 22C3 พบความชุกของการแสดงออกของพีดีแอล-1 บนเซลล์เนื้องอกก่อนการรักษาด้วยยายับยั้งอีพิเดอร์มอลโกรทแฟกเตอร์รีเซปเตอร์ไทโรซีนไคเนส 23.6% และระดับการแสดงออกเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการรักษา จนกระทั่งมีการดื้อยายับยั้งไทโรซีนไคเนสโดยเฉพาะกลุ่มที่มีการแสดงออกอยู่เดิม ข้อมูลนี้ช่วยประกอบการพิจารณาเลือกการตรวจและเลือกใช้การรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัดกลุ่มยับยั้งเชคพอยต์ในโรคมะเร็งปอดชนิดที่มีการกลายพันธุ์ของอีพิเดอร์มอลโกรทแฟกเตอร์รีเซปเตอร์
Other Abstract: Background: Checkpoint inhibitor anti-PD1/PD-L1 immunotherapy has played a critical role in treatment of non-small cell lung cancer (NSCLC), however, the benefit of using these agents in EGFR mutation (mEGFR) NSCLC remain uncertain. Several studies have investigated these issues with different population and detection antibodies. We aimed to determine the changes of PD-L1 expression in mEGFR harboring NSCLC tissues before and after the exposure to tyrosine kinase inhibitors (TKIs) by using a FDA-approved PD-L1 assay. Methods: We retrospectively analyzed paired tumor specimens from 38 NSCLC patients having mEGFR who were treated with an EGFR-TKI. Tumor had been collected at baseline and after an acquired resistance to a TKI prior to additional treatment. We used a FDA-approved anti-PD-L1, 22C3, to detect the level of PD-L1 expression which were analyzed using tumor proportion score (TPS) and H-score. Results: There were 20 patients having exon 19 deletion (52.6%) and 15 patients having exon 21 L858R (39.5%), and 2 cases having uncommon mutations including G719X and L861Q. We found secondary EGFR mutation exon 20 T790M in 21 of 33 (61.5%) tissue analyzed. Baseline expression of PD-L1 was detected in 8 out of 38 (21.1%) with TPS ≥1%, and one having TPS ≥50%. The pre-exposure to TKI mean TPS and H-score were 4.57% and 7.9 respectively. We found a significant increase in PD-L1 expression upon acquired resistance to TKI with mean TPS rising from 4.57 to 14.91 (p = 0.019) and H-score from 7.9 to 33.22 (p = 0.015). There were 27 of 30 patients whose tumor had negative TPS and H-score at baseline and they remained negative regardless of TKI exposure. Additionally, the TTP from treatment with TKI or chemotherapy were similar in both PD-L1 positive and negative subgroups. Conclusions: With the FDA approved anti-PD-L1, 22C3, assay, our data demonstrated a moderate prevalence, 23.6%, of PD-L1 expression prior to treatment with TKI in mEGFR NSCLC. Expression of PD-L1 significantly increased after exposure and being resistance to TKIs especially in those with initially positive expression. These data may implicate the selection of investigations and treatments related to applying checkpoint inhibitors in mEGFR NSCLC.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55666
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1255
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1255
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874071930.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.