Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55694
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกนิษฐ์ ศรีเคลือบ-
dc.contributor.advisorสุวิมล ว่องวาณิช-
dc.contributor.authorจุฑามาศ สิริวัฒน์โสภณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:45:45Z-
dc.date.available2017-10-30T04:45:45Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55694-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลการวัดและเครื่องมือวัดบทบาทครูเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 2) วิเคราะห์ระดับบทบาทครูเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ระหว่างครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และ 3) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดบทบาทครูในศตวรรษที่ 21 ระหว่างครูที่สอนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ตัวอย่างวิจัย คือ ครูที่สอนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 652 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและแบบวัดบทบาทครูเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for windows เพื่อวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและสถิติอ้างอิง และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้โปรแกรม LISREL ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครวงสร้างกลุ่มพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลการวัดบทบาทครูเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 10 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) บทบาทครูผู้อำนวยความสะดวกประกอบด้วย3 ตัวบ่งชี้ คือ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้เอื้อต่อกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมของการเรียนการสอนให้เหมาะสม และการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน 2) บทบาทครูผู้แนะนำแนวทาง ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ คือ การชี้แนะแนวทางเพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง การถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด การมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ และการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน 3) บทบาทครูผู้ร่วมเรียนรู้/ร่วมศึกษา ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ คือ ความใจกว้างและเปิดโอกาสรับความรู้ใหม่ การร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น และการเรียนรู้และแสวงหาความรู้อยู่เสมอ โมเดลการวัดบทบาทครูเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 27.39, df = 21, p = 0.158, GFI = 0.992, AGFI = 0.978, RMR = 0.003, RMSEA = 0.022) 2. ครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษามีค่าเฉลี่ยของบทบาทครูเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกตามองค์ประกอบพบว่าครูมีค่าเฉลี่ยบทบาทครูผู้แนะนำมากที่สุด (M = 3.86, SD = 0.53) รองลงมาคือบทบาทครูผู้ร่วมเรียนรู้/ร่วมศึกษา (M = 3.85, SD = 0.56) และบทบาทครูผู้อำนวยความสะดวกมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (M = 3.84, SD = 0.49) อีกทั้งผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจำแนกตามอายุและระดับชั้นที่สอนของครูที่แตกต่างกัน มีค่าต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. โมเดลการวัดบทบาทครูเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลระหว่างครูที่สอนในช่วงชั้นที่แตกต่างกัน และมีความไม่แปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ซึ่งเป็นค่าน้ำหนักองค์ประกอบของแต่ละตัวบ่งชี้และค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักด้านบทบาทครูผู้อำนวยความสะดวก บทบาทครูผู้แนะนำแนวทาง และบทบาทครูผู้ร่วมเรียนรู้/ร่วมศึกษา-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this descriptive study were 1) to develop teacher roles measurement model and tools for student learning in the 21st century 2) to analyze the level of teacher roles for student learning in the 21st century 3) to test measurement invariance of teacher roles measurement model for student learning in the 21st century by grade level. Test subjected were selected from a group of 652 primary and secondary teachers (under the jurisdiction of the Office of the Basic Education Commission in Bangkok) and chosen by multi-stage random sampling. The research tools were the specialist interview form and a 5-scale rating. The data were analyzed by using SPSS for windows for descriptive statistics, inferential statistics, and Pearson’s correlation. Confirmatory factor analysis and multigroup structural equation models were analyzed using LISREL.The research results were as follows: 1. Teacher roles for student learning in the 21st century consisted of 3 factors covering 10 indicators 1) facilitator factors were measured using three indictors; the learning design, the atmosphere management and the learning integration. 2) coach factors were measured using 4 indicators; coaching the student self-learning, stimulating with the questions, teaching ability and observing the students’ behavior. 3) co-learner/co-investigator factors were measured using 3 indicators; being open minded, collaborating and exchanging the knowledge and acquiring knowledge. Teacher roles measurement model for student learning in the 21st century was found to fit the empirical data. (χ2 = 27.39, df = 21, p = 0.158, GFI = 0.992, AGFI = 0.978, RMR = 0.003 and RMSEA = 0.022) 2. Means of primary and secondary teachers were in high level which were divided by factors found that Coach had the highest means, (M = 3.86, SD = 0.53) followed by Co-learner/Co-investigator (M = 3.85 SD =0.56), and Facilitator (M = 3.84, SD = 0.49). Besides, the comparison of means divided by different age and grade levels. It was non-significant at .05. 3. Teacher roles measurement model for student learning in the 21st century showed invariance in model form between two different grade levels. The model indicated an invariance of parameters in the factor loading of the indicators of facilitator, coach and co-learner/co-investigator.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.861-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleผลการเตรียมความพร้อมครูที่มีต่อชีวิตการทำงานครูในยุคดิจิทัลและผลที่ตามมา-
dc.title.alternativeEFFECTS OF TEACHER PREPARATION ON TEACHER WORKLIFE IN DIGITAL AGE AND ITS CONSEQUENCES-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorkanit.s@chula.ac.th,ksriklaub@gmail.com-
dc.email.advisorSuwimon.W@Chula.ac.th,wsuwimon@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.861-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883320627.pdf9.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.