Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55710
Title: แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2
Other Titles: APPROACHES FOR AUTHENTIC LEADERSHIP DEVELOPMENT OF SCHOOL ADMINISTRATOR TO ENHANCE ORGANIZATIONAL CITIZENSHIP BEHAVIORS OF TEACHERS UNDER NAN PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 2
Authors: โกศล ตามะทะ
Advisors: ธีรภัทร กุโลภาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Dhirapat.K@chula.ac.th,dhirapat.k@gmail.com,dhirapat.k@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำที่แท้จริงในผู้บริหารสถานศึกษา และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของครู 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำที่แท้จริงในผู้บริหารสถานศึกษาและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของครู และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของครู การวิจัยประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อ 1 และ 2 ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 49 คน และครู 205 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบประเมินความต้องการจำเป็น และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ขั้นที่ 2 ประเมินร่างแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ด้วยสถิติบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือความโปร่งใสเชิงสัมพันธ์ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของครูอยู่ในระดับมาก องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการให้ความร่วมมือ 2) ภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของครูอย่างมีนัยสำคัญ และความโปร่งใสเชิงสัมพันธ์ และมุมมองเชิงจริยธรรมภายในตนของผู้บริหารสถานศึกษาสามารถทำนายพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ ของครูอย่างมีนัยสำคัญ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การประกอบด้วย 3 มิติ คือ มิติที่ 1 พัฒนาความเข้าใจในความหมายที่ลุ่มลึกสู่ความโปร่งใสเชิงสัมพันธ์และกระบวนการที่สมดุล มิติที่ 2 ใช้มุมมองที่ขัดแย้งเพื่อพัฒนามุมมองเชิงจริยธรรมภายในตน และ มิติที่ 3 เผชิญสถานการณ์ที่ท้าทายเพื่อกระตุ้นการตระหนักตน
Other Abstract: The objective of the study were 1) to determine the level of the school administrators’ authentic leadership and teachers’ organizational citizenship behavior 2) to explore the relationship between school administrators’ authentic leadership and teachers’ organizational citizenship behavior and 3) to present the approaches for authentic leadership development of school administrator to enhance organizational citizenship behavior of teacher under Nan primary school education service area 2. The study comprised 2 phases. For the first phase, data provided by 49 school administrators and 205 teachers from Stratified random sampling and the tools used in the research were questionnaires and needs assessment form and Descriptive statistics. Correlation analysis, Multiple Regression analysis and needs assessment analysis were used. The second phase was the assessment of proposed approaches by 5 experts. Data were collected using the suitability and feasibility assessment form and analyzed by descriptive statistics. The finding were: 1) the school administrators’ authentic leadership was at high level. Relational transparency. Was the rated highest among 4 dimensions. Teachers’ organizational citizenship behavior was at high level. Civic virtue was rated highest among 7 dimension. 2) Significant positive correlation between authentic leadership and organizational citizenship behavior was found. 3) Approaches for authentic leadership development of school administrator comprised 3 dimension 1) Elevated sensemaking to enhance develop relational transparency and balance processing, dimension 2) Colliding perspectives to strengthen internalize moral perspective, and dimension 3) Heat experiences to foster self-awareness.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55710
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.523
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.523
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883409927.pdf6.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.