Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55716
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พนม คลี่ฉายา | - |
dc.contributor.author | กิตติกร โพธิ์ทอง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:47:02Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:47:02Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55716 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่ออธิบายเส้นทางการตัดสินใจซื้อกล้องถ่ายภาพย้อนยุคของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซดและการเปิดรับเรื่องเล่าอดีต เป็นวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีวิจัยร่วมกันระหว่างการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาในผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซดที่เกิดในปี พ.ศ.2538 –2544 แบ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและนิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เคยตัดสินใจซื้อและใช้กล้องถ่ายภาพย้อนยุคแบบฟิล์มและแบบดิจิทัลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซดเปิดรับเรื่องเล่าอดีตจากพ่อแม่ บุคคลในครอบครัว ที่มักจะเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ในอดีตของตนเองผ่านภาพถ่ายเก่า ภาพยนตร์เก่า หรือพูดถึงกล้องถ่ายภาพและการถ่ายภาพ ผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซดจึงเกิดคุ้นเคยกับกล้องถ่ายภาพแบบเก่าและมีความโหยหาอดีตที่มีเรื่องเล่าอดีตเป็นสิ่งเร้าและนำไปสู่ความต้องการใช้กล้องถ่ายภาพย้อนยุค สำหรับเส้นทางการตัดสินใจซื้อกล้องถ่ายภาพย้อนยุคของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซด เริ่มต้นจากการพบเห็นภาพถ่ายแบบเก่า หรือกล้องถ่ายภาพเก่า หรือได้ทดลองใช้กล้องแบบเก่า ที่เป็นจุดเริ่มต้นความต้องการ นำไปสู่ขั้นการพิจารณาและค้นหาข้อมูลในขั้นการประเมินทางเลือก โดยค้นหาจากแหล่งข้อมูลภายนอกและภายในร้านค้าจนเพียงพอต่อการตัดสินใจเลือกในขั้นการตัดสินใจซื้อ หลังจากซื้อสินค้าแล้วผู้บริโภคจะมีประสบการณ์หลังการซื้อจากการใช้สินค้าและหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า รวมถึงแนะนำ บอกต่อ ข้อมูลสินค้าแก่บุคคลอื่น ซึ่งการให้ข้อมูลนี้จะกลายเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจหรือเป็นจุดเริ่มต้นความต้องการของผู้บริโภคคนอื่นๆ ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าการเปิดรับเรื่องเล่าอดีตและเส้นทางการตัดสินใจซื้อกล้องถ่ายภาพย้อนยุคมีความเกี่ยวข้องกัน โดยการเปิดรับเรื่องเล่าอดีตเป็นสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงไปสู่ความโหยหาอดีตในผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซด ซึ่งความโหยหาอดีตและความคุ้นเคยกับภาพถ่ายเก่า กล้องถ่ายภาพเก่า หรือภาพยนตร์เก่าเป็นจุดเริ่มต้นความต้องการในเส้นทางการตัดสินใจซื้อกล้องถ่ายภาพย้อนยุคของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซด | - |
dc.description.abstractalternative | This research aims to describe the association between consumer decision journey on retro camera and exposure to nostalgic stories. The qualitative research methods used were in-depth interviews and focus group. The focal subjects of this research are Generation Z consumers whom were born during 1995-2001, and classed as high school students and undergraduate students in Bangkok who have decided to purchase and use retro camera. Findings have revealed that Generation Z are exposed to nostalgic stories through their parents or family members who recounted their experiences by showing old photos in accordance to storytelling, speaking of how they have watched old movies or taken photos with retro cameras. Therefore, Generation Z are familiar with retro cameras and are feeling nostalgic from being exposed to nostalgic stories leading them to demand retro cameras. The decision journey of Generation Z consumers on retro cameras starts with the awareness of vintage photos captured by retro cameras or a trial of retro cameras. Which leading them to feel the need, to consider and search for more information from inside and outside the shops to support their decisions. Until they have accumulated enough data to decide or intend to buy. After purchasing, consumers will gain experience through using and finding more information about the products. They will also pass information onto and recommend other consumers. These advices would be as supporting data for decision making or as a trigger igniting other consumers to feel the need to obtain retro cameras. Results from this study indicate that exposure to nostalgic stories relates to Gerenation Z decision journey on retro camera. An exposure to nostalgic stories is a stimulus leading to nostalgia of Generation Z. Nostalgia and familiarity with vintage photos, retro cameras or old movies cause a demand in decision journey of retro cameras purchasing. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.427 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | พฤติกรรมผู้บริโภค | - |
dc.subject | กล้องถ่ายรูป | - |
dc.subject | เจนเนอเรชันแซด | - |
dc.subject | Consumer behavior | - |
dc.subject | Cameras | - |
dc.subject | Generation Z | - |
dc.title | การเปิดรับเรื่องเล่าอดีตและเส้นทางการตัดสินใจซื้อกล้องถ่ายภาพย้อนยุคของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซด | - |
dc.title.alternative | EXPOSURE TO NOSTALGIC STORIES AND CONSUMER DECISION JOURNEY OF GENERATION Z ON RETRO CAMERA | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Phnom.K@Chula.ac.th,phnom.k@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.427 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5884652128.pdf | 5.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.