Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5577
Title: | เนื้อหาการเมืองในหนังสือพิมพ์รายวัน |
Other Titles: | Analysis of political news content in daily newspapers |
Authors: | มัทนา เจริญวงศ์ |
Advisors: | เสถียร เชยประทับ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | satien.c@chula.ac.th |
Subjects: | ข่าวหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์ การวิเคราะห์เนื้อหา หนังสือพิมพ์กับการเมือง สื่อมวลชน -- แง่การเมือง การสื่อสารทางการเมือง |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาการเสนอเนื้อหาการเมืองประเภทต่างๆ และเปรียบเทียบปริมาณเนื้อหาที่เน้นตัวบุคคลและเนื้อหาที่เน้นนโยบาย ข่าวการเมืองเชิงตีความกับข่าวการเมืองเชิงเป็นกลางเนื้อหาการเมืองเชิงเร้าอารมณ์กับเนื้อหาการเมืองเชิงพัฒนา และเนื้อหาการเมืองทิศทางบวกกับเนื้อหาการเมืองทิศทางลบของหนังสือพิมพ์แต่ละชื่อฉบับและของหนังสือพิมพ์แต่ละประเภท ใช้วิธีการศึกษาแบบวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดกรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยหนังสือพิมพ์มติชน ไทยโพสต์ ไทยรัฐ เดลินิวส์ จำนวน 184 ฉบับ และกรณีศึกษาเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละและไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า หนังสือพิมพ์เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับรัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในทางโจมตีมากกว่าสนับสนุน เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับข้าราชการและองค์กรหรือบุคคลทางการเมืองอื่นๆ ในทางสนับสนุนมากกว่าโจมตี เสนอเนื้อหาที่เน้นตัวบุคคลมากกว่านโยบาย เสนอข่าวการเมืองเชิงตีความมากกว่าข่าวการเมืองเชิงเป็นกลาง เสนอเนื้อหาการเมืองเชิงเร้าอารมณ์มากกว่าเนื้อหาการเมืองเชิงพัฒนา และเสนอเนื้อหาการเมืองทิศทางลบมากกว่าทิศทางบวก เมื่อจำแนกตามประเภทหนังสือพิมพ์พบว่าหนังสือพิมพ์ปริมาณเสนอเนื้อหาที่เน้นตัวบุคคล เนื้อหาการเมืองเชิงเร้าอารมณ์ ข่าวการเมืองเชิงตีความ เนื้อหาการเมืองทิศทางบวกมากกว่าหนังสือพิมพ์คุณภาพ ส่วนกรณีศึกษา พบว่าเนื้อหาการอภิปรายไม่ไว้วางใจของหนังสือพิมพ์ทั้ง 4 ชื่อฉบับ มีความคล้ายคลึงกัน คือ สนใจประเด็นที่มีความเร้าอารมณ์ เน้นตัวบุคคลมากกว่านโยบาย ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ทางการเมือง ใช้โครงสร้างการรายงานข่าวแบบละคร มีความเห็นผู้สื่อข่าวปนในเนื้อข่าวและใช้ผลสำรวจความเห็นประกอบการรายงานข่าว และใช้การสำรวจความคิดเห็นประกอบการรายงานข่าว |
Other Abstract: | Investigates different political news contents. Contents relating to individual matters of politicians and those dealt with policy, interpretative and neutral contents, human interest and development news, positive and negative stories of each individual and types of newspapers were compared. Content analysis and case study were the techniques used in the study. 184 issues of four different newspapers, the Matichon, ThaiPost, ThaiRath, DailyNews, were randomly selected. The coverage of government censure debate was the case study explored. Chi-square was the main statistics used to test the hypotheses. The results of each individual newspaper studied showed that there were: - More attacking rather than supporting contents in the news relating to government and members of parliament. - More contents about individual and personalized of politicians than policy. - More interpretative contents than human interest contents. - More negative than positive contents. The study also revealed that quantity newspapers contained more individual-personalized, human interest and positive contents than quality newspapers. The above findings were, by and large, confirmed by the result of the case study. Besides, the case study found that these newspapers put special emphasis on news relating to political strategies and polling. Dramatization of news and tampering news with reporters' opinion was widespread in these newspapers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การหนังสือพิมพ์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5577 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.273 |
ISBN: | 9741311605 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.273 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
MatanaCharoen.pdf | 1.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.