Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55785
Title: การกระจายตัวของความเร็วคลื่นเฉือนระดับตื้น บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Near surface shear-wave velocity distributions in Amphoe Muang Changwat Chiang Mai
Authors: ภิรายุ สุริชัยพาณิชย์
Advisors: ฐานบ ธิติมากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: thanop.t@chula.ac.th
Subjects: คลื่นเฉือน
การออกแบบต้านทานแผ่นดินไหว
การออกแบบต้านทานแผ่นดินไหว -- ไทย
การออกแบบต้านทานแผ่นดินไหว -- ไทย -- เชียงใหม่
วิศวกรรมแผ่นดินไหว
วิศวกรรมแผ่นดินไหว -- ไทย
วิศวกรรมแผ่นดินไหว -- ไทย -- เชียงใหม่
Shear waves
Earthquake resistant design
Earthquake resistant design -- Thailand
Earthquake resistant design -- Thailand -- Chiang Mai
Earthquake engineering
Earthquake engineering -- Thailand
Earthquake engineering -- Thailand -- Chiang Mai
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความเร็วคลื่นเฉือน (Shear-wave Velocity) บริเวณผิวดินเป็นตัวแปรหนึ่งที่สำคัญสำหรับวิศวกรรมธรณีแผ่นดินไหวในการออกแบบรากฐานโครงสร้างทางวิศวกรรมในบริเวณเสี่ยงภัยของแผ่นดินไหว หนึ่งในบริเวณดังกล่าวคือพื้นที่ศึกษาในบริเวณอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ความเร็วคลื่นเฉือนของดินสามารถทำการวัดได้หลายวิธีทั้งในสนามและในห้องปฏิบัติการซึ่งใช้ เวลานานและมีค่าใช้จ่ายที่สูง ปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาวิธีการวัดค่าความเร็วคลื่นเฉือนในสนามที่มีราคา ถูกและสามารถทำได้รวดเร็ว วิธีนี้เรียกว่า การสำรวจคลื่นไหวสะเทือนผิวดินแบบหลายช่องรับสัญญาณ (Multi-channel Analysis of Surface Wave (MASW)) ซึ่งมีทั้งหมด 44 จุด ในพื้นที่ศึกษา นอกจากนี้ยังคำนวณค่าความเร็วคลื่นเฉือนเฉลี่ยที่ระดับความลึก 30 เมตร (Vs(₃₀)) สำหรับกำหนดประเภทของความเร็วคลื่นเฉือนซึ่งเป็นพื้นฐานของข้อกำหนด NEHRP ปี ค.ศ.1997 (National Earthquake Hazards Reduction Program) ในการทำแผนที่จำแนกดินในพื้นที่ศึกษา โดยค่า Vs(30) ส่วนใหญ่ของพื้นที่อยู่ในประเภท D มีค่าเฉลี่ยที่ 298 เมตรต่อวินาที นอกจากนี้บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่ซึ่งดินส่วนใหญ่เป็นตะกอนเชิงเขาประกอบกับตะกอนแม่น้ำบางส่วน มีค่า Vs(₃₀) มากกว่า 360 เมตรต่อวินาที ดินบริเวณนี้จึงจัดอยู่ในประเภท C จากการแนะนำโดย NEHRP ดินที่มีความเร็วคลื่นเฉือนต่ำมีการขยายการสั่นสะเทือนจากการเกิดแผ่นดินไหวมากกว่าดินที่มีความเร็วคลื่นเฉือนสูง ดังนั้นผลจากการศึกษาบอกเป็นนัยว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นที่ศึกษามีคุณสมบัติขยายการสั่นสะเทือน
Other Abstract: The shear wave velocity (Vs) of near surface soil is very important parameter in geotechnical earthquake engineering design. To get the Vs profile of soil, it generally acquires additional data obtained from borehole technique which is very expensive and time consuming. In this study, the Vs profile is carried out using the Multichannel Analysis of Surface Wave (MASW) on 44 sites in Amphoe Muang, Changwat Chiang Mai. Moreover, the weighted average Vs down to 30 meters (Vs(₃₀) was calculated for each site. Site class was then assigned to each MASW sites based on the recommendations of the 1997 National Earthquake Hazards Reduction Program (NEHRP) provisions to develop the site classification map of the study area. Based on the Vs(30) the major part of the study area are predominantly classified as site class “D” with the average Vs(₃₀) of 298 m/s. Likewise, those sites located in the northwestern part of the area which are generally colluvial and some part of alluvial deposits have Vs(30) greater than 360 m/s; therefore site class “C” has been assigned to them. As recommended by NEHRP, the soils with the lower shear-wave velocity values will experience more earthquake ground shaking than those of the bedrock due to the wave amplifying properties of the soil. Hence, the results of this study implied that the major part of the study area may experience a substantial ground shaking due to amplification of the soft soils.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2552
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55785
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pirayu_final report.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.