Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55947
Title: การพัฒนาแบบวัดอภิปัญญา สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Development of a metacognition test for lower secondary school students
Authors: ยุทธการ สืบแก้ว
Advisors: ศิริชัย กาญจนวาสี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sirichai.K@Chula.ac.th
Subjects: เมตาคอคนิชัน
การวัดทางจิตวิทยา
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) พัฒนาแบบวัดอภิปัญญาสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (2) ตรวจสอบคุณภาพ ของแบบวัดอภิปัญญา (3) ประเมินระดับอภิปัญยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น พร้อมสร้างเกณฑ์ปกติวิสัยระดับชาติ (National Norms) และเกณฑ์ปกติวิสัยระดับท้องถิ่น (Local Norms) ของแบบวัดอภิปัญญา สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ชั้นปีที่ 1-3 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2551 จำนวน 1,440 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดอภิปัญญา สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น มีรูปแบบการตอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก วิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ ค่าพารามิเตอร์ความชันร่วมของข้อคำถามค่าพารามิเตอร์ Threshold ของแต่ละรายการคำตอบ ค่าความตรงและความเที่ยง โดยใช้โปรแกรม MULTILOG โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองด้วยโปรแกรม LISRREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการพัฒนาแบบวัดอภิปัญญา สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า ได้แบบวัด อภิปัญญา แบบปรนัย 4 ตัวเลือก ทั้งฉบับ จำนวน 29 ข้อ โดยวัด 7 องค์ประกอบของอภิปัญญา คือ (1) ความรู้ด้านบุคคล (2) ความรู้ด้านงาน (3) ความรู้ด้านกลวิธี (4) การประเมินเพื่อตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น (5) การวางแผน (6) การกำกับตนเองและ (7) การประเมินผลลัพธ์ 2. ผลการวิเคราะห์คุณภาพรายข้อแบบวัดอภิปัญญาตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ พบว่า มีค่าพารามิเตอร์ความชันร่วมของข้อคำถาม [alpha] อยู่ระหว่าง 0.31 ถึง 5.94 และค่าพารามิเตอร์ Threshold ของแต่ละรายการคำตอบ เป็นค่าที่เรียงลำดับ [beta][subscript 3] > [beta][subscript 2] > [beta][subscript 1] และกระจายครอบคลุมช่วงของ (theta) ได้พอสมควร แสดงว่า ผู้ที่มีความสามารถ (theta) ในระดับสูง จึงจะมีโอกาสที่จะตอบได้คะแนนสูงและค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาท เท่ากับ 0.736 3. ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลแบบวัด โดยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม LISRREL พบว่า โมเดลแบบวัดอภิปัญญา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ คือ มีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 18.80 ที่องศาอิสระเท่ากับ 14 มีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.17 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) และดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) เท่ากับ 1.00 และ 0.99 และดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของเศษ (RMR) เท่ากับ 0.017 4. คะแนนปกติวิสัย (National Norms) ของแบบวัดอภิปัญญา อยู่ในช่วง T21-T89 นักเรียนที่มีคะแนน อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่า T65 เป็นคะแนนที่ดีมาก และนักเรียนที่มีคะแนนอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่า T35 ถือว่าอยู่ในกลุ่มที่ควรได้รับการพัฒนาส่งเสริม
Other Abstract: The purposes of this research were (1) to develop a matacognition test for lower secondary school students. (2) to investigate a quality of a matacognition test (3) to construct national norms and local norms from a matacognition test. The simple consisted of 1440 lower secondary school students. The research instrument is a matacognition test in multiple choice test form. Data were analyzed items analysis; level difficulty, discrimination power, reliability coefficient through MULTILOG, SPSS and confirmatory factor analysis through LISRREL. Major results of the study were as follow: 1. The developing of a matacognition test for lower secondary school students is 29 multiple choice items 7 factors consisted (1) self knowledge (2) cognitive task (3) strategic knowledge (4) provaluation (5) planning (6) monitoring and (7) evaluation 2. The items analysis of the scale by the item response theory showed in matacognition test providing discrimination parameter in the ranged of 0.31-5.94, Threshold parameter of each the list to be the arrange [beta][subscript 3] > [beta][subscript 2] > [beta][subscript 1] and spread cover of ability so, who have the ability in high-level will likely to answer get tall points and Cronbach's alpha reliability coefficient of 0.736. 3. The construct validity was confirmed by using the second order confirmatory factor analysis through LISREL.The results indicated a matacognition test model, metacognition knowledge model and Metacognition experience model were fit to the empirical data. The model provided the chi-square statistics 18.80, the degree of freedom of 14, the probability of 0.17, GFI and AGFI of 1.00 and 0.99, RMR of 0.017. 4. The National Norms were the starting at T21-T89, a student who have the points more T65 be excellent points and a student who have the points lowers T35 will be regarded as stay in the group that should have to develop encourage.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55947
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.438
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.438
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
yutthakarn_su_front.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
yutthakarn_su_ch1.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
yutthakarn_su_ch2.pdf10.64 MBAdobe PDFView/Open
yutthakarn_su_ch3.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
yutthakarn_su_ch4.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
yutthakarn_su_ch5.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
yutthakarn_su_back.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.