Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55985
Title: การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และความคงทนของการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่มีการทดสอบย่อยทุกสัปดาห์ กับกลุ่มที่มีการทดสอบย่อยทุกบทเรียน
Other Titles: Comparison of mathematics learning achievement and retention of mathayom suksa two students-between the group taking weekly formative test and the group taking unit test
Authors: วุฒิชัย ศรีวสุธากุล
Advisors: ยุพิน พิพิธกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ความจำ
Academic achievement
Mathematics -- Study and teaching (Secondary)
Memory
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และความคงทนของการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง ระหว่างกลุ่มที่มีการทดสอบย่อยทุกสัปดาห์กับกลุ่มที่มีการทดสอบย่อยทุกบทเรียน การดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มที่เรียนโดยการทดสอบย่อยทุกสัปดาห์เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มที่เรียนโดยมีการทดสอบย่อยทุกบทเรียนเป็นกลุ่มควบคุม แต่ละกลุ่มมีจำนวนนักเรียน 34 คน ผู้วิจัยนำคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (ค 203) ของทั้งสองกลุ่มมาทดสอบภาวะแห่งความแปรปรวน (F-test) และทดสอบค่าที (t-test) ปรากฎว่านักเรียนทั้งสองกลุ่มมีพื้นฐานการเรียนคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งสร้างขึ้นโดยผู้วิจัยมีดังนี้คือ บันทึกการสอนเรื่อง “สมการและอสมการ” “อัตราส่วนและร้อยละ” “ปริมาตรและพื้นที่ผิว” “การนำเสนอข้อมูล” นอกจากนั้นได้สร้างแบบทดสอบย่อยประจำสัปดาห์ ซึ่งสร้างตามจุดประสงค์การเรียนรู้แบ่งเป็น 10 ฉบับ มีค่าความเที่ยงเป็น 0.87, 0.91, 0.87, 0.86, 0.83, 0.64, 0.69, 0.60, 0.73, 0.61 ตามลำดับ และแบบทดสอบย่อยประจำบทเรียน ซึ่งสร้างตามจุดประสงค์การเรียนรู้ แบ่งเป็น 4 ฉบับ มีค่าความเที่ยงเป็น 0.94, 0.61, 0.81, 0.85 ตามลำดับ และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาตร์ ซึ่งสร้างตามจุดประสงค์การเรียนรู้ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.88 ผู้วิจัยดำเนินการสอนทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้เวลาเท่ากัน คือ 40 คาบ ๆ ละ 50 นาที หลังจากเรียนจบในแต่ละสัปดาห์ให้กลุ่มทดลองทำการทดสอบย่อยประจำสัปดาห์ รวม 10 ครั้งส่วนกลุ่มควบคุมจะทำการทดสอบย่อยประจำบทเรียนหลังจากที่เรียนจบใหม่ในแต่ละบท รวม 4 ครั้ง เมื่อจบบทเรียนทั้งหมดแล้วให้ทั้งสองกลุ่มทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแล้วนำคะแนนมาหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test) หลังจากทั้งสองกลุ่มทดสอบไปแล้ว 2 สัปดาห์ จึงทดสอบความคงทนของการเรียนรู้ของทั้งสองกลุ่ม โดยใช้แบบทดสอบชุดเดิม แล้วนำผลมาวิเคราะห์หาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัย 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของกลุ่มที่มีการทดสอบย่อยทุกสัปดาห์ไม่สูงกว่ากลุ่มที่มีการทดสอบย่อยทุกบทเรียนที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 ซี่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2. ความคงทนของการเรียนรู้ของกลุ่มที่มีการทดสอบย่อยทุกสัปดาห์สูงกว่ากลุ่มที่มีการทดสอบย่อยทุกบทเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
Other Abstract: Purposes The purposes of this research were to compare mathematics learning achievement and the retention of mathayom suksa two students between the group taking weekly formative test and the group taking unit test. Procedures The sample were two groups of mathayom suksa two students of Wimuthayarampithayakorn School. The group learned by taking weekly formative test was the experimental group and the group learned by taking unit formative test was the controlled group. Each group consisted of 34 students. The mathematics learning achievement (M 203) of both groups was tested by using F-test and t-test. It revealed that the mathematics learning background of both groups was not different at the 0.05 level of significance. The research instruments constructed by the researcher were as follows : the lesson plans on “Equation and Inequality”, “Ratio and Percent”, “Volume and Surface Area” and “Presentation of Data” ; ten weekly formative tests constructed according to leaning objectives with the reliabilities of 0.87, 0.91, 0.87, 0.86, 0.83, 0.64, 0.69, 0.60, 0.73, 0.61 respectively; four unit formative tests constructed according to learning objectives with the reliabilities of 0.94, 0.61, 0.81, 0.85 respectively; and the mathematics learning achievement test with the reliability of 0.88. The lesson plans were administered to the experimental group and the controlled group. The total time was forty periods, fifty minutes each. After the experimental group had already studied each week, a weekly formative test was administered to the students, ten times altogether. After the controlled group had already studied each unit, a unit formative test was administered to the students, four times altogether. After the experimental group and the controlled group studied all topics, the mathematics learning achievement test (M 204) was administered to both groups. The data were analyzed by means of arithmetic mean, standard deviation and t-test After both groups were tested for two weeks, the researcher tested the retention of both groups by using the same test. Then the data were analyzed by means of arithmetic mean, standard deviation and t-test. Results 1. The mathematics learning achievement of mathayom suksa two students of the group taking weekly formative test was not higher than the group taking unit formative test at the 0.05 level of significance which rejected the hypothesis. 2. The retention of the group taking weekly formative test was higher than the group taking unit formative test at the 0.05 level of significance which retained the hypothesis.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55985
ISBN: 9745677442
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wudhichai_sr_front.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Wudhichai_sr_ch1.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Wudhichai_sr_ch2.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Wudhichai_sr_ch3.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Wudhichai_sr_ch4.pdf829.78 kBAdobe PDFView/Open
Wudhichai_sr_ch5.pdf695.13 kBAdobe PDFView/Open
Wudhichai_sr_back.pdf20.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.