Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55995
Title: การใช้ทักษะกระบวนการในการสอนของครู กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ใน โรงเรียนร่วมพัฒนาการใช้หลักสูตร/เขตการศึกษา 5
Other Titles: Implementation of process skills in instruction of teachers in the life experiences area in the curriculum development co-ordinating schools, educatiional region five
Authors: สมคิด อยู่แก้ว
Advisors: แรมสมร อยู่สถาพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Ramsamorn.y@chula.ac.th
Subjects: กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
ประสบการณ์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การวางแผนหลักสูตร
การสอน
Experience -- Study and teaching (Primary)
Curriculum planning
Teaching
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการในการสอน การใช้ทักษะกระบวนการในการสอน และปัญหาการใช้ทักษะกระบวนการในการสอนของครูกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนร่วมพัฒนาการใช้หลักสูตร เขตการศึกษา 5 ประชากรซึ่งเป็นตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนร่วมพัฒนการใช้หลักสูตร จำนวน 27 คน ครูผู้สอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 27 คน และตัวอย่างประชากรที่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 27 ห้องเรียน รวมทั้งตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการสังเกตการสอนคือครูผู้สอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบทดสอบ 2) แบบสังเกต 3) แบบสอบถาม ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า 1) ในด้านความรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการในการสอนของครูกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี ครูแสวงหาความรู้โดยการศึกษาค้นคว้าหนังสือ และเอกสารเกี่ยวกับทักษะกระบวนการ จากกรมวิชาการด้วยตนเอง 2) ในด้านการใช้ทักษะกระบวนการในการสอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครูผู้สอนส่วนมากใช้เทคนิควิธีสอนโดยการใช้คำถามและการสอนด้วยกระบวนการกลุ่ม การใช้ทักษะกระบวนการในการสอนแต่ละขั้น ครูผู้สอนทั้งหมด ใช้ทักษะกระบวนการในการสอนขั้นที่ 1 ตระหนักในปัญหาและความจำเป็น แลขั้นที่ 6 การปฏิบัติด้วยความชื่นชมทุกครั้งในการสอน และปฏิบัติในขั้นที่ 4 การประเมินและตัดสินใจเลือกทางเลือกน้อยที่สุด สำหรับพฤติกรรมการใช้ทักษะกระบวนการในการสอนครบกระบวนการทั้ง 9 ขั้นนั้น ครูผู้สอนส่วนมากไม่สามารถใช้ทักษะกระบวนการในการสอนได้ครบกระบวนการในแต่ละครั้งของการสอน หรือในแต่ละ 1 หน่วยย่อยของการเรียน แต่สามารถสอนได้ครบกระบวนการเมื่อจบ 1 หน่วยการเรียน 3) ในด้านปัญหาการใช้ทักษะกระบวนการในกรสอนของครูกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลางทั้งสิ้น เช่น ปัญหาที่ครูผู้สอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขาดโอกาสในการเข้าร่วมการอบรม สัมมนาเกี่ยวกับการใช้ทักษะกระบวนการในการสอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณชีวิตโดยตรง เอกสารความรู้เกี่ยวกับการใช้ทักษะกระบวนการในการสอนที่ได้รับจากกรมวิชาการไม่เพียงพอ และสื่อที่ใช้ประกอบการใช้ทักษะกระบวนการในการสอนไม่เพียงพอ
Other Abstract: This research aims to study process skills in teaching, their implementation and problems of Prathom Suksa five teachers who teach the Life Experiences Area subject in the curriculum development co-ordinating schools in Educational Region five. The research population consists of twenty-seven school administrators, and teachers in the area of the Life Experiences including selected twenty-seven classes of Prathom Suksa five students as well as six selected teachers for understudying in this area. The research itself has been carried out through (1) a test (2) an observation form and (3) questionnaires. The results of the research are as follows: 1) The Prathom Suksa five teachers who instruct the subjects in this area have sufficient knowledge of the process skills in teaching by acquiring from books and documents of the Academic Division. 2) In terms of the implementation of process skills in teaching, most of the Prathom Suksa five teachers use the techniques of asking questions and group process techniques. Of the nine stages in the process skills in teaching, all the teachers use the first stage.. realizing the problems and their importance for studying and the sixth stage.. teaching with pleasure. The fourth stage.. evaluation and decision-making .. is rarely used. Most of the teachers are unable to apply all the nine stages to one teaching period. Nor can they do so in each segmental unit. Yet, they can make use of the nine stages after they have finished teaching one whole study unit. 3) As for problems arising from the implementation of process skills in teaching faced by the Prathom Suksa five teachers, it is found that all of the problems are at the moderate level. They are, for example, teachers’ lack of an opportunity to take part in seminars or workshops o the implementation of process skills in teaching, and inadequate supplies of books and documents from the Academic Division.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55995
ISBN: 9745797464
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somkid_yo_front.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Somkid_yo_ch1.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Somkid_yo_ch2.pdf6.22 MBAdobe PDFView/Open
Somkid_yo_ch3.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Somkid_yo_ch4.pdf9.26 MBAdobe PDFView/Open
Somkid_yo_ch5.pdf4.21 MBAdobe PDFView/Open
Somkid_yo_back.pdf7.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.