Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55997
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธีสตอรี่ไลน์ เพื่อสร้างค่านิยมด้านความพอประมาณตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: The development of a web-based instructional model using storyline method for a social study subject to develop the value of moderation in the sufficiency economy philosophy for grade nine students
Authors: ศรีวิมล สุรสันติวรการ
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Onjaree.N@Chula.ac.th
Subjects: เศรษฐกิจพอเพียง
ค่านิยมสังคม
สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
Sufficiency economy
Social values
Social studies -- Study and teaching
Web-based instruction
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เกี่ยวกับการเรียนการสอนบนเว็บวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธีสตอรี่ไลน์ เพื่อสร้างค่านิยมด้านความพอประมาณตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเรียนการสอนบนเว็บวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธี สตอรี่ไลน์ เพื่อสร้างค่านิยมด้านความพอประมาณตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษา ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธีสตอรี่ไลน์ ที่มีต่อค่านิยมด้านความพอประมาณตามปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) นำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธี สตอรี่ไลน์เพื่อสร้างค่านิยมด้านความพอประมาณตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 405 คน ที่ศึกษาอยู่ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2550 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 135 โรงเรียน อาจารย์ที่สอนวิชาสังคมศึกษา จำนวน 400 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนบนเว็บ ด้านการเรียนการสอนด้วยวิธีสตอรี่ไลน์ และด้านการสร้างค่านิยมด้านความ พอประมาณตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 9 คน และ 2) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ที่ลงทะเบียนวิชาสังคมศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 35 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. อาจารย์ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความคิดเห็นว่า ในการปฐมนิเทศ ผู้สอนควรแนะนำขั้นตอนการเรียนการ สอนพร้อมสาธิต ผู้สอนควรใช้ห้องสนทนาเป็นช่องทางในการสื่อสารเพื่อตั้งคำถามหลัก การอภิปราย แสดงความคิดเห็น การทำ กิจกรรมบนเว็บ ควรให้ผู้เรียนทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อระดมสมองถึงความสำคัญของค่านิยม วิธีการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดศรัทธา และ ตระหนักถึงความสำคัญของค่านิยมควรตั้งคำถามกระตุ้นความคิดของผู้เรียนโดยสอดแทรกเรื่องค่านิยมในบทเรียนแต่ละตอน ควร สอนเรื่องการประหยัดและการออมมากที่สุด โดยยกตัวอย่างที่น่าสนใจและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และวิธีการประเมิน ควรใช้การวัดพฤติกรรมการปฏิบัติตน 2. ผู้เชี่ยวชาญ มีความคิดเห็นว่า การนำเข้าสู่บทเรียนควรใช้การตั้งคำถาม การนำเสนอความรู้ใหม่ควรมีการผูกเรื่อง และ ดำเนินเรื่องเรียงตามองค์ประกอบของสตอรี่ไลน์โดยสอดแทรกการสร้างค่านิยมด้านความพอประมาณ การสอนให้ผู้เรียนเกิดค่านิยม ควรใช้คำถามให้เกิดการคิดวิเคราะห์ กิจกรรมกลุ่มที่ช่วยให้เกิดค่านิยมคือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และวิธีที่จะนำความรู้ไป ประยุกต์ในชีวิตประจำวันคือมีปัญหาหรือสถานการณ์เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและยอมรับค่านิยมนั้นๆ 3. กลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธีสตอรี่ไลน์ที่ผู้วิจัยพัฒนา มีคะแนน ค่านิยมด้านความพอประมาณตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. รูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บวิชาสังคมศึกษาด้วยวิธีสตอรี่ไลน์ เพื่อสร้างค่านิยมด้านความพอประมาณตามปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นปฐมนิเทศผู้เรียน 2) ขั้นวัดค่านิยมด้าน ความพอประมาณตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก่อนการเรียน 3) ขั้นทบทวนความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียน 4) ขั้นนำ เสนอบทเรียนตามเส้นทางการดำเนินเรื่องตามองค์ประกอบของสตอรี่ไลน์ ได้แก่ ฉากและตัวละคร (สร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นตาม ค่านิยมที่จะปลูกฝัง) การดำเนินชีวิตของตัวละคร หรือวิถีชีวิต (ให้ความรู้ ความคิดรวบยอดในค่านิยม) มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น หรือมีปัญหาที่ต้องแก้ไข (ให้คิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และทำความกระจ่างตนเองในค่านิยม) 5) ขั้นการให้คำแนะนำ วิเคราะห์ผลงาน และแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ (ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามค่านิยม) 6) ขั้นการสรุป และนำไปใช้ (ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตาม ค่านิยม) 7) ขั้นประเมินผลเพื่อวัดค่านิยมด้านความพอประมาณหลังเรียน
Other Abstract: The specific purposes of this research were 1) to study the opinions of social study teachers and grade nine students about web-based instruction using storyline method for a social study subject to develop the value of moderation in the sufficiency economy philosophy for grade nine students 2) to study the opinions of experts concerning the web-based instructional model using storyline method for a social study subject to develop the value of moderation in the sufficiency economy philosophy for grade nine students 3) to study the implementation of web-based instructional model using storyline method on a social study subject to develop the value of moderation in the sufficiency economy philosophy of grade nine students and 4) to propose the web-based instructional model using storyline method for a social study subject to develop the value of moderation in the sufficiency economy philosophy for grade nine students. The samples of this research consisted of 1) 405 grade nine students who studied in the second semester of 2007 academic year in 135 schools under the Office of The Basic Education Commission, 400 social study teachers and nine experts specialize in web-based instructional design, storyline method and the development of the value of moderation in sufficiency economy philosophy and 2) 35 grade nine students at Chulalongkorn University Demonstration Secondary School who studied social study subject in the first semester of 2008 academic year. The research study revealed that : 1. The social study teachers and grade nine students agreed that during the orientation period: instructors should describe and demonstrate the process of web-based instruction; use chat room for posting main query, debates, comments and web activities; use group activities assignment for brainstorming to develop personal value; use questions in each lesson to motivate students thinking about the value and encourage their believes and value awareness; instruct students how to economize and saving using interested applicable examples; and assess students by measuring self conduct. 2. The experts agreed that: question should be used for introduction; present new knowledge using a story and storyline process with the value of moderation; use question to make critical thinking for value development; use group activities assignment for exchanging ideas; and use problem or incident for value awareness and acceptance to daily life implementation. 3. It was found that the subjects learned from the web-based instructional model using storyline method developed by the researcher had statistically significant at .05 level post-test scores on value of moderation in the sufficiency economy philosophy higher than pre-test scores. 4. The web-based instructional model using storyline method for a social study subject to develop the value of moderation in the sufficiency economy philosophy for grade nine students consists of seven steps : 1) the lesson orientation 2) pre-test on the value of moderation in the sufficiency economy philosophy 3) the recall of previous knowledge 4) the lesson presentation follows by storyline process consisted of scene and character (to create the faith of the value), a way of life and event (to present knowledge and value concept), incident or real problems to be solved (to analyze, to make decision and to clarify personal value) 5) providing guidance, feedback, analyze assignment and the way for application (to encourage and to perform based on the value) 6) summarize and implement knowledge (to encourage and to perform based on the value), and 7) post-test on the value of moderation in the sufficiency economy philosophy.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55997
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1187
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1187
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
srivimon_su_front.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open
srivimon_su_ch1.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open
srivimon_su_ch2.pdf12.96 MBAdobe PDFView/Open
srivimon_su_ch3.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open
srivimon_su_ch4.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open
srivimon_su_ch5.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open
srivimon_su_ch6.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open
srivimon_su_back.pdf10.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.