Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55999
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorก่องแก้ว เจริญอักษร-
dc.contributor.authorศาสตร์ จิตนะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2017-11-20T09:08:01Z-
dc.date.available2017-11-20T09:08:01Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.isbn9745645052-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55999-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาประเภทของสื่อมวลชน และลักษณะการใช้สื่อมวลชนที่ครูอาจารย์และนักเรียน ใช้ในการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตการศึกษา 9 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูอาจารย์และนักเรียนเกี่ยวกับการใช้สื่อมวลชนในการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ในด้านต่อไปนี้ 2.1 ประโยชน์จากเนื้อหาสาระของสื่อมวลชน 2.2 ปัญหาและอุปสรรค ของการใช้สื่อมวลชน ในการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของครูอาจารย์ และนักเรียน ในการใช้สื่อมวลชนในการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา วิธีการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถาม 1 ชุด เพื่อใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากร ซึ่งเป็นครูอาจารย์ และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนรัฐบาล 10 แห่ง ในเขตการศึกษา 9 จำนวนครูอาจารย์ 80 คน และนักเรียน 400 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ โดยหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ พบว่า 1. ครูอาจารย์ และนักเรียน เคยใช้สื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ ในการเรียน การสอน และครูอาจารย์เกือบทั้งหมดเคยใช้สิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนังสือพิมพ์ ครูอาจารย์ และนักเรียน เห็นว่า ครูอาจารย์สังคมศึกษา ได้เคยใช้สื่อมวลชนแต่ละประเภทในลักษณะต่าง ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับนาน ๆครั้ง 2. ครูอาจารย์ และนักเรียน เห็นว่า ได้รับประโยชน์อยู่ในระดับมากจากเนื้อหาสาระของสื่อมวลชนทุกประเภท โดยเฉพาะ วิทยุ โทรทัศน์ แถบบันทึกภาพ ภาพยนต์ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารต่าง ๆ ซึ่งได้ให้ความรู้ทางวิชาการ รายการข่าว และสารคดต่างๆ 3. ครูอาจารย์ และนักเรียน เห็นว่า เนื้อหาสาระของสื่อมวลชนเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก แก่ครูอาจารย์ และนักเรียน และการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาทุกวิชา 4. ครูอาจารย์ และนักเรียน เห็นว่า การใช้สื่อมวลชนในการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ส่วนใหญ่มีปัญหาและอุปสรรคอยู่ในระดับปานกลาง 5. ครูอาจารย์ และนักเรียน ได้เสนอแนะให้สื่อมวลชนนำเสนอข้อมูลที่เป็นความรู้ทางวิชาการต่าง ๆ ให้มากขึ้น ให้มีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ค่านิยมที่ดีของสังคม ส่งเสริมจริยธรรม วัฒนธรรมที่ดีงาม และให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้en_US
dc.description.abstractalternativePurposes The purpose of the study were: 1. To study the types of mass media and how they were used by teachers and students for social studies instruction at the upper secondary education level in educational region nine. 2. To study the opinions of teachers and students on the following aspects: 2.1 The usage of content of mass media. 2.2 The problems and obstacles in using mass media for social studies instruction. 3. To study the suggestions of the teachers and the students in using mass media for social studies instruction. Procedures A questionnaire was constructed by the researcher and administered to 80 teachers and 400 students selected by stratified random technique from 10 government schools in educational region nine. The collected data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean and the standard deviation. Results: 1. The social studies teachers used various types of mass media for instruction and most of them used printing mass media especially newspapers. Both teachers and students indicated that social studies teachers seldom used most forms of mass media. 2. The teachers and the students indicated that all types of mass media were very useful and informative at the high level especially radios, televisions, videotapes, movies, newspapers, magazines and journals which provide content knowledge, news programme, and documentary series. 3. Both teachers and students indicated that content and information from mass media were very beneficial at high level for themselves and for social studies instruction. 4. Problems and obstacles in using mass media for social studies instruction were at average level. 5. Both teachers and students suggested that mass media present more content knowledge which help foster social values, ethics, culture for the use in daily life.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสื่อมวลชนกับการศึกษาen_US
dc.subjectสังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en_US
dc.subjectMass media in educationen_US
dc.subjectSocial sciences -- Study and teaching (Secondary)en_US
dc.titleการใช้สื่อมวลชน ในการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตการศึกษา 9en_US
dc.title.alternativeUse of mass media for social studies instruction at the upper secondary educaiton level in educational region nineen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sart_ji_front.pdf785.66 kBAdobe PDFView/Open
Sart_ji_ch1.pdf576.87 kBAdobe PDFView/Open
Sart_ji_ch2.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
Sart_ji_ch3.pdf429.79 kBAdobe PDFView/Open
Sart_ji_ch4.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
Sart_ji_ch5.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Sart_ji_back.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.