Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56041
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเยาวดี วิบูลย์ศรี-
dc.contributor.authorสุกัญญา เหลืองไชยยะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2017-11-21T08:05:20Z-
dc.date.available2017-11-21T08:05:20Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.isbn9746313169-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56041-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดเจตคติต่อคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโดยวิเคราะห์หาคุณภาพของแบบวัดตามวิธีการของมาตราส่วนประมาณค่าของแอนดริช ในด้านต่อไปนี้ คือ ด้านคุณภาพ ของข้อกระทง ด้านความตรงเชิงทฤษฏี (Construct Validity) ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion Related Vadility) และด้านความเที่ยง (Reliability) รวมทั้งหาเกณฑ์ปกติของแบบวัด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 520 คน และครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 13 คน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ของกรุงเทพมหานคร ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2535 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัด 2 ฉบับ ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น ฉบับแรกคือ มาตราส่วนประมาณค่าพฤติกรรมการเรียนที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้เป็นชุดเกณฑ์ในการหาความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ และอีกฉบับคือ แบบวัดเจตคติต่อคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งประกอบด้วยข้อกระทงจำนวน 40 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบวัดเจตคติต่อคอมพิวเตอร์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนา เมื่อทำการวิเคราะห์ตัวประกอบด้วยวิธีวิเคราะห์ตัวประกอบสำคัญ และหมุนแกนตัวประกอบออโธกอนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ พบว่าได้ตัวประกอบที่สำคัญของเจตคติต่อคอมพิวเตอร์จำนวน 6 ตัวประกอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสมมติฐานการวิจัย โดยเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อยดังนี้คือ (1) ความชอบ (2) ความมั่นใจ (3) ความวิตกกังวล (4) การยอมรับประโยชน์ (5) การไม่ยอมรับเทคโนโลยี และ (6) ความรับผิดชอบ โดยประกอบเหล่านี้สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 53.2 ของความแปรปรวนทั้งหมด 2. แบบวัดเจตคติต่อคอมพิวเตอร์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนา มีคุณภาพซึ่งวิเคราะห์ตามวิธีการของมาตราส่วนประมาณค่าของแอนดริช อยู่ในเกณฑ์ดี กล่าวคือ 2.1 แบบวัดเจตคติต่อคอมพิวเตอร์ฉบับนี้ ประกอบด้วยข้อกระทงที่มีคุณภาพเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้พิจารณาจากค่าความเหมาะสมของข้อกระทง พบว่ามีข้อกระทงที่เหมาะสมกับโมเดลถึง 36 ข้อ จากข้อกระทงทั้งหมด 40 ข้อ 2.2 แบบวัดเจตคติต่อคอมพิวเตอร์ฉบับนี้ มีความตรงเชิงทฤษฎีอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทั้งนี้พิจารณาจากร้อยละของข้อกระทงที่เหมาะสมกับโมเดล พบว่ามีข้อกระทงที่เหมาะสมกับโมเดลถึงร้อยละ 90 2.3 แบบวัดเจตคติต่อคอมพิวเตอร์ฉบับนี้ มีความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กับมาตราส่วนประมาณค่าพฤติกรรมการเรียนที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.5446) 2.4 แบบวัดเจตคติต่อคอมพิวเตอร์ฉบับนี้ มีความเที่ยงสูง ทั้งนี้พิจารณาจากค่าความเที่ยงของแบบวัดทั้งฉบับตามวิธีการของมาตราส่วนประมาณค่าของแอนดริช ซึ่งพบว่ามีค่าเท่ากับ .97 3. ได้เกณฑ์ปกติของแบบวัด แสดงไว้ในรูปเกณฑ์ปกติเปอร์เซ็นต์ไทล์en_US
dc.description.abstractalternativeThe main purpose of this study was to develop [an] attitude scale towards computer for the upper secondary school students. Analysing the scale quality by Andrich’s method in the following aspects: the quality of items, construct validity, criterion-related validity and reliability. The samples used were 520 Bangkok upper secondary school students and 13 Bangkok upper secondary school computers teachers in the second semester, 1992, under the Department of General Education, Ministry of Education. Two sets of research instruments were constructed by researcher: The Computer Learning Behavioral Rating Scales was used as a criterion for analysing criterion-related validity and The Attitude Scale Towards Computer For The Upper Secondary School Students consists of 40 items was developed. The research findings were as follows. 1. The factor analysis by the principal component method with the varimax rotation was used for data analysis. The results of factor analysis indentified 6 important factors appeared to be quite similar to the hypothesis: (1) liking, (2) confidence, (3) anxiety, (4) perception of usefulness, (5) rejection of technology and (6) responsibility. These factors accounted for 53.2% of total variance of The Upper Secondary Students Computer Attitude Scale. 2. It was found that the attitude scale has a high quality, in the following aspects: 2.1 The attitude scale consisted of the high quality items by determining from item fit value, 36 from 40 items fitting the model. 2.2 The construct validity is confirmed, there are 90% of its items fitting the model. 2.3 The criterion-related validity is moderate, it correlates significantly with The Computer Leaning Behavioral Rating Scales at p=.01 (r=.5446) 2.4 The reliability coefficient of the attitude scale is .97. 3. Norm of the Scale was shown in the Percentile Norm.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectทัศนคติ -- การวัดen_US
dc.subjectคอมพิวเตอร์ช่วยการสอน -- แง่จิตวิทยาen_US
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษา -- ทัศนคติen_US
dc.subjectปฏิสัมพันธ์มนุษย์-คอมพิวเตอร์ -- แง่จิตวิทยาen_US
dc.subjectAttitude (Psychology) -- Measurementen_US
dc.subjectComputer-assisted instruction -- Psychological aspectsen_US
dc.subjectHigh school students -- Attitudesen_US
dc.subjectHuman-computer interaction -- Psychological aspectsen_US
dc.subjectPsychological tests-
dc.subjectScaling (Social sciences)-
dc.subjectการทดสอบทางจิตวิทยา-
dc.subjectการสร้างมาตรวัด (สังคมศาสตร์)-
dc.titleการพัฒนาแบบวัดเจตคติต่อคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายen_US
dc.title.alternativeThe development of attitude scale towards computer for the upper secondary school studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukanya_lo_front.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_lo_ch1.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_lo_ch2.pdf6.65 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_lo_ch3.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_lo_ch4.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_lo_ch5.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_lo_back.pdf7.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.