Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56075
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Ratana Somrongthong | - |
dc.contributor.advisor | Phechnoy Singchungchai | - |
dc.contributor.advisor | Luechai Sringernyuang | - |
dc.contributor.author | Charuai Suwanbamrung | - |
dc.contributor.other | Chulalongkorn University. Graduate School | - |
dc.date.accessioned | 2017-11-22T08:10:50Z | - |
dc.date.available | 2017-11-22T08:10:50Z | - |
dc.date.issued | 2008 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56075 | - |
dc.description | Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2008 | en_US |
dc.description.abstract | Addressing the sustainability of community-based dengue prevention and control needs to require specific assessment tool, there are few studies have examined the dengue community capacity-assessment tools in Thai communities. The objectives of this study were development and testing tool and application of a new tool for defining practice guideline to assess community capacity of sustainable community-based dengue prevention and control. Conducting on Southern Thailand, there were three phases: The first phase was defining meaning and themes of dengue community capacity domains by qualitative method, 10 initial dengue community domains were identified, by means of the three experts reviews with content analysis from literature reviews, in-depth interviews with 60 leaders, and 8 focus group discussions with 60 non–leaders, in 4 sub-districts of the 4 provinces. The second phase was developing items and testing tool phase. It was divided into dengue community capacity for leaders and non-leaders. Content validity was verified by a seven-expert review panel, which arrived at a total Content Validity Index (CVI) of leaders (0.90) and non-leaders (0.91). The items were measured with a 5-point rating scale. During the pilot-testing, the Cronbach alpha reliability coefficient for the leaders was 0.98 and the non-leaders it was 0.97. Items were revised leaders items 182 and non-leaders items 167. The testing tools were administered to 964 leaders and 1,248 non-leaders, throughout 8 sub-districts of the 8 provinces. Construct validity was analyzed by Exploratory Factor Analysis (EFA). Factor loading was 0.5, the Eigenvalue was greater than 2, and all the domains together explained in leaders 57.58% and non-leaders 57.11 % of the variance. Finally, the third phase was the application of using tool used community participatory approach and conducted on a sub-district which a high incidence of dengue. The findings were Dengue Community Capacity-Assessment Tool (DCCAT) of leaders and non-leaders. Assessment tool of leaders was 115 items within 14 domains i.e. 1)critical situation management (9-item), 2)personal leadership (12-item), 3)health care provider capacity (8-item), 4)needs assessment (8-tiem), 5)senses of community (11-item), 6)leader group networking (11-item), 7)communication of dengue information (10-item), 8)community leadership (8-item), 9)religious leader capacity (9-item), 10)leader group and community networking (7-item), 11)resources mobilization (4-item), 12)dengue working group (6-item), 13)community participation (6-item), and 14)continuing activities (6-item). Assessment tool of non-leaders was 11 domains (83-item) i.e. 1)critical situation management (13-item), 2)personal leadership (8-item), 3)religious leader capacity (10-item), 4)community leadership (8-item), 5)health care provider capacity (6-item), 6)senses of community (8-item), 7)communication of dengue information (7-item), 8)continuing activities (6-item), 9)dengue working group (7-item), 10)resources mobilization (5-item), and 11)needs assessment (5-item). The practical guideline of DCCAT consisted of five steps: 1)community preparation, 2)assessment, 3)community consensus, 4)strategies plan and implementation and 5)re-assessment. The Dengue Leader Group (DLG) was a key team which conducted on the application of the tool. Health care workers, researchers, and local administrative organization officers served as a support team. All stakeholders in community should use the new tool based on understanding of the dengue community capacity concept, measurement objectives and outcomes, and context of community. If the communities need develop dengue community capacity building, the designed pre-post intervention assessments or serial assessments are essential. | en_US |
dc.description.abstractalternative | ความยั่งยืนของการใช้ชุมชนเป็นฐานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จำเป็นต้องมีเครื่องมือประเมินที่มีความเฉพาะ แต่ในประเทศไทยมีการศึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ประเมินความสามารถในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของชุมชนน้อยมาก ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ทดสอบ และนำเครื่องมือไปประยุกต์ใช้เพื่อกำหนดแนวทางในการประเมินความสามารถในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ใช้ชุมชนเป็นฐานอย่างยั่งยืน ดำเนินการศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ค้นหาความหมายและองค์ประกอบความสามารถของชุมชน โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้นำชุมชน 60 คน และสนทนากลุ่มจำนวน 8 กลุ่มที่ไม่ใช่ผู้นำชุมชน 60 คน จาก 4 ตำบลของ 4 จังหวัด วิเคราะห์เนื้อหาและตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน พบว่ามี 10 องค์ประกอบเบื้องต้นของความสามารถ ระยะที่ 2 ดำเนินการพัฒนาข้อคำถามและทดสอบเครื่องมือ โดยพัฒนาข้อคำถามที่แบ่งออกเป็นกลุ่มผู้นำชุมชน และกลุ่มที่ไม่ใช่ผู้นำชุมชน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน ค่าดัชนีความตรงเนื้อหาของกลุ่มผู้นำชุมชน 0.90 และกลุ่มที่ไม่ใช่ผู้นำชุมชน 0.91 กำหนดข้อคำถามเป็นมาตรวัดอัตราส่วน 5 ระดับ ทดสอบความเที่ยงข้อคำถามกับกลุ่มผู้นำชุมชน 60 คน โดยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาโดยรวม 0.98 และกลุ่มที่ไม่ใช่ผู้นำชุมชน 60 คน มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาโดยรวม 0.97 ปรับปรุงและตัดข้อคำถามในกลุ่มผู้นำชุมชนเหลือ 182 ข้อ และกลุ่มที่ไม่ไช่ผู้นำชุมชน เหลือ 167 ข้อ ทดสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบกับกลุ่มผู้นำชุมชน 964 คนและกลุ่มที่ไม่ใช่ผู้นำชุมชน 1,248 คนจาก 8 ตำบลของ 8 จังหวัด กำหนดค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากกว่า 0.5 ค่าไอเกนมากกว่า 2 โดยองค์ประกอบที่ได้ทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนความสามารถในกลุ่มผู้นำชุมชนได้ร้อยละ 57.58 และกลุ่มที่ไม่ใช่ผู้นำชุมชนร้อยละ 57.11 สุดท้าย ระยะที่ 3 ดำเนินการนำเครื่องมือไปประเมินความสามารถของชุมชนที่มีปัญหาไข้เลือดออกจำนวน 1 ชุมชน เพื่อกำหนดแนวทางในการใช้เครื่องมือไปประยุกต์ใช้ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ผลการศึกษาพบว่าเครื่องมือประเมินความสามารถในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ใช้ชุมชนเป็นฐานอย่างยั่งยืน (DCCAT) มี 2 ชุด คือ กลุ่มผู้นำชุมชนมี 14 องค์ประกอบความสามารถ (115 ข้อ) ประกอบด้วย 1)ด้านการจัดการสถานการณ์วิกฤต (9 ข้อ) 2)ด้านภาวะผู้นำส่วนบุคคล (12 ข้อ) 3)ด้านผู้ทำหน้าที่ด้านสาธารณสุข (8 ข้อ) 4)ด้านการประเมินความต้องการ (8 ข้อ) 5)ความรู้สึกร่วมกับชุมชน (11 ข้อ) 6)ด้านเครือข่ายของกลุ่มผู้นำชุมชน (11 ข้อ) 7)ด้านการสื่อสารข้อมูล (10 ข้อ) 8)ด้านภาวะผู้นำของคนในชุมชน (8 ข้อ) 9)ด้านผู้นำศาสนา (9 ข้อ) 10)ด้านเครือข่ายผู้นำชุมชนกับชุมชน (7 ข้อ) 11)ด้านการจัดการทรัพยากร (4 ข้อ) 12)ด้านกลุ่มแกนนำหลัก (6 ข้อ) 13)ด้านการมีส่วนร่วม (6 ข้อ) และ 14)ด้านการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง (6 ข้อ) สำหรับกลุ่มที่ไม่ไช่ผู้นำชุมชนมี 11 องค์ประกอบความสามารถ (83 ข้อ) ประกอบด้วย 1)ด้านการจัดการสถานการณ์วิกฤต (13 ข้อ) 2)ด้านภาวะผู้นำส่วนบุคคล (8 ข้อ) 3)ด้านผู้นำศาสนา (10 ข้อ) 4)ด้านภาวะผู้นำของชุมชน (8 ข้อ) 5)ด้านผู้ทำหน้าที่ด้านสาธารณสุข (6 ข้อ) 6)ด้านความรู้สึกร่วมกับชุมชน (8 ข้อ) 7)ด้านการสื่อสารข้อมูล (7 ข้อ) 8)ด้านการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง (6 ข้อ) 9)ด้านกลุ่มแกนนำหลัก (7 ข้อ) 10)ด้านการจัดการทรัพยากร (5 ข้อ) และ 11)ด้านการประเมินความต้องการ (5 ข้อ) แนวทางในการนำเครื่องมือไปใช้ในชุมชนมี 5 ขั้นตอน คือ การเตรียมชุมชน การประเมินความสามารถ การประชุมร่วมกันของคนในชุมชน การวางแผนและการดำเนินการ และการประเมินความสามารถซ้ำ ทั้งนี้การนำเครื่องมือไปใช้ต้องมีกลุ่มแกนนำโรคไข้เลือดออกเป็นทีมหลักในการดำเนินการ และมีทีมสนับสนุนที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้วิจัย และเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กลุ่มผู้เกี่ยวข้องในชุมชนควรใช้เครื่องมือประเมินความสามารถบนพื้นฐานความเข้าใจแนวคิดการสร้างสามารถของชุมชน และวัตถุประสงค์ของการประเมินความสามารถ ตลอดถึงบริบทของชุมชน กรณีชุมชนที่มีปัญหาโรคไข้เลือดออกต้องการสร้างความสามารถในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของชุมชน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำการประเมินก่อนและหลังการดำเนินการ หรือทำการประเมินเป็นระยะๆ | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Chulalongkorn University | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1577 | - |
dc.rights | Chulalongkorn University | en_US |
dc.subject | Hemorrhagic fever -- Prevention and control | en_US |
dc.subject | ไข้เลือดออก -- การป้องกันและควบคุม | en_US |
dc.title | The development of a tool to assess community capacity of sustainable community-based dengue prevention and control : a study in Southern Thailand | en_US |
dc.title.alternative | การพัฒนาเครื่องมือเพื่อประเมินความสามารถในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ใช้ชุมชนเป็นฐานอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาชุมชนภาคใต้ของประเทศไทย | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | Doctor of Philosophy | en_US |
dc.degree.level | Doctoral Degree | en_US |
dc.degree.discipline | Research for Health Development | en_US |
dc.degree.grantor | Chulalongkorn University | en_US |
dc.email.advisor | ratana.so@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | No information provided | - |
dc.email.advisor | No information provided | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.1577 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Charuai Suwanbamrung.pdf | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.