Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56088
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวชิราพร อัจฉริยโกศล-
dc.contributor.authorวราภรณ์ ชลิตตาภรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2017-11-23T08:13:13Z-
dc.date.available2017-11-23T08:13:13Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745673315-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56088-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งของสาระในภาพกับแบบการคิดที่มีต่อการระลึกได้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนศรีราชา ปีการศึกษา 2529 จำนวน 333 คน ซึ่งได้ผ่านการทดสอบ เดอะกรุปเอมเบดเดดฟิกเกอร์เทสต์ เพื่อแบ่งประเภทของแบบการคิดออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ฟิลด์ อินดิเพนเดนซ์, มิดเดิลกรุป, ฟิลด์ ดิเพนเดนซ์ จากนั้นมาทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายนักเรียนที่มีแบบการคิดทั้งสามประเภทออกมากลุ่มละ 75 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 225 คน แบ่งนักเรียนในกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 ออกเป็นกลุ่มละ 5 กลุ่มย่อยโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายกลุ่มย่อยละ 15 คน เพื่อเข้ารับการทดลองระลึกสาระของภาพในตำแหน่งต่าง ๆ 5 ตำแหน่ง คือ ตำแหน่งซ้ายบน, ขวาบน, ซ้ายล่าง, ขวาล่าง และกลางภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นภาพสไลด์ขาวดำ จำนวน 3 ภาพ แบ่งพื้นที่ในแต่ละภาพออกเป็น 5 ตำแหน่งเท่ากัน ในแต่ละตำแหน่งประกอบไปด้วยรูปทรงเรขาคณิตที่มีลักษณะแตกต่างกัน จำนวน 7 สาระ ให้ภาพสไลด์ปรากฏบนจอเป็นเวลาภาพละ 35 วินาที แล้วทดสอบการระลึกสาระในแต่ละภาพเป็นเวลา 1 นาที ในการทดลองให้กลุ่มตัวอย่างดูและระลึกสาระของภาพในแต่ละภาพ กลุ่มตัวอย่างได้รับการทำแบบทดสอบชิปเลย์เทสต์เป็นเวลา 10 นาที เพื่อลดการรบกวนของภาพที่ดูก่อนที่อาจจะมีต่อภาพที่ดูหลัง นำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคู่โดยวิธีของนิวแมนคูลส์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตำแหน่งภาพทั้งห้า ให้ผลต่อการระลึกของนักเรียนได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่มีแบบการคิดต่างกัน ระลึกจำนวนสาระได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการระลึกสาระในตำแหน่งทั้งห้า กับแบบการคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สามen_US
dc.description.abstractalternativePurpose of the study. The purposes of this study was to examine an interaction of information locations in picture and cognitive styles in recalling of Mathayom Suksa three students. The subjects were three hundred and thirty-three Mathayom Suksa three students of Sriracha School, Cholburi Province, in the academic year of 1986. The cognitive styles of the subjects were determined by “the Group Embedded Figures Test”. Seventy-five subjects were randomly selected from each of the three cognitive styles groups : labeling field independence, the middle group, and field dependence. The subjects in each group, then, were randomly divided into five sub-groups for five treatments of recalling information located in pictures. The material used in this study were three black and white slides. Each slide was divided into five equal areas : upper left, upper right, lower left, lower right and the center. Each location contained seven geometric forms. The presentation time for each slide was 35 seconds. The subjects were allowed to have 1 minute to recall the information. They were asked to draw the geometric forms on an answer sheet provided, which contained the same five equal areas. The Shipley Test was administered in every process in order to reduce treatment effects for 10 minutes the data obtained was analysed by a two-way analysis of variance. The pairwise differences were tested by Newman-Keuls Method. The results of the study were as followed : 1. Different picture locations can significantly bring about different recalls to students at the .05 level of confidence. 2. Students with different cognitive styles recall information in the pictures differently at the .05 level of confidence. 3. There was no statistical significant interaction between recalling information in the five locations and cognitive styles.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาพen_US
dc.subjectการสื่อทางภาพen_US
dc.subjectการรับรู้ภาพen_US
dc.subjectการระลึก (จิตวิทยา)en_US
dc.subjectโสตทัศนศึกษาen_US
dc.subjectPicturesen_US
dc.subjectVisual communicationen_US
dc.subjectPicture perceptionen_US
dc.subjectRecollection (Psychology)en_US
dc.subjectAudio-visual educationen_US
dc.titleปฏิสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งของสาระในภาพกับแบบการคิด ที่มีต่อการระลึกได้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3en_US
dc.title.alternativeAn interaction of information locations in picture and cognitive styles on a visual recall memory task of mathayom suksa three studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorVachiraporn.A@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waraporn_ch_front.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_ch_ch1.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_ch_ch2.pdf4.14 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_ch_ch3.pdf985.16 kBAdobe PDFView/Open
Waraporn_ch_ch4.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_ch_ch5.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_ch_back.pdf4.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.