Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56090
Title: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับความเหมือนจริงของเสียงบรรยาย ประกอบนิทานภาพสำหรับเด็ก กับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีต่อความเข้าใจในการฟัง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: An interaction of degrees of realism of narration for children pictorial story and levels of learning achievement upon listening comprehension of prathom suksa three students
Authors: สุพัฒตรา ธนบุญสมบัติ
Advisors: เชาวเลิศ เลิศชโลฬาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chawalert.L@Chula.ac.th
Subjects: นิทาน
การเล่านิทาน
ความเข้าใจในการฟัง
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Tales
Storytelling
Listening comprehension
Academic achievement
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฎิสัมพันธ์ระหว่างระดับความเหมือนจริงของเสียงบรรยายประกอบนิทานภาพสำหรับเด็กกับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีต่อความเข้าใจในการฟังของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2533 จำนวน 120 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตามระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ กลุ่มสูง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มต่ำ กลุ่มละ 40 คน แล้วสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบ่งแต่ละกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่มทดลอง ในแต่ละกลุ่มจะได้ดูสไลด์ประกอบเสียงที่มีเสียงบรรยายแตกต่างกัน คือ เสียงธรรมชาติบรรยายเสียงเดียว เสียงธรรมชาติบรรยายแยกตามตัวละคร เสียงการ์ตูนบรรยายเสียงเดียว และเสียงการ์ตูนบรรยายแยกตามตัวละคร ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน เมื่อเรียนจากนิทานภาพสำหรับเด็กที่มีระดับความเหมือนจริงของเสียงบรรยายต่างกัน มีความเข้าใจในการฟังต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2. นักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน เมื่อเรียนจากนิทานภาพสำหรับเด็กที่มีเสียงบรรยาย มีความเข้าใจในการฟังต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่เรียนจากนิทานภาพสำหรับเด็ก ซึ่งมีระดับความเหมือนจริงของเสียงบรรยายต่างกัน มีความเข้าใจในการฟังต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purpose of this study was to examine interaction of degrees of realism of narration for children pictorial story and levels of learning achievement upon listening comprehension of Prathom Suksa three students. The subjects were 120 Prathom Suksa students of Soon Ruam Num-Chai School, Bangkok, in the academic year of 1990. Levels of learning achievement were categorized as high, medium and low. There were 40 students in each level. The subjects in each level were simple randomized into 4 treatment groups. The subjects in each treatment group were assigned to learning from the slide/tape with different degrees of realism of narration, labelling: one natural sound narrator, natural sound narrators according to each characters, one cartoon sound narrator, and cartoon sound narrators according to each characters. The findings indicated that: 1. There was no statistically significant difference between degreed of realism of narration and levels of learning achievement upon students’ listening comprehension. 2. There was a statistically significant difference between different levels of learning achievement upon students’ listening comprehension at the .05 of level of singnificance. 3. There was no statistically significant difference between different degrees of realism of narration upon students’ listening comprehension.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56090
ISSN: 9745781746
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supattra_tha_front.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Supattra_tha_ch1.pdf933.95 kBAdobe PDFView/Open
Supattra_tha_ch2.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open
Supattra_tha_ch3.pdf662.53 kBAdobe PDFView/Open
Supattra_tha_ch4.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Supattra_tha_ch5.pdf824.43 kBAdobe PDFView/Open
Supattra_tha_back.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.