Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56102
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ ความเชื่อในความสามารถของตนและการฟื้นพลัง
Other Titles: RELATIONSHIPS AMONG GRATITUDE, SELF-EFFICACY, AND RESILIENCE
Authors: มิ่งขวัญ ชอบบุญ
วนัชพร พิพัฒน์ธนวงศ์
ณัฐวุฒิ ศรีสังข์
Email: nattasuda.t@chula.ac.th
Advisors: ณัฐสุดา เต้พันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Subjects: ความสามารถในตนเอง
ความสามารถในการฟื้นพลัง
ความกตัญญู
Self-efficacy
Resilience (Personality trait)
Gratitude
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ ความเชื่อในความสามารถของตน และการฟื้นพลัง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 158 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดการฟื้นพลัง (⍺ = .89) แบบวัดความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ (⍺ = .82) และแบบวัดความเชื่อในความสามารถของตน (⍺ = .83) ผลการวิจัยพบว่า ความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับการฟื้นพลัง ( r = .46, p < .01, หนึ่งหาง) และความเชื่อในความสามารถของตนมีสหสัมพันธ์ทางบวกการฟื้นพลัง (r = .65, p < .01, หนึ่งหาง) นอกจากนี้ ความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณและความเชื่อในความสามารถของตนสามารถร่วมกันทำนายการฟื้นพลังได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .48, p < .01) โดยค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน (standardized regression coefficient) ของความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณมีค่าเท่ากับ 0.10 (β = .24, p < .01) และความเชื่อในความสามารถของตนมีค่าเท่ากับ 0.61 (β = .56, p < .01) ผลการวิจัยแสดงว่าความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการฟื้นพลัง โดยความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณเป็นอารมณ์ทางบวก ซึ่งอารมณ์ทางบวกจะลดความเครียดและกู้คืนการฟื้นพลังได้ ความรู้สึกซาบซึ้งชอบคุณจึงมีความสัมพันธ์กับการเกิดการฟื้นคืนพลัง และพบว่าความเชื่อในความสามารถของตนสัมพันธ์ทางบวกกับการฟื้นพลัง อธิบายว่าบุคคลที่มีความเชื่อในความสามารถของตนจะสามารถหาวิธีการเผชิญปัญหาได้หลากหลายและมีประสิทธิภาพมากกว่า นอกจากนี้ยังพบว่าตัวแปรความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณและความเชื่อในความสามารถของตนร่วมกันทำนายการฟื้นคืนพลังได้
Other Abstract: The purpose of this research was to study the relationships among gratitude, self-efficacy, and resilience. Participants were 158 undergraduates from Chulalongkorn University. Research instruments were Resilience Scale (⍺ = .89), Gratitude Questionaire (GQ-6) (⍺ = .82), and General Self-Efficacy Scale (⍺ = .83). Results showed positive correlations that gratitude had with resilience (r = .46, p < .01, one-tailed) and self-efficacy and resilience (r = .65, p < .01, one-tailed). Gratitude and self-efficacy could significantly predict resilience (R2 = .48, p < .01). The standardized regression coefficient of gratitude was 0.10 (β = .24, p < .01) and self-efficacy was 0.61 (β = .56, p < .01). As hypothesized, there is a positive correlation between gratitude and resilience because gratitude is a positive emotion which is able to lower reduce stress and foster resilience. Thus, gratitude positively correlates with resilience. In addition, there is also a positive correlation between self-efficacy and resilience. Individuals with self-efficacy are able to cope with problems both in various and effective ways. Finally, we found that both gratitude and self-efficacy have potential to predict resilience together.
Description: โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2015
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56102
Type: Senior Project
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mingkwan_ch.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.