Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56133
Title: ผลของการฝึกออกกำลังกายสเตปแอโรบิกผสมผสานกับการใช้แรงต้านที่มีผลต่อสารชีวเคมีของกระดูก สุขสมรรถนะ และการทรงตัวในสตรีวัยทำงาน
Other Titles: EFFECTS OF STEP AEROBIC COMBINED WITH RESISTANCE TRAINING ON BIOCHEMICAL BONE MARKERS, HEALTH - RELATED PHYSICAL FITNESS AND BALANCE IN WORKING WOMEN
Authors: อัจฉริยะ เอนก
Advisors: วิชิต คนึงสุขเกษม
ณรงค์ บุญยะรัตเวช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Vijit.Ka@Chula.ac.th,acasi2003@yahoo.com
todrnarong@yahoo.com
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายสเตปแอโรบิกผสมผสานกับการใช้แรงต้านและศึกษาเปรียบเทียบผลของการฝึกการออกกำลังกายระหว่าง การออกกำลังกายสเตปแอโรบิก การออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน และการออกกำลังกายสเตปแอโรบิกผสมผสานกับการใช้น้ำหนักเป็นแรงต้านที่มีผลต่อ การสร้างมวลกระดูก สุขสมรรถนะ และการทรงตัวในสตรีวัยทำงาน กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครซึ่งเป็นสตรีวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 35-45 ปี และเป็นบุคลากรภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 60 คน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มการฝึกออกกำลังกายสเตปแอโรบิก 15 คน กลุ่มออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน 14 คน กลุ่มออกกำลังกายสเตปแอโรบิกผสมผสานกับการใช้แรงต้าน 15 คน และกลุ่มควบคุม 16 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลทั้งก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 16 สัปดาห์ คือ ทดสอบทางสรีรวิทยาทั่วไป สารชีวเคมีของกระดูก สุขสมรรถนะทางกาย และความสามารถในการทรงตัว โดยมีระยะเวลาการทดลองเป็นเวลานาน 16 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆละ 50 นาที โดยมีการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ และการวิเคราะห์ค่าทีแบบรายคู่ ที่ระดับความมีนัยสำคัญ.05 ผลการศึกษาพบว่าภายหลังการฝึก 16 สัปดาห์ พบว่า ค่าเบต้าครอสแล็ปส์ ค่าพีวันเอ็นพี และค่าเอ็นมิดออสทีโอแคลซิน ค่าการสร้างมวลกระดูก ในกลุ่มออกกำลังกายสเตปแอโรบิก และกลุ่มออกกำลังกายสเตปแอโรบิกผสมผสานกับการใช้แรงต้านมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของสารชีวเคมีของกระดูกในกลุ่มออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน สำหรับค่าความสามารถในการทรงตัวในกลุ่มการฝึกออกกำลังกายสเตปแอโรบิกผสมผสานกับการใช้แรงต้าน มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง กลุ่มควบคุม และกลุ่มการฝึกแบบใช้แรงต้าน จากผลการวิจัยสรุปได้ว่ากลุ่มฝึกออกกำลังกายสเตปแอโรบิกผสมผสานกับการใช้แรงต้าน และการออกกำลังกายแบบสเตปแอโรบิก มีผลดีต่อค่าการสร้างกระดูก แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของการสร้างกระดูกในกลุ่มออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน ทั้งนี้การออกกำลังกายสเตปแอโรบิกผสมผสานกับการใช้แรงต้าน ส่งผลดีในด้านการทรงตัวในสตรีวัยทำงาน มากกว่าการฝึกการออกกำลังกายแบบใช้แรงต้านเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The objective of this research was to develop a step aerobic combined with resistance training exercise program, and to compare the effects of a) step aerobic exercise training (STE) , b) resistance exercise training (RES) ,and c) a combined step aerobic with resistance exercise training (COM) on the health-related fitness, balance, and biochemical bone markers. Sixty participants were working-age female volunteers aged 35-45 years old. They were divided into 4 groups by simple random sampling method. Fifteen subjects were in the STE group, 14 subjects in the RES group, 15 subjects in the COM group, and 16 subjects in the control group (CON), respectively. All of experimental groups performed 50 minutes a day, 3 days a week. Basic physiological information, health-related physical fitness, biochemical bone markers and balance of every subject were evaluated before and after 16 weeks of training. Data were analyzed by two – way ANOVA, two – way ANOVA with repeated measure and paired t-test. The significant level was set at .05 level. After the 16 weeks experiment, the significant improvement was found in the COM and STE groups of exercise training for β-CrossLaps, P1NP, NMID Osteocalcin and bone formation (PINP/ β–CrossLaps x0.31) but not in the RES group. For balance ability, the COM group showed significantly greater change than the RES group and CON group after the training intervention. (p<.05) It can thus be concluded that the STE and COM training were effective in improving bone formation (PINP/ β–CrossLaps x0.31) but not in the RES group. For balance ability, COM group showed significant greater changed than the RES group alone.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56133
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5378966939.pdf6.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.