Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56141
Title: การชะละลายโลหะหนักของหินทิ้ง บริเวณเหมืองแร่ทองภูทับฟ้า จังหวัดเลย
Other Titles: LEACHING OF HEAVY METALS IN WASTE ROCKS FROM PHU TUB FAH GOLD MINE, CHANGWAT LOEI
Authors: ชุติมา คล่องสำราญ
Advisors: อรุบล โชติพงศ์
จักรพันธ์ สุทธิรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Arubol.C@Chula.ac.th,Arubol.C@chula.ac.th
Chakkaphan.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หินทิ้งเป็นของเสียที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ และมีปริมาณที่มากกว่าสินแร่หลายเท่า ส่วนประกอบในหินทิ้งมีโลหะหนักชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นธาตุที่เกิดร่วมกับสายแร่ที่ปะปนอยู่ หากมีการจัดการที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้โลหะดังกล่าวรั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการแพร่กระจายของโลหะหนักที่เกิดจากสภาวะน้ำทิ้งจากเหมืองเป็นกรด ทำให้เกิดการชะละลายโลหะหนักและแพร่กระจายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ในการศึกษานี้ได้ทดสอบการชะละลายของหินทิ้งทั้ง 3 กอง คือ กองออกไซด์ กองทรานซิชัน และกองซัลไฟด์ จำนวน 10 ชนิด ได้แก่ หินปูน หินอ่อน หินแอนดิไซต์ หินเดไซต์ หินทรายแป้ง หินทรายหินโคลน หินสการ์น หินซัลไฟด์เนื้อแน่น และหินกอสแซนจากเหมืองแร่ทองคำ ด้วยวิธี Synthetic Precipitation Leaching Procedure (SW-846: method 1312) ที่พีเอช 2, 4 และ 6 โดยโลหะหนักที่ทำการศึกษาได้แก่ สังกะสี โครเมียม ทองแดง แคดเมียม ตะกั่ว นิกเกิล แมงกานีส สารหนูและปรอทพร้อมทั้งเปรียบเทียบกับมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดประเภทโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ผลการศึกษาพบว่ามีโลหะหนักชะละลายออกมาจากหินที่ทุกพีเอช โดยที่พีเอช 2 มีการชะละลายออกมาสูงสุด รองลงมาคือ พีเอช 4 และ 6 ตามลำดับ ในกองออกไซด์พบความเข้มข้นของโครเมียม ทองแดง สารหนู ปรอท และตะกั่วในทุกพีเอช ส่วนนิกเกิลที่พีเอช 2 สูงกว่าค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินแต่ต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม ส่วนความเข้มข้นของแมงกานีสที่พีเอช 2 สูงเกินค่าที่กำหนดไว้ทั้งสองมาตรฐาน ในกองทรานซิชันพบโครเมียม นิกเกิล แคดเมียม และตะกั่วที่พีเอช 2 ส่วนสารหนูในทุกพีเอช มีความเข้มข้นมากกว่าค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินแต่ต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม ส่วนแมงกานีสและทองแดงที่พีเอช 2 มีความเข้มข้นสูงเกินทั้งสองมาตรฐาน ในกองซัลไฟด์พบความเข้มข้นของ แมงกานีส นิกเกิล และตะกั่วที่พีเอช 2 ส่วนทองแดง สารหนู และปรอทในทุกพีเอชสูงเกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินแต่ต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม กองหินทิ้งที่ต้องมีการเฝ้าระวังในเรื่องการชะละลายเป็นพิเศษ ได้แก่ กองทรานซิชัน และกองซัลไฟด์ เนื่องจากกองทรานซิชันมีโลหะหนักชะละลายออกมามาก และมีศักยภาพในการก่อให้เกิดน้ำทิ้งจากเหมืองในสภาพเป็นกรด ส่วนกองซัลไฟด์มีหินซัลไฟด์เนื้อแน่นซึ่งเป็นหินที่มีความเสถียรกับกรดแต่สามารถเกิดออกซิเดชันได้เมื่อทิ้งไว้ในที่โล่ง ทำให้เกิดน้ำทิ้งจากเหมืองในสภาพเป็นกรด และโลหะหนักจะอยู่ในรูปที่ไม่เสถียรสามารถชะละลายออกมาได้ง่ายขึ้นโดยหินที่ควรระวังคือ หินกอสแซน หินสการ์น และหินซัลไฟด์เนื้อแน่น จึงควรมีการจัดการกองหินทิ้งให้เหมาะสมโดยบริเวณกองหินทิ้งบางส่วนที่ทิ้งหินเต็มแล้ว ควรนำดินเหนียวมาคลุม เพื่อไม่ให้หินได้สัมผัสกับน้ำและอากาศ หรือสัมผัสให้น้อยที่สุด และปลูกพืชคลุมไว้
Other Abstract: Waste rock is usually produced from mining processes. A huge amount of waste rock may have been remained during the ore processing. Waste rocks, which occurred in ore deposit, are commonly composed of various kinds of heavy metal. Unsuitable management for mining and environmental protection plans may lead to heavy metal contamination to the environment, especially in combination with acid mine drainage (AMD). To study the heavy metals leaching from waste rocks, the 10 types of rock i.e., limestone, marble, andesite, dacite, siltstone, sandstone, mudstone, skarn, massive sulfide, and gossan from 3 dumps, including oxide, transition, and sulfide dumps were selected. Each was conducted leaching test by the Synthetic Precipitation Leaching Procedure (SPLP) at pH 2, 4, and 6. The concentrations of heavy metals including, zinc, chromium, copper, cadmium, lead, nickel, manganese, arsenic, and mercury were determined and compared with the Industrial Effluent Standards and the Surface Water Quality Standards. The results indicate that the highest concentration of heavy metals were leached out at pH 2 followed by pH 4 and 6, respectively. In the oxide dump, Cr, Cu, As, Hg and Pb could be conducted at any dedicated pH were higher than the Surface Water Quality but lower than the Industrial Effluent Standards. At pH 2, the amount of Mn exceeded both standards while Ni was higher than the Surface Water Quality Standards. In transition dump, Cr, Ni, Cd and Pb were leached at pH 2. Whereas the amount of As drained at any given pH were higher than the Surface Water Quality but lower than the Industrial Effluent Standards. The concentration of Mn and Cu that leached out at pH 2 exceeded both standards. In the sulfide dump, Mn, Ni, Cu, and Pb were leached out at pH 2 while As and Hg were investigated at any given pH values. The concentrations of these metals exceeded the Surface Water Quality but lower than the Industrial Effluent Standards. The transition and sulfide dumps should be under intensive investigation. The amount of heavy metal leaching and acid mine drainage from the transition dumps was prominent. In addition, massive sulfidefrom sulfide dump which is stable in the acidic condition, can be oxidized in the open air and cause acid mine drainage to leach out unstable heavy metal. Therefore, gossen, skarn and massive sulfide from these two waste dumps should be inspected. To prevent exposing to water and air, the heaps of waste dump should be covered with clay and local plant.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56141
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487124320.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.