Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56149
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชวลิต งามจรัสศรีวิชัย
dc.contributor.authorสาวินี วุฒิสกุลวงศ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2017-11-27T08:24:34Z-
dc.date.available2017-11-27T08:24:34Z-
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56149-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาการลดปริมาณแอสฟัลทีนของยางมะตอยผ่านกระบวนการแบบสองขั้นตอน ขั้นตอนแรกตกตะกอนแอสฟัลทีนด้วยนอร์มอลเฮปเทน โทลูอีน และไตรคลอโรเอทิลีน ตามวิธีมาตรฐาน ASTM D3279 และ ASTM D2042 จากนั้นแอสฟัลทีนที่เหลือในยางมะตอยถูกกำจัดด้วยการดูดซับโดยใช้เบนโทไนต์ ดินฟอกสี และไฮโดรทัลไซต์ เป็นตัวดูดซับ สมบัติทางกายภาพและเคมีของยางมะตอยก่อนและหลังการตกตะกอนและการดูดซับวิเคราะห์ด้วย CHNS analysis SARA analysis colorimetric spectrophotometry UV-Vis spectrophotometry และ color measurement ยางมะตอยเริ่มต้นมีสีดำและมีปริมาณแอสฟัลทีน 16.6 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก นอร์มอลเฮปเทนเป็นตัวทำละลายที่เหมาะสมในการตกตะกอนแอสฟัลทีน โดยลดปริมาณแอสฟัลทีนได้ 68.7 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก สำหรับขั้นตอนการดูดซับพบว่า ไฮโดรทัลไซต์ซึ่งมีพื้นที่ผิวจำเพาะสูงสุดเป็นตัวดูดซับที่เหมาะสมที่สุด เมื่อใช้ปริมาณของตัวดูดซับ 150 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก (เทียบกับน้ำหนักของยางมะตอยเริ่มต้น) นอร์มอลเฮปเทนเป็นตัวทำละลาย อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และเวลา 4 ชั่วโมง ผลิตภัณฑ์ยางมะตอยที่ได้มีปริมาณแอสฟัลทีนเหลือเพียง 0.9 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก นอกจากนี้การดูดซับสามารถลดปริมาณไฮโดรคาร์บอนชนิดพอลิไซคลิกแอโรแมติก สารประกอบซัลเฟอร์ และวาเนเดียมพอร์ไฟริน สีของยางมะตอยหลังผ่านการดูดซับมีแนวโน้มเป็นสีน้ำตาลและมีความสว่างเพิ่มขึ้น โดยคิดเป็นค่าความแตกต่างของสีตามระบบ CIELAB เท่ากับ 17.0 จลนพลศาสตร์ของการดูดซับแอสฟัลทีนบนตัวดูดซับทั้งสามชนิดสอดคล้องกับสมการอันดับสองเทียม ซึ่งแสดงว่าอันตรกิริยาระหว่างแอสฟัลทีนและพื้นผิวของตัวดูดซับเกี่ยวข้องกับกระบวนการเคมี ไอโซเทิร์มของการดูดซับที่เกิดขึ้นสามารถอธิบายด้วยสมการของแลงเมียร์ โดยความจุการดูดซับขึ้นกับพื้นที่ผิวจำเพาะของตัวดูดซับ
dc.description.abstractalternativeThis work studied reduction of asphaltene content of bitumen by two-step process. In the first step, asphaltene was precipitated in n-heptane, toluene and tricholoethylene according to ASTM D3279 and ASTM D2042. The asphaltene remaining in the bitumen was then removed by adsorption using bentonite, bleaching earth and hydrotalcite as adsorbents. The physicochemical properties of bitumen before and after precipitation and adsorption were determined by CHNS analysis, SARA analysis, colorimetric spectrophotometry, UV-Vis spectrophotometry and color measurement. The starting bitumen was black and had the asphaltene content of 16.6 wt.%. n-Heptane was the suitable solvent for asphaltene precipitation in which the asphaltene content was reduced by 68.7 wt.%. In the adsorption step, hydrotalcite with the highest specific surface area was the most suitable adsorbent when using the adsorbent amount; 150 wt.% (based on the bitumen weight), solvent type; n-heptane, temperature; 30 ºC, time; 4 h. The bitumen obtained had the asphaltene content of 0.9 wt.%. Moreover, the adsorption reduced polycyclic aromatic hydrocarbons, sulfur compounds and vanadium porphyrins contents. The color of bitumen after the adsorption was brown and relatively light. The color difference value (CIELAB system) was 17.0. The kinetics of asphaltene adsorption on three adsorbents fitted pseudo-second order equation, suggesting that the interaction between asphaltene and adsorbent surface is associated with a chemical process. The adsorption isotherm could be explained by Langmuir equation. The adsorption capacity was depended on the surface area of adsorbent.
dc.language.isoth
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.titleการลดปริมาณแอสฟัลทีนของยางมะตอยโดยการตกตะกอนและการดูดซับ
dc.title.alternativeREDUCTION OF ASPHALTENE CONTENT OF BITUMEN BY PRECIPITATION AND ADSORPTION
dc.typeThesis
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineเคมีเทคนิค
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisorChawalit.Ng@Chula.ac.th,chawalit.ng@chula.ac.th
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5572140923.pdf7.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.