Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56158
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนซิพ 2 ซี 9 ซิพ 2 ซี 19 และเอบีซีบี 1 และปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมกับขนาดยา ระดับยาในเลือด และการตอบสนอง ต่อยาฟีโนบาร์บิทาลของผู้ป่วยโรคลมชักชาวไทย
Other Titles: ASSOCIATION OF GENETIC VARIANTS IN CYP2C9, CYP2C19 AND ABCB1 GENES AND NON-GENETIC FACTORS WITH PHENOBARBITAL DOSES, BLOOD LEVELS AND RESPONSE IN THAI PATIENTS WITH EPILEPSY
Authors: ฑิมพิกา เคียงประพันธ์
Advisors: พรพิมล กิจสนาโยธิน
โยธิน ชินวลัญช์
สมชาย โตวณะบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Pornpimol.K@Chula.ac.th,Pornpimol.K@pharm.chula.ac.th,Pornpimol.K@chula.ac.th
yotinc@gmail.com
s_towanabut@yahoo.com
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ฟีโนบาร์บิทาลเป็นยากันชักที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศที่กำลังพัฒนา อย่างไรก็ตามผลของการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาฟีโนบาร์บิทาลในผู้ป่วยแต่ละรายยังคงมีความแตกต่างกัน โดยความแตกต่างที่เกิดขึ้นนั้นอาจเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ ทั้งปัจจัยทางด้านพันธุกรรมและปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ดังนั้นจุดประสงค์ในการศึกษานี้จึงต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน CYP2C9 CYP2C19 และ ABCB1 ร่วมกับปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมกับขนาดยาและระดับยาในเลือด รวมถึงการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาฟีโนบาร์บิทาลของผู้ป่วยโรคลมชักชาวไทย โดยในการศึกษานี้ทำการเก็บตัวอย่างผู้ป่วยโรคลมชักที่ใช้ยาฟีโนบาร์บิทาลจำนวน 110 ราย นำตัวอย่างเลือดไปวัดระดับยาฟีโนบาร์บิทาลและตรวจลักษณะจีโนไทป์ของพหุสัณฐาน CYP2C9*3 1075A>C CYP2C19*2 681G>A และ ABCB1 3435C>T จากนั้นวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความหลากหลายทางพันธุกรรมร่วมกับปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมกับขนาดยาและระดับยาฟีโนบาร์บิทาลในเลือดโดยใช้สถิติ multiple linear regression นอกจากนี้ยังแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะการตอบสนองต่อยาฟีโนบาร์บิทาลของผู้ป่วย ได้แก่ ผู้ป่วยโรคลมชักที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาฟีโนบาร์บิทาล และผู้ป่วยโรคลมชักที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาฟีโนบาร์บิทาล จากนั้นนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มขึ้นของระดับยาฟีโนบาร์บิทาลในเลือดสัมพันธ์กับการเกิดอันตรกิริยากับยา valproic acid และผู้ป่วยที่เป็นเพศชาย โดยปัจจัยดังกล่าวสามารถอธิบายความผันแปรของระดับยาฟีโนบาร์บิทาลในเลือดต่อขนาดยาต่อน้ำหนักตัวได้ร้อยละ 17.6 (R2=0.176, p=0.001) นอกจากนี้ยังพบว่า การไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาฟีโนบาร์บิทาลของผู้ป่วยมีความสัมพันธ์กับลักษณะจีโนไทป์ ABCB1 3435CC และโรคลมชักประเภท focal epilepsy (adjusted OR=3.962, 95% CI=1.075-14.610, p=0.039 และ adjusted OR=5.936, 95% CI=2.272-15.513, p<0.001 ตามลำดับ) โดยปัจจัยดังกล่าวสามารถอธิบายความผันแปรของการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาฟีโนบาร์บิทาลได้ร้อยละ 25.5 (R2=0.255) ดังนั้นจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับยาฟีโนบาร์บิทาลในเลือด คือ การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาและเพศของผู้ป่วย และปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาฟีโนบาร์บิทาล คือ ความหลากหลายทางพันธุกรรมของ ABCB1 3435C>T และประเภทของโรคลมชัก ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษานี้อาจนำไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อช่วยให้การรักษาด้วยยาฟีโนบาร์บิทาลมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการชักได้และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี
Other Abstract: Phenobarbital (PB) is one of the most widely used antiepileptic drugs in developing countries. However, its variability in response in each patient is the major problem during the treatment. These variability which is believed to be multifactorial involving both genetic and non-genetic factors. Consequently, the purpose of this study was to investigate the association of genetic variants in CYP2C9, CYP2C19 and ABCB1 genes, simultaneously with non-genetic factors with PB doses, plasma concentrations and response in Thai patients with epilepsy. A total of 110 Thai patients with epilepsy who were treated with PB maintenance doses were enrolled in this study. Two phenotypic groups were classified as PB-responsive epilepsy and PB-resistant epilepsy. DNA was extracted from peripheral blood leukocytes. The three candidate SNPs including CYP2C9*3 1075A>C, CYP2C19*2 681G>A, and ABCB1 3435C>T were genotyped. Multiple linear regression and multiple logistic regression analysis were used to identify the association. A multiple linear regression model revealed a significant association of increasing of PB plasma concentrations with co-medication with valproic acid and male gender. The model explains 17.6 % of the variability in standardized phenobarbital plasma concentrations (R2=0.176, p=0.001) In addition, a logistic regression model revealed a significant association of PB-resistant epilepsy with the presence of ABCB1 3435CC genotype and focal epilepsy (adjusted OR=3.962, 95% CI=1.075-14.610, p=0.039; adjusted OR=5.936, 95% CI=2.272-15.513, p-value<0.001, respectively). The model explains 25.5% of the variability in response to PB (R2=0.255). In conclusion, the present study identified that drug interaction and gender explain part of inter-individual variability in PB plasma concentrations. Whereas, a genetic variant, ABCB1 3435C>T and type of epilepsy influence variability in PB response in Thai patients with epilepsy. These findings can be used to determine the efficacy of PB treatment and improve seizures control in patients with epilepsy, resulting in better quality of life.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56158
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5576206433.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.