Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56204
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรวรรณ พันธุมนาวิน
dc.contributor.advisorบุญโชติ เผ่าสวัสดิ์ยรรยง
dc.contributor.authorณัชนันท์ จันทเพชร
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2017-11-27T08:58:25Z-
dc.date.available2017-11-27T08:58:25Z-
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56204-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
dc.description.abstractในงานวิจัยนี้ได้ขึ้นรูปแผ่นเส้นใยพอลิแล็กติก-โค-ไกลโคลิกแอซิดบรรจุนีโอมัยซินสำหรับประยุกต์ใช้งานเป็นวัสดุปิดบาดแผลผ่านกระบวนการปั่นเส้นใยด้วยไฟฟ้าสถิตแบบอิมัลชัน โดยใช้ สแปน®80 ที่ความเข้มข้น 10%wt ของปริมาณพอลิเมอร์เป็นอิมัลซิไฟเออร์สำหรับเตรียมอิมัลชันของพอลิแล็กติก-โค-ไกลโคลิกแอซิด/นีโอมัยซิน ผู้วิจัยได้ปรับเปลี่ยนสภาวะของการขึ้นรูปโดยปรับเปลี่ยนตัวแปรต่างๆ ได้แก่ ความเข้มข้นของพอลิแล็กติก-โค-ไกลโคลิกแอซิด, ค่าศักย์ไฟฟ้า, ระยะห่างระหว่างปลายเข็มโลหะกับวัสดุรองรับ และอัตราการไหลของสารละลาย ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดแสดงให้เห็นว่าแผ่นเส้นใยพอลิแล็กติก-โค-ไกลโคลิกแอซิดบรรจุนีโอมัยซินที่เตรียมได้จากพอลิแล็กติก-โค-ไกลโคลิกแอซิดความเข้มข้น 10%wt ค่าศักย์ไฟฟ้าที่ให้แก่ระบบเท่ากับ 20kV ระยะห่างระหว่างปลายเข็มโลหะกับวัสดุรองรับเท่ากับ 20 cm และอัตราการไหลของอิมัลชันเท่ากับ 0.5 mL/h นั้นมีขนาดเส้นใยที่สม่ำเสมอ เส้นใยมีความเรียบ และไม่พบลักษณะของเม็ดลูกปัดบนเส้นใย เส้นใยที่เตรียมได้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของเส้นใยประมาณ 2.00 µm ผลการวัดค่ามุมสัมผัสของน้ำพบว่าแผ่นเส้นใยที่เตรียมได้จากการปั่นเส้นใยด้วยไฟฟ้าสถิตแบบอิมัลชันมีความชอบน้ำสูง สเปกตรัมจากเทคนิคแอทเทนนูเอเทตโททัลรีเฟลกชันฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดของแผ่นเส้นใยพอลิแล็กติก-โค-ไกลโคลิกแอซิดบรรจุนีโอมัยซินแสดงการดูดกลืนอินฟราเรดของ O-H stretching และ N-H stretching ที่เลขคลื่น 3204 cm-1 และ 2914 cm-1 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแผ่นเส้นใยที่ประดิษฐ์ได้มีนีโอมัยซินบรรจุอยู่ในเส้นใยจริง แผ่นเส้นใยที่เตรียมได้มีความสามารถในการต้านเชื้อแบคทีเรียได้ดียิ่งทั้ง S. aureus (แกรมบวก) และ E. coli (แกรมลบ) นอกจากนี้แผ่นเส้นใยที่เตรียมได้นั้นไม่มีความเป็นพิษกับเซลล์ โดยค่า %เซลล์รอดชีวิตที่ได้จากการทดลองมีค่าสูงถึง 90% ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงประสบความสำเร็จในการเตรียมแผ่นเส้นใยพอลิแล็กติก-โค-ไกลโคลิกแอซิดบรรจุนีโอมัยซินที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการใช้งานเป็นวัสดุปิดบาดแผลบรรจุยาปฏิชีวนะเพื่อลดการติดเชื้อบริเวณในผู้ป่วย
dc.description.abstractalternativeIn this study, neomycin-incorporated poly(lactic-co-glycolic acid) fibers have been successfully fabricated by emulsion electrospinning method. Span®80 at 10%wt with respect to the polymer has been used as emulsifier to prepare an emulsion of poly(lactic-co-glycolic acid)/neomycin. The spinning conditions such as poly(lactic-co-glycolic acid) concentration, voltage, and distance between needle and collector have been varied. The Scanning Electron Micrograph showed that neomycin-incorporated poly(lactic-co-glycolic acid) fibers from poly(lactic-co-glycolic acid) concentration 10%wt voltage 10kV distance between needle and collector 20 cm and emulsion feed rate 0.5 mL/h was smooth without any beads and the diameter of the fiber was 2.00 µm. Contact angle measurement showed that the fiber formed by emulsion electrospinning possessed high hydrophilicity. Attenuated Total Reflectance Fourier Transform Infrared Spectroscopy (ATR-FTIR) showed infrared absorption of OH-stretching and NH-stretching at 3204 cm-1 and 2914 cm-1 respectively, that indicated the existence of neomycin in produced fiber. In addition these fibers exhibit high antibacterial activities against both S. aureus (Gram-positive) and E. coli (Gram-negative). Moreover, the prepared fiber has no sign of toxicity with cells; as the % Cell viability from the cytotoxicity experiment was at 90%. Therefore, it has been shown that neomycin-incorporated poly(lactic-co-glycolic acid) fibers can be fabricated and preliminarily shown to be suitable for wound dressing materials.
dc.language.isoth
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.titleการเตรียมเส้นใยของพอลิแล็กติก-โค-ไกลโคลิกแอซิดที่มีสารปฏิชีวนะโดยการปั่นเส้นใยด้วยไฟฟ้าสถิต
dc.title.alternativePREPARATION OF ANTIBIOTICS INCORPORATED POLY(LACTIC-CO-GLYCOLIC ACID) FIBERS BY ELECTROSPINNING
dc.typeThesis
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisorworawan.b@chula.ac.th,worawan.b@chula.ac.th
dc.email.advisorBoonchoat.P@Chula.ac.th
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5471961523.pdf4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.