Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56247
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรนภา สุจริตวรกุล | |
dc.contributor.advisor | จรัสพร มงคลขจิต | |
dc.contributor.advisor | ซึกิโอะ ซาโต้ | |
dc.contributor.author | นันท์นภัส ถนอมศรี | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2017-11-27T08:58:56Z | - |
dc.date.available | 2017-11-27T08:58:56Z | - |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56247 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ได้ศึกษากระบวนการสังเคราะห์และลักษณะเฉพาะของตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงบิสมัทวานาเดตที่ตอบสนองภายใต้ช่วงแสงที่ตามองเห็น ด้วยกระบวนการต่างๆ ได้แก่ กระบวนการไฮโดรเทอร์มัล โซโวลเทอร์มัล และกระบวนการตกตะกอนร่วมและแคลไซด์ โดยศึกษาตัวแปรในกระบวนการสังเคราะห์ เช่น ค่าพีเอชในการตกตะกอน ชนิดของตัวทำละลาย อุณหภูมิในการสังเคราะห์ และปริมาณการเติมวัสดุรองรับแกมมาอะลูมินา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบที่สำคัญต่อ โครงสร้างเฟส รูปร่างของอนุภาค พื้นที่ผิวจำเพาะ และสมบัติการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงในการสลายสารละลายโรดามีนบีภายใต้ช่วงแสงที่ตามองเห็น โดยตัวเร่งปฏิกิริยาบิสมัทวานาเดตที่สังเคราะห์ด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มัล ค่าพีเอช 1, 5 และ 7 อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง แสดงโครงสร้างเฟสโมโนคลินิกที่มีความเป็นผลึกสูงเพียงเฟสเดียว ซึ่งค่าพีเอชที่ใช้ในการตกตะกอนได้ส่งผลกระทบที่สำคัญต่อรูปร่าง และขนาดอนุภาคของบิสมัทวานาเดต สำหรับผลของการใช้ตัวทำละลายที่แตกต่างกันพบว่าตัวอย่างบิสมัทวานาเดตที่สังเคราะห์ด้วยกระบวนการโซลโวเทอร์มัลที่ใช้เอทานอลเป็นตัวทำลาย มีประสิทธิภาพการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่สูงกว่าการใช้ตัวทำละลายอื่นๆ เช่น กลีเซอรอล และ เอทิลีนไกลคอล นอกจากนี้จากข้อมูลงานวิจัยบิสมัทวานาเดตที่สังเคราะห์ด้วยกระบวนการตกตะกอนร่วมและแคลไซด์ที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียสแสดงประสิทธิภาพในการสลายสารละลายโรดามีนบีได้สูงที่สุดเมื่อเทียบกับกระบวนการสังเคราะห์อื่นๆ รวมถึงการปรับปรุงตัวอย่างบิสมัทวานาเดตจากการเติมวัสดุรองรับอะลูมินาในปริมาณ 1 เปอร์เซ็นต์จากน้ำหนัก โดยตกตะกอนร่วมที่ค่าพีเอช 7 ผ่านการแคลไซด์ที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ทำให้ตัวอย่างบิสมัทวานาเดตมีพื้นที่ผิวจำเพาะสูงที่สุดเท่ากับ 14.10 ตารางเมตรต่อกรัม และเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงในการสลายสารละลายโรดามีนบีสูงที่สุด ประมาณ 98.42 เปอร์เซ็นต์ภายใต้การฉายแสงเป็นเวลา 150 นาที | |
dc.description.abstractalternative | This research aims to study the synthesis and characterization of Visible-light responsive bismuth vanadate photocatalyst using different processes; hydrothermal, solvothermal and co-precipitation-calcination process. The effects of synthesis parameters on the properties of products were studied in terms of pH, temperature, different kinds of solvents and the addition amount of gamma-alumina (template materials). These factors had a significant impact on the shape, size, specific surface area, and photocatalytic activities for the degradation of rhodamine B solution under visible-light irradiation of the obtained products. As-synthesized bismuth vanadate samples prepared by hydrothermal process at pH 1, 5 and 7, 200oC for 6 h exhibited high crystallinity of pure monoclinic phase. For effect of solvent on the solvothermal synthesis of bismuth vanadate, it was shown that the sample prepared from ethanol exhibited higher photocatalytic efficiency than that of using ethylene glycol and glycerol. As the result, it was found that bismuth vanadate samples synthesized by co-precipitation and calcination exhibited the highest performance for degradation of rhodamine B solution compared to other methods. Furthermore, bismuth vanadate obtained by adding 1 wt% of gamma-alumina as a template precipitated at pH 7 and calcined at 500 °C for 2 h with the highest surface area of 14.10 m2/g showed the highest photocatalytic activity which was about 98.42% for rhodamine B degradation within 150 min visible-light irradiation. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.title | การเตรียมและสมบัติการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงของบิสมัทวานาเดตที่ตอบสนองภายใต้ช่วงแสงที่ตามองเห็น | |
dc.title.alternative | PREPARATION AND PHOTOCATALYTIC PROPERTY OF VISIBLE-LIGHT-RESPONSIVE BISMUTH VANADATE | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีเซรามิก | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.email.advisor | Pornapa.S@Chula.ac.th,spornapa@yahoo.com | |
dc.email.advisor | Charuspm@mtec.or.th | |
dc.email.advisor | tsusato@tagen.tohoku.ac.jp | |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5572011623.pdf | 7.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.