Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5625
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผุสดี หลิมสกุล-
dc.contributor.authorฤดีชนก รพิพันธุ์-
dc.contributor.illustratorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-01-28T09:39:06Z-
dc.date.available2008-01-28T09:39:06Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741737319-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5625-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractศึกษาแนวคิด วิธีการจัดการแสดง และรูปแบบการแสดงละครปลุกใจรักชาติ ของหลวงวิจิตรวาทการ ตลอดจนวิเคราะห์ละครปลุกใจรักชาติเรื่องเจ้าหญิงแสนหวี วิธีการวิจัยคือ การศึกษาเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีประสบการณ์ ในการแสดงละครหลวงวิจิตรในสมัยก่อน และการเรียนรู้ที่ได้รับถ่ายทอดจากศิษย์ของหลวงวิจิตรวาทการ จากการวิจัยพบว่า ละครปลุกใจรักชาติของหลวงวิจิตรวาทการ หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนาม "ละครหลวงวิจิตร" คือ ละครที่มีเนื้อหาปลุกใจให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกรักชาติบ้านเมือง สร้างสามัคคีระหว่างคนในชาติ และยอมเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อประเทศชาติ "ละครหลวงวิจิตร" เกิดจากที่หลวงวิจิตรวาทการได้รับมอบหมาย ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ในรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม ท่านได้ใช้บทละครและเพลงแนวปลุกใจรักชาติเป็นสื่อ ในการปลูกฝังลัทธิชาตินิยมให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ซึ่งนอกจากจะเป็นการสนุนกระแสทางการเมือง ที่แพร่หลายในขณะนั้นแล้ว หลวงวิจิตรวาทการยังเห็นว่า ความรักชาติจะสามารถช่วยสร้างสรรค์บ้านเมืองได้อีกทางหนึ่ง ละครหลวงวิจิตร เป็นละครที่เกิดจากบูรณาการความรู้ และประสบการณ์ของหลวงวิจิตรวาทการ ให้ปรากฏเป็นละครรูปแบบใหม่ในละครนาฏยศิลป์ไทย มีลักษณะพอสรุปได้คือ ในการเคลื่อนไหวของตัวละคร นอกจากจะเป็นไปตามธรรมชาติแล้ว ยังเป็นการผสมผสานระหว่างท่ารำทางนาฎยศิลป์ กับท่ารำธรรมชาติ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า ท่า "กำแบ" ใช้ทั้งรำประกอบเพลงตามเนื้อเรื่องและรำสลับฉากเพื่อคั่นเวลาในการเปลี่ยนฉาก ซึ่งการจัดฉากก็เป็นไปตามความสมจริงตามเนื้อเรื่อง สำหรับการแต่งกายของตัวละคร ยืนเครื่องแบบละครไทย ผสมผสานกันการแต่งกายตามเชื้อชาติและแต่งแบบสามัญชน อนึ่งในการแสดงละครจะมีทั้งบทเจรจาและบทร้อง ซึ่งผู้แสดงจะต้องเป็นผู้ร้องเพลงเองในฉาก และมีการร้องเพลงสลับฉาก (ร้องหน้าม่าน) ด้วย ส่วนดนตรีนั้น ใช้ทั้งวงดนตรีไทยและวงดุริยางค์สากลประกอบการแสดง จากการศึกษา "ละครหลวงวิจิตร" พบว่า ละครเรื่อง "เจ้าหญิงแสนหวี" เป็นตัวแทนละครของหลวงวิจิตรได้อย่างดียิ่ง เนื่องจากเป็นละครที่มีความสมบูรณ์ในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นเนื้อเรื่อง ตลอดจนบทเพลงทั้งในเรื่อง และระบำสลับฉาก ที่มีทั้งความสนุกสนานรื่นเริง และเพลงที่บ่งบอกถึงความเสียสละในความรักระหว่าง เจ้าหญิงแสนหวีและเจ้าชายเขมรัฐ ที่ต้องสำนึกถึงความรับผิดชอบต่อชาติบ้านเมือง มากกว่าที่จะคำนึงถึงความสุขส่วนตัว และยังได้สอดแทรกการประลองดาบระหว่างเจ้าหญิงแสนหวีและเจ้าชายเขมรัฐ เพื่อให้เกิดความหลากหลายอีกทั้งละครเรื่องเจ้าหญิงแสนหวีเป็นละครที่มีบทเพลงที่ไพเราะมากกว่าละครเรื่องอื่นๆจำต้องใช้ผู้แสดงเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความยิ่งใหญ่ตระการตามากกว่าที่สุดในบรรดาละครหลวงวิจิตร เนื่องจากหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งเป็นทั้งผู้ประพันธ์ ผู้กำกับการแสดง ผู้ฝึกซ้อม ตลอดจนอำนวยการผลิตละครตั้งแต่ต้นจนจบ และได้เขียนกำกับไว้ในบทละครตั้งแต่ต้นจนจบและได้เขียนกำกับไว้ในบทละครอย่างละเอียด การจัดการแสดงละครเรื่องเจ้าหญิงแสนหวีในระยะต่อมา จึงควรที่จะรักษารูปแบบเดิมไว้ให้มากที่สุดเพราะนอกจากจะเป็นการสืบทอดอัจฉริยะภาพของหลวงวิจิตรวาทการให้ปรากฎแล้ว ยังเป็นการรักษาเอกลักษณืของ"หลวงวิจิตร"ให้คงอยู่ในวงการนาฎศิลป์สืบไปen
dc.description.abstractalternativeTo study Luang Vichit-Vadakan's thoughts with regard to patriotic plays including scene arrangements and presentations of these plays especially the "Princess of Saen Wee". The research methodology used is a combination of literature search, interviews with experts and those who participated in the plays during that period. The analysis shows that Luang Vichit's plays are dramatic presentations with the content encouraging the audience to love their country, promoting cooperation among people, and sacrificing personal interest for the love of the nation. It came into being when he was appointed the Director General of the Department of Fine Arts during the Government of Field Marshall P. Pibulsongkram. Luang Vichit made use of patriotic plays and songs to instill the feeling of patriotism among general population. This does not only support the widespread policy direction of the Government at that time, but Luang Vichit also believed that this was a desirable way of promoting national development. "Luang Vichit's Plays" introduced new presentations of Thai dramatic arts whose major characteristics are as follows: the actors will have to perform both dialogue and songs. The body movements of the actors, incorporates Thai classical dance postures to the normal natural movements. It is used in songs which are an integral part of the plays, and dances which take place during intermissions. The scene arrangements are also made to conform with the content of the plays. Dresses used by the actors are a combination of Thai classical dance, those representing the specific tribes and the general public. Music is played by both the traditional classical Thai instruments and Western bands and there are also songs presented during the intermissions. The study of "Luang Vichit's Plays" has shown that the play "Princess of Saen Wee" is comprehensive in terms of content, songs in the play and intermission dances. There are parts which represents happiness, there are also those dealing with love and sacrifice due to the responsibility towards the country. The play also presents, for the purpose of variety, a sword fight between the Princess of San Wee and the Prince of Kemerat. Due to the fact that the play "Princess of San Wee" contains more beautiful songs than others, it therefore required a large number actors and actresses, thus making this play the most impressive and memorable among all of the Luang Vichit's plays. Luang Vichit-Vadakan served as the composer, the director, the trainer and also the overall supervisor from the beginning to the end. He also made detail notes of all the instructions. Subsequent presentations of this play should therefore preserve the original style of the show. This would not only present a true character of Luang Vichit-Vadakan's ingenuity but will also preserve the uniqueness of Luang Vichit's plays.en
dc.format.extent3672096 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectวิจิตรวาทการ, พลตรี หลวง, 2441-2505en
dc.subjectละครร้องen
dc.subjectละคร -- ไทยen
dc.titleละครหลวงวิจิตรen
dc.title.alternativeLuang Vichit playsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทยes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rudeechanok.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.