Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56297
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปวีณา สุสัณฐิตพงษ์
dc.contributor.authorสิริวรรณ นาควรรณ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2017-11-27T08:59:47Z-
dc.date.available2017-11-27T08:59:47Z-
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56297-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
dc.description.abstractความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย ภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง สำหรับการเพิ่มความเสื่อมของโรคไตเรื้อรัง โดยในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลที่ศึกษาสำหรับการใช้วิตามินดีแบบธรรมชาติ(เออโกแคลซิเฟอรอล)และหรือร่วมกับแคลซิไตรออลในผู้ป่วยที่มีภาวะไตเรื้อรัง การศึกษานี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงผลของยาแคลซิไตรออลและยาเออโกแคลซิไตรออลต่อระดับปริมาณไข่ขาวที่รั่วในปัสสาวะและค่าการทำงานของไตในคนไข้ไตเรื้อรังที่มีภาวะขาดวิตามินดี ระเบียบวิธีการวิจัย การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกที่ศึกษาเปรียบเทียบแบบสุ่ม ในคนป่วยจำนวน 68 คน ที่มีค่าการทำงานของไตระหว่าง 15-60 มล/นาที/1.73ม2 , ปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะมากกว่า 1 กรัมต่อวันและมีภาวะขาดวิตามินดี (25(OH)D < 30 นก/มล) โดยถูกสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม , กลุ่มแรกได้รับยาเออโกแคลซิเฟอรอลขนาด 20,000 ยูนิต สองครั้งต่อสัปดาห์ร่วมกับยาหลอก (36 คน) และกลุ่มที่สองได้รับได้รับยาเออโกแคลซิเฟอรอลขนาด 20,000 ยูนิต สองครั้งต่อสัปดาห์ร่วมกับแคลซิไตรออลขนาด 0.5 ไมโครกรัม สองครั้งต่อสัปดาห์ (32 คน) เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยของปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะไม่แตกต่างกันระหว่าง 2 กลุ่ม (3.6 ± 3.8 กรัม/กรัมในกลุ่มทดลองและ 3.5±3.0 กรัม/กรัมในกลุ่มควบคุม) เมื่อเริ่มทำการศึกษา แต่พบว่ามีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระยะเวลา 12 สัปดาห์ในทั้ง 2 กลุ่มการศึกษา (2.3± 2.1 กรัม/กรัมในกลุ่มทดลอง และ 2.4± 2.0 กรัม/กรัมในกลุ่มควบคุม) และพบว่าร้อยละของการลดลงของปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะไม่แตกต่างกันระหว่าง 2 กลุ่มการศึกษา (ลดลงร้อยละ25.5 ในกลุ่มทดลองและลดลงร้อยละ 23.7 ในกลุ่มควบคุม) แต่มีจำนวนคนไข้มากกว่าร้อยละ 50 ของทั้งสองกลุ่มที่สามารถมีร้อยละของการลดลงของปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะมากกว่าร้อยละ 30 เมื่อเทียบจากเริ่มการรักษา (ร้อยละ 56.3 ในกลุ่มทดลองและร้อยละ 52.8 ในกลุ่มควบคุม) โดยพบว่ามีการลดลงของไข่ขาวในปัสสาวะได้มากในกลุ่มไตเสื่อมจากเบาหวาน และคนไข้ที่มีปริมาณไข่ขาวรั่วแบบเนฟโฟติก ถึงแม้ว่าค่าการทำงานของไตและความดันโลหิตจะไม่มีความแตกต่างกันระหว่าง 2 กลุ่มการศึกษา และก็ไม่พบระดับแคลเซียมสูงและผลข้างเคียงที่รุนแรงในทั้งสองกลุ่ม สรุปผลการศึกษา การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกที่แสดงถึงผลต่อการลดปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะของยาเออโกแคลซิเฟอรอลทั้งที่ให้ร่วมและไม่ร่วมกับแคลซิไตรออลในคนไข้ไตเรื้อรังที่มีภาวะขาดวิตามินดี โดยเฉพาะในคนไข้ไตเรื้อรังจากเบาหวาน และคนไข้ที่มีปริมาณไข่ขาวรั่วแบบเนฟโฟติก ซึ่งอาจจะต้องมีการศึกษาที่มีระยะเวลานานกว่านี้เพื่อดูผลต่อค่าการทำงานของไตของยาทั้งสองตัว
dc.description.abstractalternativeBackground : Proteinuria is the one of the most important independent risk factors for progression of chronic kidney disease (CKD). These are no available data regarding the role of natural vitamin D with/without active vitamin D on proteinuria and renal function in CKD patients with vitamin D insufficiency/deficiency. This study was conducted to explore the additional effect of both active vitamin D (calcitriol) and natural vitamin D (ergocalciferol) on proteinuria and kidney function in CKD with vitamin D insufficiency/deficiency Methods: This is the first double-blind, randomized placebo-controlled trial to answer the question. Sixty eight patients with estimated glomerular filtration rate (eGFR) between 15 to 60 mL/min/1.73m2, urine protein to creatinine ratio (UPCR) greater than 1 g/g, and vitamin D insufficiency/deficiency (25OH-D level<30 ng/mL) were enrolled. Patients were randomly assigned to receive 12-week treatment with oral ergocalciferol (20,000 unit twice weekly) plus placebo (n=36) or ergocalciferol plus oral calcitriol (0.5 mcg twice weekly)(n=32). Results: The mean baseline UPCR of both groups were comparable (3.6 ± 3.8 g/g in combined group and 3.5±3.0 g/g in ergocalciferol group). Following 12 -week treatment, there were marked reductions in UPCR of both groups (2.3± 2.1 g/g in combined group and 2.4± 2.0 g/g in ergocalciferol group). The percentage reductions in UPCR of both groups were not significantly different (-25.5% in combined group and -23.7% in ergocalciferol group). More than 50% of patients had 30% reduction on proteinuria in both groups (56.3% in combined group and 52.8% in ergocalciferol group).These effects were more robust in diabetic nephropathy (-29.7%) and nephrotic range proteinuria (-33.4%). The mean eGFR and blood pressure did not differ between baseline and 12-week follow up and between both groups. No severe hypercalcemia or serious side effects were noted in both groups. Conclusions : This is the first study which illustrates the proteinuria lowering effect of ergocalciferol with or without calcitriol in CKD patients with vitamin D insufficiency/deficiency, particularly in diabetic nephropathy and nephritic range proteinuria. A longer study is required to examine the renal function retardation effect of ergocalciferol with/without calcitriol treatment.
dc.language.isoth
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.titleการศึกษาผลของการใช้ยาเออโกแคลซิเฟอรอลร่วมกับยาแคลซิไตรออลเทียบกับยาหลอกในคนไข้ไตเรื้อรังระยะที่ 3 ถึง 4 ที่มีไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ
dc.title.alternativeA Double-blind, Randomized, Placebo-controlled Trial of Ergocalciferol with/without Calcitriol in Chronic Kidney Disease with Proteinuria
dc.typeThesis
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisorPaweena.S@Chula.ac.th,pesancerinus@hotmail.com,pesancerinus@hotmail.com
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674086130.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.