Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56339
Title: การแยกองค์ประกอบของไขรำข้าวโดยการแยกลำดับส่วนแบบชะที่เพิ่มอุณหภูมิ (ทีอาร์อีเอฟ)
Other Titles: SEPARATION OF RICE BRAN WAX COMPONENTS BY TEMPERATURE RISING ELUTION FRACTIONATION (TREF)
Authors: ปวิตรา บุญเอก
Advisors: ปรีชา เลิศปรัชญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Preecha.L@Chula.ac.th,preecha.L@chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การประยุกต์ใช้เทคนิคการแยกลำดับส่วนแบบชะที่เพิ่มอุณหภูมิ (Temperature rising elution fractionation; TREF) ที่ใช้แยกสารโดยอาศัยความสามารถในการละลายในตัวทำละลายและการตกผลึกที่แตกต่างกันสำหรับแยกไขพืชชนิดไขรำข้าว ศึกษาสมบัติทางกายภาพ ทางเคมีของไข และสภาพละลายได้ของไขรำข้าวดิบเพื่อเลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมสำหรับการแยกด้วยเทคนิคนี้ ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแยกซึ่งได้แก่ ตัวทำละลาย (เฮกเซน ไอโซโพรพานอล และตัวทำละลายผสมระหว่างเฮกเซนกับไอโซโพรพานอล อัตราส่วน 70:30, 50:50 และ 30:70) บนตัวรองรับเฉื่อย (ซิลิกาเจลขนาด 60-200 ไมครอน) การเปรียบเทียบผลการแยกแวกซ์เอสเทอร์จากไขรำข้าวด้วยเทคนิค TREF กับผลการแยกด้วยวิธีทางเคมี การแยกด้วยเทคนิคการตกผลึกลำดับส่วน และเทคนิคคอลัมน์โครมาโทกราฟี พบว่าสามารถใช้เทคนิค TREF แยกแวกซ์เอสเทอร์ที่มีความบริสุทธิ์สูงได้ โดยสภาวะที่เหมาะสมคือ ใช้ เฮกเซนกับไอโซโพรพานอลเป็นตัวทำละลายผสมในอัตราส่วน 30:70 บนซิลิกาเจลขนาด 60-200 ไมครอน ที่เป็นตัวรองรับเฉื่อย ที่อุณหภูมิการชะ 30, 40, 50 และ 60 °C และการแยกด้วยเทคนิค TREF ได้ผลการแยกที่ดีที่สุด ส่วนยางเหนียวของไขรำข้าวมีองค์ประกอบคือ อะลิฟาติกอัลดีไฮด์ กรดไขมัน แอลกอฮอล์ไขมัน และแวกซ์เอสเทอร์ การวิเคราะห์แวกซ์เอสเทอร์บริสุทธิ์จากไขรำข้าวด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟีที่อุณหภูมิสูงพบว่าแวกซ์เอสเทอร์จากไขรำข้าวเป็นของผสมของเอสเทอร์อย่างน้อย 20 ชนิด วิเคราะห์กรดไขมันและไขมันแอลกอฮอล์ที่ได้จากปฏิกิริยาสะพอนิฟิเคชันแวกซ์เอสเทอร์พบว่าเป็นของผสมของ C16-C24 กรดไขมันอิ่มตัว และ C22-C34 แอลกอฮอล์ไขมัน โดยกรดไขมันหลักคือ กรดลิกโนเซอริก (C24) และแอลกอฮอล์ไขมันหลักคือ ไตรอะคอนทานอล (C30)
Other Abstract: Temperature Rising Elution Fractionation (TREF) was applied to separate rice bran wax components on the basis of solubility and crystallizability. Physical property, chemical property and solubility of crude rice bran wax were studied in order to select the suitable solvent for this separation technique. The factors affecting the separation by TREF technique including solvent (hexane, isopropanol and mixed solvent of hexane: isopropanol at ratio of 70:30, 50:50 and 30:70) upon an inert support (silica gel 60-200 µm) were studied. Comparison of the separation of wax esters from rice bran wax by TREF technique with chemical separation, fractional crystallization technique and column chromatography, pure wax esters with high purity were successfully separated from rice bran wax by TREF using hexane: isopropanol at ratio of 30:70 as the mixed solvent upon silica gel 60-200 µm as the inert support at 30, 40, 50 and 60 °C. The resinous matter was a mixture of aliphatic aldehyde, fatty acid, fatty alcohol and wax ester. High-temperature GC analysis of the pure wax ester indicated that it contained at least 20 esters. Analysis of fatty acid and fatty alcohol from saponification of wax ester was found to be a mixture of saturated C16-C24 fatty acids and C22-C34 fatty alcohols, with Lignoceric acid (C24) and Triacontanol (C30) being the predominant fatty acid and fatty alcohol, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56339
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5572044323.pdf4.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.