Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56343
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปาหนัน รัฐวงศ์จิรกุล | |
dc.contributor.author | วรฤทัย ทองเกิด | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2017-11-27T09:33:17Z | - |
dc.date.available | 2017-11-27T09:33:17Z | - |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56343 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | |
dc.description.abstract | เชื้อ Helicobacter pylori เป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก กระเพาะอาหารอักเสบ และมะเร็งในกระเพาะอาหาร พบว่าประชากรโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งมีการติดเชื้อ H. pylori โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบประเทศที่กำลังพัฒนา หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เชื้อ H. pylori สามารถแพร่กระจายรวมไปถึงการเกิดการติดเชื้อเรื้อรังและการดื้อต่อยาปฏิชีวนะคือการที่เชื้อสามารถสร้างไบโอฟิล์มได้ทั้งขณะเจริญอยู่ในธรรมชาติและในสิ่งมีชีวิต อย่างไรก็ตามกลไกที่ควบคุมการสร้างไบโอฟิล์มของเชื้อ H. pylori ยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน แฟลเจลาเป็นปัจจัยที่สำคัญในกระบวนการสร้างไบโอฟิล์มของเชื้อแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ การศึกษาก่อนหน้าพบการแสดงออกที่สูงขึ้นของโปรตีน FliD ซึ่งเป็นโปรตีนในกลุ่มแฟลเจลลาของเชื้อ H. pylori ในขณะที่ดำรงอยู่ในสภาวะไบโอฟิล์ม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของยีน fliD ในการควบคุมการสร้างไบโอฟิล์มของเชื้อ H. pylori โดยทำการสร้างเชื้อ H. pylori ที่มีการกลายพันธุ์ของยีน fliD ด้วยเทคนิค inverse PCR mutagenesis และเปรียบเทียบการสร้างไบโอฟิล์มกับเชื้อสายพันธุ์มาตรฐาน ATCC 43504 ทั้งในเชิงกึ่งปริมาณด้วยเทคนิค pellicle assay และเชิงปริมาณด้วยเทคนิคการย้อมสี crystal violet ศึกษาโครงสร้างสามมิติของไบโอฟิล์มด้วยกล้องอิเล็คตรอนแบบส่องกราด เนื่องจากแฟลเจลลามีส่วนช่วยในการเคลื่อนที่และการยึดเกาะ ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาผลกระทบของยีน fliD ต่อความสามารถในการเคลื่อนที่และการยึดเกาะต่อเซลล์เยื่อบุกล่องเสียง HEp-2 ด้วยเทคนิค motility assay และ adhesion assay ตามลำดับ แม้ว่าปริมาณไบโอฟิล์มระหว่างเชื้อทั้งสองสายพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่พบว่าการกลายพันธุ์ของยีน fliD ส่งผลต่อการชะลอการสร้างและโครงสร้างสามมิติที่สมบูรณ์ของไบโอฟิล์มของเชื้อ H. pylori นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อ H. pylori ที่มีการกลายพันธุ์ของยีน fliD สามารถเคลื่อนที่ได้ลดลง แต่ยังคงความสามารถในการยึดเกาะเซลล์เยื่อบุกล่องเสียง HEp-2 ได้ในระดับเดียวกับเชื้อสายพันธุ์มาตรฐาน ยีน fliD อาจมีบทบาทต่อกระบวนการสร้างไบโอฟิล์มที่สมบูรณ์ของเชื้อ H. pylori และอาจนำมาใช้เป็นเป้าหมายสำหรับการพัฒนาวัคซีนหรือยารักษาการติดเชื้อต่อไปในอนาคต | |
dc.description.abstractalternative | Helicobacter pylori is a leading causative agent of gastrointestinal diseases, including peptic and duodenal ulcers, gastritis and gastric cancer. More than half of the world’s population has been infected with this bacterium, particular those who are in developing countries. H. pylori is able to form biofilm both in environments and clinical settings contributing to bacterial spreading, chronic infection and antimicrobial resistance. However, the regulation of H. pylori biofilm formation is poorly understood. In some bacteria, flagella plays a role in biofilm formation. A previous study showed that FliD flagellar capping protein was up-regulated during the biofilm formation of H. pylori. In this study, the impact of the fliD gene on the biofilm formation of H. pylori was investigated. A H. pylori fliD mutant was constructed by inverse PCR mutagenesis. The formation of its biofilm was evaluated, compared to the wild-type ATCC 43504, using a pellicle assay and a crystal violet staining assay. The cyto-architecture of the biofilm was photographed with scanning electron microscopy. The mobility of the bacteria and its adhesion ability to HEp2-cells were assessed using a motility assay and a fluorescein isothiocyanate staining adhesion assay, respectively. It was found that there was no significant difference in the levels of the biofilm formation and bacterial adhesion between the wild-type and the fliD mutant. Apart from a poor motility, the fliD mutant had a slightly delayed formation and a remarkable incomplete cyto-architecture of its biofilm. The bacterial cells residing in the biofilm of the fliD mutant showed a loose accumulation with less apparent cross-linking fibrils. Most of the mutant cells had truncated flagella. This study provides the preliminary evidences that fliD potentially regulates complete biofilm formation. The FliD may be used as a novel target for a development of vaccine or antimicrobial agent in future. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.title | บทบาทของยีน fliD ในการควบคุมการสร้างไบโอฟิล์มของ Helicobacter pylori | |
dc.title.alternative | ROLE OF fliD GENE IN A REGULATION OF HELICOBACTER PYLORI BIOFILM FORMATION | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | ชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.email.advisor | Panan.P@Chula.ac.th,Panan_etc@yahoo.com,Panan.P@Chula.ac.th | |
Appears in Collections: | All - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5576660637.pdf | 4.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.