Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56407
Title: การสร้างแบบจำลองทางเภสัชจลนศาสตร์/เภสัชพลศาสตร์ เพื่อประเมินฤทธิ์ทางห้องปฏิบัติการของฟอสโฟมัยซิน ต่อเชื้อเอสเชอริเชีย โคไล ที่มีการสร้างเอนไซม์เบต้าแลคทาเมสชนิดฤทธิ์ขยาย
Other Titles: PHARMACOKINETIC/PHARMACODYNAMIC MODELING TO EVALUATE IN VITRO ACTIVITY OF FOSFOMYCIN AGAINST EXTENDED-SPECTRUM ß-LACTAMASE-PRODUCING ESCHERICHIA COLI
Authors: ประสิทธิชัย พูลผล
Advisors: วันชัย ตรียะประเสริฐ
ธนิษฐา ฉัตรสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Wanchai.T@Chula.ac.th,Wanchai.T@chula.ac.th
Tanittha.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินฤทธิ์ทางห้องปฏิบัติการของฟอสโฟมัยซินต่อเชื้อ เอสเชอริเชีย โคไล ที่มีการสร้างเอนไซม์เบต้าแลคทาเมสชนิดขยาย (E. coli producing ESBL) จากกราฟการฆ่าเชื้อและวิเคราะห์หาแบบจำลองเภสัชจลนศาสตร์/เภสัชพลศาสตร์ (PK/PD model) ในการสร้างกราฟการฆ่าเชื้อนั้น ใช้เชื้อ E. coli ESBL (L2EN49) ที่ผ่านการหาค่า MIC ว่ามีความไวต่อยาฟอสโฟมัยซิน (MIC=32 มคก./มล.) ความเข้มข้นของยาฟอสโฟมัยซินที่ใช้คือ 0.25-16 เท่าของค่า MIC (8-512 มคก./มล.) ทำการเก็บตัวอย่างที่เวลา 0, 1, 2, 4, 6, 8, 12 และ 24 ชั่วโมง ผลที่ได้พบว่าที่ความเข้มข้นที่ต่ำกว่าค่า MIC (0.25x-1xMIC) ยามีความสามารถในการฆ่าเชื้อที่เวลา 2-4 ชั่วโมงแต่พบการเพิ่มขึ้นของเชื้ออีกครั้ง สำหรับที่ความเข้มข้นที่มากกว่าค่า MIC (2x-16xMIC) พบว่ายาสามารถฆ่าเชื้อได้อย่างสมบูรณ์ภายใน 1 ชั่วโมงและไม่พบการเพิ่มจำนวนขึ้นของเชื้ออีก ในการวิเคราะห์หาแบบจำลอง PK/PD นั้นพบว่ารูปแบบสมการที่จะให้ความสอดคล้องพอดีของรูปกราฟจะต้องประกอบด้วยตัวแปรในสมการคือ จำนวนเชื้อสูงสุด (Nmax), ระยะปรับการเข้าสู่เจริญ (Expyt), ระยะเริ่มของการเพิ่มจำนวน (Exp-zt) และระยะเริ่มของการฆ่าเชื้อ (1-Exp-zt) จากการศึกษาพบว่าแบบจำลอง PK/PD ที่ได้จากกราฟการฆ่าเชื้อกับเวลาเป็นอีกวิธีหนึ่งที่เหมาะสมสำหรับใช้ประเมินฤทธิ์ทางห้องปฏิบัติการของยาฟอสโฟมัยซินต่อเชื้อ E. coli ESBL
Other Abstract: The aim of this study was to evaluate the in vitro antimicrobial activity of fosfomycin against clinical isolate of extended-spectrum beta-Lactamase (ESBL)- producing Escherichia coli strains from time-kill curves and to develop PK/PD modeling. The E. coli ESBL (L2EN49) which was a susceptible strain with MIC breakpoint for fosfomycin of 32 µg/mL was selected in time–kill study. The range of fosfomycin concentrations from 0.25 to 16 times of the MIC (8 to 512 µg/mL) were tested in the time-kill study. The patterns of antimicrobial activity of fosfomycin against E. coli ESBL were evaluated at 0, 1, 2, 4, 6, 8, 12 and 24 hr. At the concentrations of minimum inhibition of bacterial growth (0.25 x to 1 × MIC), fosfomycin exhibited the bactericidal effect for 2-4 h and then regrowth. For the concentrations of bacterial killing (2 x to 16 x MIC), fosfomycin exhibited completely bactericidal effect within 1 h, without regrowth. PK/PD models showed that appropriate models that gave good curve fits to describe the growth and killing effects included additional terms for saturation of the number of bacteria (Nmax), the delay in bacterial growth phase (expyt), the onset in bacterial regrowth phase (exp-zt), and the onset of killing activity (1-exp-zt). Time-kill curve and PK/PD model approach could be used to evaluate in vitro antimicrobial activity of fosfomycin against E. coli ESBL.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56407
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5576212133.pdf3.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.