Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5641
Title: การใช้ทฤษฎีไร้ระเบียบในการออกแบบเอกลักษณ์องค์กร
Other Titles: The use of chaos theory in corporate identity design
Authors: วิสิทธิ์ โพธิวัฒน์
Advisors: อารยะ ศรีกัลยาณบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Araya.S@Chula.ac.th
Subjects: ทฤษฎีไร้ระเบียบ
ภาพลักษณ์องค์การ -- การออกแบบ
โลโก (สัญลักษณ์) -- การออกแบบ
ตราสัญลักษณ์ -- การออกแบบ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบุแนวความคิดของทฤษฎีไร้ระเบียบ และหาวิธีการในการออกแบบภาพลักษณ์องค์กร โดยใช้แนวความคิดของทฤษฎีไร้ระเบียบ วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยคุณภาพ (Qualitative research) โดยใช้การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านทฤษฎีไร้ระเบียบ (Chaos theory) เพื่อให้ได้เกณฑ์คำตอบจากข้อที่ 1 แล้วนำเกณฑ์ที่ได้ไปคัดเลือกตัวอย่างตราสัญลักษณ์ (Logo) จำนวน 70 ชุด จากนั้นใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยนำตัวอย่างตราสัญลักษณ์ดังกล่าวมาสร้างชุดแบบสอบถาม ซึ่งใช้กับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ เอกลักษณ์องค์กร (Corporate Identity Design) เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ในหลักการของทฤษฎีไร้ระเบียบ และหาผลวิจัยในข้อที่ 2 ผลวิจัยจากวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่า เกณฑ์ของทฤษฎีไร้ระเบียบมีทั้งหมด 6 ข้อดังนี้ คือ (1) ไม่มีความมั่นคงหรือคงที่ (ไม่มีความเสถียร หรือ Unstable) (2) องค์ประกอบ (Element) แต่ละหน่วยไม่เหมือนกันร้อยเปอร์เซ็น รูปลักษณ์แต่ละภาพมีความคลาดเคลื่อนไปบ้าง (3) มีรายละเอียดอย่างไม่สิ้นสุด (Fractal geometry) (4) ระบบการกระจายไม่เป็นเส้นตรง องค์ประกอบ (Element) ในที่ว่าง (Space) ไม่เป็นเส้นตรง (5) คาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ยาก (6) เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องในระยะยาว ไม่เป็นระบบในระยะสั้น มีปฏิกิริยาสะท้อนกลับทั้งด้านบวกและด้านลบ และผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 คือ (1) การออกแบบตราสัญลักษณ์โดยการคงแบบตัวอักษร (Typface) เปลี่ยนภาพ (Image) มีความถี่ 35 คะแนน (2) การออกแบบตราสัญลักษณ์โดยคงการจัดวาง (Composition) เปลี่ยนภาพ (Image) มีความถี่ 29 คะแนน (3) การออกแบบตราสัญลักษณ์โดยคงเทคนิค (Technique) เปลี่ยนภาพ (Image) มีความถี่ 22 คะแนน (4) การออกแบบตราสัญลักษณ์โดยคงแบบตัวอักษร (Typface) เปลี่ยนสี (Color) มีความถี่ 22 คะแนน (5) การออกแบบตราสัญลักษณ์โดยคงการจัดวาง (Composition) เปลี่ยนสี (Color) มีความถี่ 19 คะแนน (6) การออกแบบตราสัญลักษณ์โดยคงเทคนิค (Technique) เปลี่ยนการจัดวาง (Composition) มีความถี่ 12 คะแนน ซึ่งผลของวิธีการออกแบบตราสัญลักษณ์ ตามหลักทฤษฎีไร้ระเบียบดังกล่าว เรียงจากความถี่สูงสุด 6 อันดับตามจำนวนข้อของเกณฑ์ทฤษฎีไร้ระเบียบ
Other Abstract: To record the concepts of chaos theory. And to Determine a method of corporate identity design using the chaos theory. Research tools include qualitative research coducted though interviews with experts in chaos theory to meet the first listed objectives. A total of 70 corporate logos were then selected and quantitative research was conducted by using to develop a questionnaire which was given to experts in corporate identity design to learn the frequency of the implementation of the chaos theory to answer the research's second objective. Results for objective 1 found that there were six elements, or factors, of chaos theory, (1) instability, (2) elements that were 100% different and have different images, (3) fratal geometry, (4) different special presentation of element that are not centered, (5) difficulties in estimation of next occurrence and (6) long-term, not short-term, results with both positive and negative reactions. Results for objective 2 include (1) corporate identity maintains a type face while changing the image has 35 points, (2) design maintains composition while changing image has 29 points, (3) design maintains technique while changing image has 22 points, (4) maintains typeface while changing colors has 22 points, (5) design maintains composition while changing colors has 19 points (6) design maintains technique while changing compostion has 12 points. Thus coporate identity design based on chaos theory has at the most levels the must be considered.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นฤมิตศิลป์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5641
ISBN: 9741733755
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wisit.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.