Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56427
Title: การปรับปรุงกระบวนการทรีตผ้าฝ้ายและผ้าฝ้ายผสมพอลิเอสเทอร์ด้วยแอมโมเนียเหลวและวิธีการประเมินระดับความสมบูรณ์ของกระบวนการ
Other Titles: IMPROVEMENT OF LIQUID AMMONIA TREATING PROCESS FOR COTTON AND COTTON/POLYESTER FABRICS AND METHOD FOR PROCESS COMPLETION DETERMINATION
Authors: ชวาศรี สันติคงสุข
Advisors: อุษา แสงวัฒนาโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Usa.S@Chula.ac.th,Usa.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีความประสงค์ที่จะปรับปรุงกระบวนการทรีตผ้าฝ้าย (100%, ทอลายขัด) และผ้าฝ้ายผสมพอลิเอสเทอร์ (85/15, ทอลายสอง) ด้วยแอมโมเนียเหลวในระดับอุตสาหกรรมก่อนนำผ้าไปย้อม เพื่อให้สามารถผลิตผ้าที่มีสมบัติต่างๆ ดีขึ้น โดยปรับภาวะการทรีตในโรงงาน ได้แก่ เพิ่มเวลาที่ผ้าสัมผัสแอมโมเนีย ปรับวิธีการระเหยแอมโมเนียออกจากผ้า และลดแรงตึงในการทรีตผ้า พบว่า เมื่อปรับภาวะการทรีตผ้าฝ้ายด้วยแอมโมเนียอย่างเหมาะสมแล้ว ผ้าหลังทรีตย้อมสีได้เข้มมากขึ้น 60% จากผ้าก่อนทรีต (ผ้าหลังทรีตที่ภาวะเดิมในโรงงานย้อมสีได้เข้มมากขึ้นเพียง 35%) ผ้าคืนตัวต่อการยับได้มากขึ้น 70% (ผ้าทรีตที่ภาวะเดิมในโรงงานคืนตัวการยับมากขึ้น 38%) ความแข็งแรงผ้าและการพองตัวของเส้นใยฝ้ายบนผ้าเพิ่มขึ้นหลังทรีต ชนิดผลึกเซลลูโลสในเส้นใยฝ้ายบนผ้าเป็น Cellulose I ผสมกับ Cellulose III และกระบวนการทรีตด้วยแอมโมเนียเกิดสมบูรณ์แบบ (กระบวนการทรีตที่ภาวะเดิมในโรงงานเกิดไม่สมบูรณ์แบบ) สำหรับการทรีตแอมโมเนียเหลวบนผ้าฝ้ายผสมพอลิเอสเทอร์ หลังการทรีตที่ภาวะที่เหมาะสมแล้ว พบว่า ผ้าหลังทรีตย้อมสีได้เข้มมากขึ้น 22% จากผ้าก่อนทรีต (ผ้าทรีตที่ภาวะเดิมในโรงงานย้อมสีได้เข้มมากขึ้น 11%) ผ้าคืนตัวการยับได้มากขึ้น 11% (ผ้าทรีตที่ภาวะเดิมในโรงงานคืนตัวการยับได้มากขึ้น 21%) ความแข็งแรงผ้าและการพองตัวของเส้นใยบนผ้าเพิ่มขึ้นหลังทรีต ชนิดผลึกเซลลูโลสบนผ้าเป็น Cellulose I ผสมกับ Cellulose III และกระบวนการทรีตเกิดสมบูรณ์แบบ (กระบวนการทรีตที่ภาวะเดิมในโรงงานเกิดไม่สมบูรณ์แบบ) ทั้งหมดนี้ทำให้สามารถสรุปได้ว่า การปรับเปลี่ยนภาวะการทรีตด้วยแอมโมเนียเหลวให้เหมาะสม จะสามารถปรับปรุงสมบัติต่างๆ ของผ้าได้ดีมากขึ้นจากภาวะเดิมที่ใช้ในกระบวนการทรีตในโรงงานในปัจจุบัน
Other Abstract: This research aimed to improve the liquid ammonia treatment on cotton (100%, plain weave) and cotton/polyester (85/15, twill weave) fabrics prior to dyeing at an industrial scale, in order to obtain better fabric properties. Several treating factors were studied and modified (from the current factors used in a dyeing plant) such as increase contact time between fabric and ammonia, modify the ammonia removing procedure, and decrease the fabric tension during ammonia treatment. At an optimal treating condition for cotton fabric, treated fabric after dyeing showed 60% higher color strength than untreated one (current industrial treated fabric after dyeing showed only 35% improvement); its wrinkle recovery increased 70% (current industrial treated fabric increased 38%); fabric strength and fiber swelling increased after treatment; its cellulose crystal type was a mixture of cellulose I and cellulose III; and the process reaction was complete (current industrial treating process showed incomplete reaction). While at an optimal treating condition for cotton/polyester fabric, treated fabric after dyeing showed 22% higher color strength than untreated one (current industrial treated fabric after dyeing showed 11% improvement); its wrinkle recovery increased 11% (current industrial treated fabric increased 21%); fabric strength and fiber swelling increased after treatment; its cellulose crystal type was a mixture of cellulose I and cellulose III; and the process reaction was complete (current industrial treating process showed incomplete reaction).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56427
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5672158323.pdf6.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.