Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56447
Title: ฐานข้อมูลทางวิศวกรรมธรณีเทคนิคของชั้นดินกรุงเทพสำหรับการออกแบบฐานรากเสาเข็ม
Other Titles: Geotechnical engineering database of Bangkok subsoils for pile foundation design
Authors: กมลรัตน์ งามเจริญ
Advisors: สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Suched.L@chula.ac.th,fceslk@eng.chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากมีการก่อสร้างจำนวนมากในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ล้วนแล้วแต่มีการเจาะสำรวจชั้นดินและทดสอบหาคุณสมบัติของชั้นดิน ส่งผลให้มีปริมาณข้อมูลการเจาะสำรวจและผลทดสอบคุณสมบัติของชั้นดินกรุงเทพเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถ้ามีการจัดเก็บฐานข้อมูลดังกล่าวอย่างเป็นระบบ ก็จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้างได้มาก งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษากระบวนการจัดเก็บและพัฒนาฐานข้อมูลวิศวกรรมธรณีเทคนิค โดยมีการรวบรวมข้อมูลหลุมเจาะในเขตกรุงเทพและปริมณฑลจำนวนมาก เพื่อนำมาสร้างแบบจำลองแสดงความหนาของชั้นดินแต่ละประเภทตามการเรียงตัวของชั้นดินในแต่ละพื้นที่ด้วยเทคนิคการประมาณค่าระหว่างช่วง และเก็บรวบรวมค่าคุณสมบัติดินและค่าพารามิเตอร์ดินที่ได้จากทั้งผลทดสอบในสนามและห้องปฏิบัติการ เช่น ปริมาณความชื้นในมวลดิน หน่วยน้ำหนัก ค่าขีดจำกัดความข้นเหลว กำลังรับแรงเฉือน และค่าการตอกทะลวงมาตรฐาน เป็นต้น ผลการศึกษาจะได้แบบจำลองดินสามมิติที่สามารถนำมาสร้างภาพตัดขวางแสดงความแปรปรวนของชั้นดินในแต่ละพื้นที่ได้ อีกทั้งยังสามารถนำเสนอเส้นชั้นความสูงของข้อมูลคุณสมบัติดินและค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของชั้นดินได้ สำหรับการประยุกต์ใช้งานแบบจำลองดินและฐานข้อมูลพารามิเตอร์ดินสามารถนำไปใช้สำหรับการออกแบบฐานรากเสาเข็มในเบื้องต้นได้ เช่น การกำหนดความยาวเสาเข็ม การประมาณค่ากำลังแบกทานของเสาเข็ม เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ ฐานข้อมูลดินนี้ยังสามารถนำมาใช้วิเคราะห์เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในการแปลผลค่าพารามิเตอร์ดินจากผลการทดสอบและการเจาะสำรวจชั้นดินได้ด้วย
Other Abstract: Several construction projects in Bangkok and vicinity have been demanly increasing. This leads to an increase of ground investigation and soil testing from each of projects. It is very useful if the boringlog report and soil testing data are systematically collected and managed. This research presents a process of developing a geotechnical engineering database by means of integrating the borehole data and soil investigation report. The subsoil modelling is generated by interpolation technique, in which each subsoil layers are defined its location and thickness. The engineering properties of each layers such as water content, total unit weight, Atterberg’s limits, undrained shear strength and SPT-N value are collected from soil investigation reports. After solid model of Bangkok subsoil generated, a cross section at any particular area presented variations of Bangkok subsoil and the contour of soil parameters can be conducted. The cross section can be used for pile design such as desciding the pile tip location and/or calculating the pile capacity based on subsoil model and average soil parameters. In addition, the Bangkok soil parameters data can be used to verify the result of soil investigation in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56447
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770104121.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.